ข้อความต้นฉบับในหน้า
Seed of Wisdom
: LP' YOD A-A
ใจทองคํา
ทองคำ เป็นวัตถุธาตุบริสุทธิ์ที่สูงค่า งดงาม และคงทนถาวร แม้วันเวลาจะผ่านไปนาน
นับพันปีก็ยังคงคุณค่าและความงามที่เป็นอมตะ อีกทั้งยังทนทานต่อการพิสูจน์ทุกยุคทุกสมัย
ทองคำนอกจากมีค่าในตนเองแล้ว ยังมีความหมายสำหรับมอบให้แก่กันและกันในโอกาสพิเศษ
หรือบุคคลพิเศษ ด้วยเหตุนี้บัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อนจึงนิยมถวายทองคำ หรือสักการบูชา
สิ่งที่เคารพนับถือด้วยทองคำ เพราะถือว่าเป็นการบูชาด้วยสิ่งที่สูงค่าแด่บุคคลพิเศษผู้สูงส่ง ดัง
เช่นเรื่องราวในกาลก่อนของพระบรมโพธิสัตว์ ผู้ที่มีจิตใจประดุจทองคำมีความศรัทธาอย่างแรง
กล้าถึงขนาดสละเนื้อของตนเพื่อเปลี่ยนเป็นทอง น้อมถวายเป็นพุทธบูชา มีรายละเอียดต่อไป
ในอดีตกาลเมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของเรานี้ยังสร้างบารมีเสวยพระ
ชาติเป็นพระโพธิสัตว์อยู่นั้น ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้ามหารถราช เสวย
ราชสมบัติในสักกราชาวดีนคร ท่านเป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระองค์มีพระสหาย
พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าปัญจาลราช เสวยราชสมบัติในปัญจาลนคร ซึ่งเป็นพระสหาย
ที่ไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน แต่พระเจ้าปัญจาลราชนั้นยังมิได้นับถือพระพุทธศาสนา
ครั้งหนึ่งพระเจ้าปัญจาลราชส่งผ้ารัตนกัมพลเนื้อดีราคาแพงผืนหนึ่งมาถวายพระเจ้ามหารถราช
เมื่อพระเจ้ามหารถราชพิจารณาดูผ้ากัมพลแล้ว ทรงเห็นว่าผ้านี้ราคาแพงมาก เราควรจะส่งแก้ว
อันสูงค่า คือพุทธรัตนะไปถวาย แล้วพระองค์ก็ให้ช่างเขียนรูปพระพุทธเจ้าลงในแผ่นทองคำด้วย
ชาดหรคุณ มีขนาด ๑ ศอก หลังจากนั้นก็ให้อำมาตย์อัญเชิญพระพุทธรูปนั้นลงเรือสำเภาไป
ถวายพระเจ้าปัญจาลราช แต่ก่อนจะส่งราชทูตไป พระองค์ทรงระลึกถึงคุณของพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าแล้วอธิษฐานว่า “พระเจ้าปัญจาลราช สหายของหม่อมฉันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็น
ผิด มิได้มีความเชื่อในคำสั่งสอนของพระองค์ ถ้าพระองค์เสด็จไปพระนครนั้นแล้ว ขอพระองค์ได้
โปรดแสดงปาฏิหาริย์ ชักจูงพระเจ้าปัญจาลราชให้ละเสียซึ่งความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
ด้วยเทอญ” เมื่อทรงอธิษฐานแล้วก็เสด็จลุยไปในน้ำลึกเพียงพระศอ เพื่อส่งเสด็จพระพุทธรูป
นั้นจากไป
เมื่อเรือสำเภาไปถึงกรุงปัญจาละแล้ว ราชทูตก็เข้าไปกราบทูลพระเจ้าปัญจาลราชให้ทรง
ทราบ พระองค์ก็เกิดปิติโสมนัสเสด็จไปรับเครื่องบรรณาการนั้น พร้อมด้วยอำมาตย์ จตุรงคเสนา
V-PEACE 7