รู้ทันวิ บ า ท ก ร ร ม: วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น รู้ทันวิบากกรรม หน้า 189
หน้าที่ 189 / 194

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอวิธีฝึกสมาธิเบื้องต้นจากหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี ซึ่งเน้นการเตรียมตัวด้วยการกราบบูชาพระรัตนตรัย การระลึกถึงความดี การนั่งสมาธิในท่าที่พอดี และการนึกกำหนดนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใส การปฏิบัติเหล่านี้ช่วยให้ผู้ฝึกสามารถเข้าใจและเข้าถึงภาวะสงบสุขได้ด้วยตนเอง เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีสติและปัญญา.

หัวข้อประเด็น

- สมาธิและความสงบ
- พระพุทธศาสนา
- การเตรียมตัวก่อนสมาธิ
- ท่าทางการนั่งสมาธิ
- การสร้างนิมิตในใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

១៨៨ รู้ทัน วิ บ า ท ก ร ร ม วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น สมาธิ คือความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้น ได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิต ทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้เมตตาสั่งสอนไว้ดังนี้ ๑. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวล ไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีลห้า หรือศีลแปด เพื่อความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง ๒. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดีที่ได้กระทำแล้ว ในวันนี้ ในอดีต และที่ตั้งใจจะทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงาม ความดีล้วนๆ ๓. นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย ตั้งกายตรง นั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือว่าขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่า กำลังจะเข้าไปสู่ภาวะแห่งความ สงบสบายอย่างยิ่ง ๔. นึกกำหนดนิมิตเป็น “ดวงแก้วกลมใส” ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจาก ราคี หรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้ เรียก ว่า บริกรรมนิมิต นึก สบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้ว www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More