รู้ทัน วิบากกรรม รู้ทันวิบากกรรม หน้า 15
หน้าที่ 15 / 194

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงวิบากกรรมและผลกระทบที่เกิดจากการกระทำที่ดีและไม่ดีในชีวิตของมนุษย์ โดยชี้ให้เห็นถึงลักษณะของบัณฑิตที่มีการประพฤติที่ดี ซึ่งนำไปสู่ความสุขและการเกิดในสุคติหลังจากตาย นอกจากนี้ยังอธิบายถึงความแตกต่างของชีวิตมนุษย์ที่เกิดจากกรรมของตนเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงความแตกต่างนี้ และชี้ชวนให้คิดถึงกรรมที่ตนได้กระทำ พบกับความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-วิบากกรรม
-บัณฑิต
-การทำความดี
-สุขโสมนัส
-กรรมและการเกิด
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-สุคติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๔ รู้ทัน วิบากกรรม ประพฤติชั่วด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกอีก ส่วนลักษณะของบัณฑิตมี ๓ ประการ คือ ชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี ชอบทำแต่เรื่องดี บัณฑิตจึงได้รับสุขโสมนัส ๓ ประการในปัจจุบัน คือ ๑. ย่อมร่าเริงเบิกบาน เมื่อได้ยินชนทั้งหลายกล่าวถึงการทำความดีของบัณฑิต ๒. ย่อมไม่หวาดระแวงภัยใด ๆ จากพระราชา หรืออาญาแผ่นดิน เพราะบัณฑิตย่อม ประพฤติแต่กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ๓. เมื่อถึงวาระสุดท้าย บัณฑิตระลึกนึกถึงแต่กรรมนิมิตที่เป็นกุศลที่ตนได้กระทำไว้ ย่อมอาจหาญ ร่าเริง บันเทิงใจ มีจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมอง หลังจากตายแล้ว บัณฑิตย่อมไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ หากบัณฑิตได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลสูง ตระกูลมั่งคั่งมีโภคทรัพย์มาก เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก หากประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อีก อีกเรื่องหนึ่งมีปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร” ในสมัยพุทธกาล สุภมาณพเข้าไป ทูล ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เหตุปัจจัยอะไรทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกัน เช่น บางคนอายุสั้น บางคนอายุยืน บางคนมีโรคมาก บางคนมีโรคน้อย บางคนเกิดในตระกูลสูง บางคนเกิดใน ตระกูลต่ำ บางคนมีโภคทรัพย์มาก บางคนยากจน บางคนมีปัญญา บางคนไร้ปัญญา ฯลฯ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบสุภมาณพว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ เลวและประณีตได้ กล่าวคือ * * จูฬกัมมวิภังคสูตร ม.อุ.มก.๒๓/๕๗๙/๒๕๑ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More