รู้ทันวิบากกรรม รู้ทันวิบากกรรม หน้า 14
หน้าที่ 14 / 194

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับทุกข์ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ ปัญหาเศรษฐกิจ และสังคม พร้อมการวิเคราะห์ลักษณะของคนพาลตามพาลบัณฑิตสูตร โดยระบุว่าคนพาลต้องประสบกับการจองจำและกรรมที่เคยกระทำจนถึงวาระสุดท้าย ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดในอบายหรือสัตว์ดิรัจฉาน สอนให้เห็นถึงโอกาสอันยากในการกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ และผลกระทบที่ตามมาในชาติถัดไป ทั้งยังมีการยกตัวอย่างเต่าตาบอดเพื่อสะท้อนความยากลำบากในการฟื้นคืนกลับ

หัวข้อประเด็น

-ทุกข์จากโรคภัย
-ปัญหาเศรษฐกิจ
-ปัญหาครอบครัว
-ปัญหาสังคม
-ความหมายของคนพาล
-กรรมและวิบากกรรม
-การเกิดในอบาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รู้ทัน วิ บ า ก ก ร ร ม ๑๑ ทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ ทุกข์จากปัญหาเศรษฐกิจ ทุกข์จากปัญหาครอบครัว และทุกข์จาก ปัญหาสังคม ดังมีกล่าวไว้ในพาลบัณฑิตสูตร" มีใจความสำคัญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงลักษณะของคนพาล ๓ ประการ คือ ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว ชอบทำแต่เรื่องชั่ว คนพาลจึงได้รับทุกข์โทมนัส ๓ ประการ ในปัจจุบัน คือ ๑. ย่อมหวาดระแวง เมื่อได้ยินชนทั้งหลายกล่าวถึงการทำความชั่วของคนพาล ๒. หากพระราชาจับได้ ก็จะถูกทัณฑ์ทรมาน จองจำ ตามอาญาแผ่นดิน ๓. เมื่อถึงวาระสุดท้าย คนพาลย่อมถูกกรรมนิมิตที่เป็นบาปอกุศลที่ตนเคยกระทำ มาครอบงำ เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่บดบัง ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่ ในเวลาเย็น คนพาลย่อมเศร้าโศกมีจิตใจเศร้าหมองเพราะเห็นแต่กรรมชั่วที่ตนเคยทำไว้มาปรากฏ หลังจากตายไป คนพาลย่อมไปเกิดในอบาย แหล่งเสื่อม) ทุคติ(ทางไปอันชั่วร้าย) วินิบาต(แหล่งตกต่ำ) นรก(แหล่งที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน) หรือไปเกิดในภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน คนพาลที่พลัดไปเกิดในอบายแล้วจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็แสนจะยาก อุปมาเต่า ตาบอดในมหาสมุทรใหญ่ เวลาล่วงไป ๑๐๐ ปี มันจะโผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่ง บนผิวน้ำมีห่วงที่ ลอยไปตามแรงลมที่พัดไปมา โอกาสที่เต่าตาบอดโผล่ขึ้นมาแล้ว จะสอดคอเข้าไปในห่วงนั้น ยากยิ่ง พระบรมศาสดาตรัสว่า การที่เต่าตาบอดจึงสอดคอเข้าไปในห่วงนั้นยังเร็วกว่า คนพาลผู้ไปสู่อบายแล้วจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ หากคนพาลได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลต่ำ ตระกูลยากจน ฝืดเคือง ด้วยปัจจัย ๔ ที่ใช้ในการดำรงชีวิต มีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วย มาก มีโรคมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก ไม่มีเครื่องอุปโภค บริโภค หากยัง * พาลบัณฑิตสูตร ม.อุ.มก. ๒๓/๔๖๘/๑๔๗ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More