เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?

ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ทรงมอบหน้าที่สำคัญยิ่งให้แก่ชาวพุทธไว้ ๔ ประการ โดยตรัส เรื่องนี้กับพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก เพื่อให้นำไปประกาศให้ชาวพุทธรับรู้รับทราบและปฏิบัติตามกันอย่างทั่วถึง https://dmc.tv/a21499

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 11 มิ.ย. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18255 ]
เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?

หลวงพ่อตอบปัญหา
เรื่อง : พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตชีโว)
วารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนมิถุนายน ปี ๒๕๕๙

     ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระองค์ทรงมอบหน้าที่สำคัญยิ่งให้แก่ชาวพุทธไว้ ๔ ประการ โดยตรัสเรื่องนี้กับพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก เพื่อให้นำไปประกาศให้ชาวพุทธรับรู้รับทราบและปฏิบัติตามกันอย่างทั่วถึง

     ประการที่ ๑ คือ หน้าที่ศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     การศึกษาธรรมะของชาวพุทธ หากใครมีสติปัญญาอ่านออกเขียนได้ ก็ให้ศึกษาไปให้ถึงพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา เพราะพระไตรปิฎกเกิดขึ้นจากพระอรหันตสาวกรวบรวมพระธรรมและพระวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสั่งสอนประกาศศาสนาไว้ตลอด ๔๕ พรรษา มารวมเป็นหมวดหมู่ไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้คนรุ่นหลังค้นคว้าได้สะดวกยิ่งขึ้น

     การศึกษาจากพระไตรปิฎกเป็นเรื่องสำคัญเพราะเราจะได้ศึกษาไปให้ถึงต้นตอของคำสอนในพระพุทธศาสนา หากจะอาศัยเพียงการฟังเทศน์ ฟังคำบอกเล่า หรือเพียงการทำตามขนบธรรมเนียมประเพณีตั้งแต่โบราณมาเกรงว่าจะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เพราะอาจมีการตกหล่นไปบ้าง

     คนรุ่นก่อนที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ มีวิธีศึกษาจดจำธรรมะของพระพุทธองค์โดยการฟังพระสวดมนต์แล้วก็จำเอาไว้ในใจปู่ย่าตายายท่านจึงสวดมนต์กันได้คล่องเลยเพราะว่าท่านอาศัยความจำของท่าน อาศัยที่ใจท่านไม่คิดวุ่นวายเมื่อใจไม่วุ่นวาย ใจจดจ่ออยู่กับการฟังเทศน์ อยู่กับการสวดมนต์ ฉะนั้นแม้ท่านอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่ว่าท่านก็สวดมนต์ได้ เวลาพระเทศน์ท่านก็จำได้ เพราะใจจดจ่อจดจำ จึงจำได้ขึ้นใจ

     ประการที่ ๒ คือ หน้าที่ลงมือปฏิบัติตามธรรมะที่ได้ศึกษามาอย่างจริงจัง


     ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อผู้นั้นลงมือปฏิบัติ เพราะโลกนี้เป็นเรื่องของเหตุและผล ผลจะเกิดต่อเมื่อได้ทำเหตุไว้ก่อน ถ้าทำเหตุดีก็ได้ผลดี ถ้าทำ เหตุชั่วก็ได้ผลชั่ว

     การเรียนธรรมะแบบปริยัติควบคู่ปฏิบัติคือเรียนไปด้วยลงมือทำไปด้วย ที่โบราณเรียกว่า “เรียนแบบเคี้ยวป้อน” คือ เมื่อครูบาอาจารย์สอนอะไร ศิษย์ก็ลงมือทำ ทำผิดทำถูกอย่างไรก็สังเกตกันไป เพราะเมื่อเรียนแล้วแต่ยังไม่เคยทำก็เป็นธรรมดาที่ยังทำไม่เป็น อาจมีส่วนที่ทำได้บ้างปะปนกับส่วนที่ทำไม่ได้บ้าง ส่วนที่ทำได้ก็ทำไป ส่วนที่ทำไม่ได้ก็ต้องอาศัยพึ่งพาครูบาอาจารย์

     เรื่องใดที่ศิษย์เรียนแล้วทำไม่ได้ ติดขัดตรงไหน ครูบาอาจารย์ท่านก็เมตตานำธรรมะในพระไตรปิฎกมาย่อยแยกให้เข้าใจง่าย ๆ แล้วก็อธิบายให้เข้าใจในเชิงปฏิบัติ เพื่อให้ศิษย์ตามทัน บางทีอาจจะต้องขยายความซ้ำแล้วซ้ำอีก จากเรื่องเข้าใจยากมาทำให้เข้าใจง่ายแม้ง่ายแล้วแต่ถ้ายังตามไม่ทันก็เพียรทำอีกหลาย ๆ หน จนกระทั่งศิษย์เข้าใจและทำได้

     การที่ครูบาอาจารย์ต้องสอนธรรมะภาคปริยัติด้วยการขยายความในเชิงปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีกนี้เอง จึงเป็นที่มาของคำว่า เคี้ยวป้อน

     ลูกศิษย์ในยุคนั้นเขาเอาจริงในการศึกษาธรรมะ ขวนขวายศึกษาธรรมะทั้งชายหญิงครูอาจารย์เลยมีกำลังใจไม่เบื่อที่จะพร่ำสอนเคี้ยวป้อน ลูกศิษย์ก็มีสัจจะต่อความดี ครูบาอาจารย์ก็มีสัจจะต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพราะฉะนั้นท่านจึงเคี้ยวป้อนส่งต่อกันมาเป็นทอด ๆ
 
