ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขนิสัยวู่วามความเจ้าอารมณ์ของตนเองได้

คนที่วู่วามเจ้าอารมณ์ คือคนที่ห้ามอารมณ์ห้ามใจตัวเองไม่ได้ เพราะสติหย่อน ใจไม่ตั้งมั่นพอ https://dmc.tv/a12155

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 13 ก.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
 
 
 

คำถาม: ทำอย่างไรผมจึงจะขจัดนิสัยวู่วาม เจ้าอารมณ์ของตนเองได้ มีคนแนะนำให้ฝึกนับ ๑ ถึง ๑๐ ก็ทำไม่ค่อยสำเร็จคะ ? 

นิสัยวู่วาม เจ้าอารมณ์

นิสัยวู่วาม เจ้าอารมณ์
 
คำตอบ:  คนที่วู่วามเจ้าอารมณ์ คือคนที่ห้ามอารมณ์ห้ามใจตัวเองไม่ได้ เพราะสติมันหย่อน ใจไม่ตั้งมั่นพอ ฉะนั้นการที่จะแก้นิสัยวู่วามได้ต้องทำดังนี้
 
       ๑. ฝึกสติฝึกใจให้ตั้งมั่น ด้วยการหาเวลาทำความสงบใจให้ได้ทุกคืนก่อนนอน โดยการนั่งสมาธิให้มากๆ ให้ใจสงบ และแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายให้เขามีความสุขกายสุขใจทำอย่างนี้ให้เป็นประจำ ใจจะเริ่มเย็นลง ๆ
 
       ๒. หาเวลาอยู่ลำพังๆ เงียบๆ เพื่อพิจารณาโทษของความโกรธให้มากๆ ว่ามันนำความเสียหายมาให้แก่ตนเอง แก่ครอบครัวและหมู่คณะอย่างไรบ้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้พิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดจากความวู่วามของเราในอดีตที่ผ่านมา ว่าทำให้ทรัพย์สินเงินทองเสียหายไปเท่าไร แล้วเราเองต้องเสียใจ เพราะการกระทำนั้นเพียงใด คุณพ่อคุณแม่ ลูกเมีย แม้ที่สุดครูบาอาจารย์ต้องพลอยเสียใจ เสียชื่อเสียงตามเราไปด้วยขนาดไหน
 
        ถ้าจะให้ดีก็ต้องพยายามคบเพื่อนที่ใจเย็นๆ จะได้ติดนิสัยใจเย็นของเขามาบ้าง หรืออย่างน้อยที่สุดเขาจะได้ช่วอยเตือนเราได้บ้างตามสมควร 
  
        เมื่อทำได้ครบตามนี้แล้ว ไม่ช้าความหุนหันพลันแล่นก็จะคลายไป ส่วนที่ว่าเมื่อโกรธขึ้นมาก็ให้นับ ๑ ถึง ๑๐ ก่อน แล้วจึงปล่อยตัดสินใจอย่างนั้นค่อนข้างยาก เพราะเวลาโกรธ มันมักจะระเบิดอารมณ์วู่วามทำอะไรร้ายๆ ออกไปเสียก่อน ต้องพยายามฝึกสมาธิให้ใจสงบ มีอารมณ์เย็นสม่ำเสมอ ไม่ขึ้นๆ ลงๆ ข้อสำคัญต้องพิจารณาโทษของความโกรธให้เห็นชัดเจนเสียก่อน จึงจะฝึกเปลี่ยนนิสัยตัวเองได้ อีกอย่างขอแนะนำให้หมั่นท่องพุทธพจน์บทนี้เอาไว้ให้ขึ้นใจว่า
 
            “โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ                    โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
            โกธสฺส วิสมูลสฺส                        มฺธุรคฺคสฺส วตฺรภู”
            “บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้             ย่อมอยู่เป็นสุข
            ฆ่าความโกรธเสียได้                     ย่อมไม่เศร้าโศก”

คำถาม: การนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ จะทำให้เห็นดวงปฐมมรรค วิชชาธรรมกายได้หรือไม่ ?

การนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ
การนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ
 
คำตอบ:  ได้ แต่มีข้อแม้ว่าถ้าจะกำหนดลมหายใจให้เห็นดวงปฐมมรรคเล็กๆ ให้กำหนดลมเข้าออกกระทบที่สุดลมหายใจเข้าในกลางห้อง ให้รู้อยู่ที่ตรงนั้น คำภาวนาจะใช้ พุทโธ ตามเดิมก็ได้ผลเหมือนกัน ถ้าถนัดที่จะทำแบบการกำหนดลมหายใจ จะทำอย่างนั้นต่อก็ได้ เพราะในที่สุดก็จะเข้าสู่เส้นทางเดียวกัน แต่หากยังไม่ชำนาญหรือเพิ่งเริ่มฝึกขอให้เริ่มต้นกำหนดดวงแก้วไว้ในตัวที่กลางท้องเลยจะเห็นผลเร็วกว่า
 
คำถาม: ผู้เข้าถึงธรรมกายทุกคนจะสามารถรู้วันตายของสัตว์โลกได้หรือไม่ ?
ผู้เข้าถึงธรรมกาย
ผู้เข้าถึงธรรมกาย
 
คำตอบ:  เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน คือถ้าใครหมั่นฝึกทำซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายในตัวได้ชำนาญ ก็จะได้ฌาณทัศนะในระดับที่รู้เห็นการเกิดการตายของสัตว์โลก ที่เรียกว่าจุตูปปาตญาณ ได้ แต่ในการทำซ้ำอีก ยังมีอีกว่าตนเองมีความชำนาญในระดับไหน
 
        หลวงพ่อยากจะอธิบายความแตกต่างของความชำนาญให้เข้าใจอีกนิดหนึ่งว่า ผู้ที่ฝึกสมาธิอยู่ทุกวันนี่แหละ บางคนว่ากำหนดได้ ๆ แต่ก็แค่กำหนดได้ ใจสงบไหม ก็สงบตามส่วน แต่ว่าบางคนนอกจากสว่างของดวงแก้วในตัวคนนี้จะมีมากกว่าอีกคนหนึ่ง
 
        เพราะฉะนั้น คน ๒ คน กำหนดดวงแก้วเหมือนกัน แต่ก้าวไม่เท่ากัน คนหนึ่งพอเห็นดวงแก้วแล้วเอาใจสอดเข้ากลางลึกเข้าไปเรื่อย ๆ เห็นดวงใหม่ชัดขึ้น ใสขึ้น สว่างขึ้น จนกระทั่งสว่างยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน สว่างจนกระทั่งเหมือนอย่างเอาดวงอาทิตย์เป็นพัน ๆ ดวงมาเรียงเต็มท้องฟ้าในกลางท้อง อย่างนี้คนแรกกับคนหลังก็มีการรู้การเห็นไม่เท่ากัน
 
        แม้ผู้ที่เข้าถึงธรรมกายแล้วก็มีความสามารถไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน บางท่านอาจจะรู้วันตายของตัวเอง บางท่านอาจจะรู้วาระจิตผู้อื่น พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลมีมากมายนับไม่ถ้วน แต่เพราะแต่ละท่านมีความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน เราจึงรู้จักไม่ทั้งหมดที่เรารู้จักชื่อมีเพียงประมาณ ๘๐ รูป และรูปที่เราคุ้นมากคือ พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พระอานนท์
 
        ที่เรารู้จักท่านกันมาก ก็เพราะว่าท่านมีความสามารถมากท่านฝึกมากกว่าคนอื่น เมื่อเข้าถึงธรรมกายในตัวแล้ว ท่านยังฝึกซ้ำแล้ว ท่านยังฝึกซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำหนักเข้า ๆ จนกระทั่วเกิดความชำนาญ ธรรมกายของท่านมีความสว่างไสวมากกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้นปัญญาของท่าน ฤทธิ์ของท่านจึงมากกว่าผู้อื่น เราก็เลยรู้จักท่าน ยิ่งกว่าท่านยังทำประโยชน์ไว้ในพระพุทธศาสนามากมาย
 
        ส่วนพระอรหันต์องค์อื่น เมื่อเข้าถึงธรรมกายปราบกิเลสในตัวเองหมด เป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านก็เอาแค่นั้นแหละ การรู้การเห็นของท่านก็เอาแค่ตัวรอดไปได้
 
        แม้พระอรหันต์ยังรู้เห็นไม่เท่ากันเลย ฉะนั้นผู้ที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ เพิ่งเข้าถึงธรรมกายใหม่ ๆ ก็รู้เห็นไม่เท่ากันแน่นอน

http://goo.gl/ishS6


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related