     ประการที่ ๓ คือ หน้าที่เผยแผ่ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ถึงชาวโลกทั้งปวง
 
      เมื่อได้ศึกษาแล้ว ปฏิบัติแล้ว พบว่าธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถูกต้องจริง ดีจริงเป็นประโยชน์จริง ก็ระลึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาของพระบรมศาสดา จึงมีน้ำใจนึกถึงเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายที่ยังไม่รู้จักคุณของพระศาสนา มีความตั้งใจสืบทอดและเผยแผ่คำสอนที่มีคุณค่ามหาศาลเป็นประโยชน์แก่ชนทั้งปวง นำธรรมะไปเผยแผ่ให้รู้กันกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยไม่คิดหวงความรู้นั้นไว้กับตนเพียงลำพัง

     การเผยแผ่นั้นก็ทำกันหลาย ๆ รูปแบบชักชวนลูกหลานบ้าง ชักชวนเพื่อนบ้านบ้างผู้ที่ยังเล็กอยู่ก็มาบวชเป็นสามเณร ผู้ที่มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไปแล้วก็มาบวชพระกัน นั้นก็เป็นการเผยแผ่ธรรมะอย่างหนึ่ง การช่วยกันสร้างวัดวาอารามก็ถือเป็นการเผยแผ่อีกรูปแบบหนึ่งการสร้างพระพุทธรูปไปประดิษฐานตามวัดวาอารามต่าง ๆ ก็เป็นการเผยแผ่ธรรมะ แม้การช่วยกันคัดลอกพระไตรปิฎกและแจกจ่ายกันไปก็เป็นการเผยแผ่รูปแบบหนึ่ง

     ปู่ย่าตาทวดบรรพบุรุษของเราต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยกันเผยแผ่ธรรมะกันมาในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ ช่วยกันเผยแผ่อย่างสุดสติปัญญาความสามารถที่จะทำได้ แม้แต่การขยันตักบาตรพระทุกเช้า ทำให้พระมีอาหารขบฉันทุกเช้า มีเรี่ยวแรงไว้ศึกษาธรรมะก็จัดเป็นการเผยแผ่อย่างหนึ่ง คือสนับสนุนให้เกิดกองทัพธรรมในการเผยแผ่ธรรมะอีกชั้น

     ประการที่ ๔ คือ หน้าที่ช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนา

      การปกป้องพระพุทธศาสนามีหลายรูปแบบ แต่ไหนแต่ไรมา ถ้าใครจ้วงจาบกล่าววาจาหยาบช้าต่อพระพุทธศาสนา คนรุ่นปู่ย่าตาทวดของเราท่านไม่ยอม ท่านต้องลุกขึ้นมาช่วยกันแก้ไขทันที หรือกำราบห้ามปรามลูกหลานที่ทำตัวไม่เหมาะสมทันที

     เด็กบางคนดึงของสูงมาเป็นของต่ำ เอาธรรมะมาล้อเล่น เช่น พระให้ศีลข้อที่ ๕ ว่า “สุราเมระยะ มัชชะ ปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี (งดเว้นจากการดื่มสุรา)” พวกไม่รู้จักที่สูงที่ต่ำ ชอบแกว่งปากไปหานรก เอามาล้อเล่นว่า สุราต้องกินเป็นระยะ ๆ ปู่ย่าตายายได้ยินเข้าเท่านั้นแหละ ท่านรีบปรามเลยว่า ถ้านำธรรมะมาล้อเล่นแบบนี้ เกิดชาติต่อไปสงสัยไม่ได้เป็นคนหรอก หรือถ้าได้เกิดเป็นคน ปากก็คงไม่เป็นปากคน แต่คงไปเหมือนอะไรสักอย่าง เพราะล้อเล่นกับธรรมะที่เป็นของสูง ล้อเล่นในสิ่งที่ไม่ควรล้อเล่น

     ปู่ย่าตาทวดท่านช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนามาอย่างนี้ จนกระทั่งสืบทอดพระพุทธศาสนามาถึงรุ่นของพวกเรา ซึ่งเป็นยุคที่ใช้กฎหมายปกป้องพระพุทธศาสนา แม้การออกกฎหมายไม่ให้ใครปฏิบัติต่อพระพุทธรูปอย่างไม่เหมาะสมก็ถือเป็นการปกป้องธรรมะ
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเป็นทางการ

       การที่วันนี้พวกเรามีโอกาสรู้จักพระพุทธศาสนา ทั้ง ๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไป ๒,๕๕๙ ปีแล้ว ก็เพราะอาศัยความเคารพของปู่ย่าตายายที่มีต่อคำสั่งของพระพุทธองค์ทั้ง ๔ ประการนี้ ทุ่มทำหน้าที่สำคัญยิ่งของชาวพุทธอย่างสุดชีวิต ธรรมะของพระพุทธองค์จึงได้รับการสืบทอดและปฏิบัติส่งต่อกันมาตามลำดับ ๆ จนมาถึงยุคปัจจุบัน พวกเราจึงมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มาเป็นหลักธรรมคำสอนประจำใจเอาไว้ปิดนรกเปิดสวรรค์ ถางทางไปนิพพานด้วยกันอยู่ทุกวันนี้

      การที่พวกเราจะสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาส่งต่อไปให้อนุชนรุ่นหลังได้ ก็ต้องปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธทั้ง ๔ ประการนี้พวกเขาจึงจะได้รับประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในชีวิต พระพุทธศาสนาจึงจะได้รับการสืบทอดรักษาต่อไปอีกยาวนานสมดังเจตนาบรรพชนชาวพุทธที่เอาชีวิตปกป้องรักษาเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนามาถึงยุคของเรา




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related