สละชีวิตเป็นทาน (ปรมัตถบารมี)

มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข ความอบอุ่นใจ และความปลอดภัยในชีวิต ทุกคนพยายามเสาะแสวงหาที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง แต่หลายชีวิตไม่อาจรู้ว่า https://dmc.tv/a10728

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 20 เม.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18293 ]
 

สละชีวิตเป็นทาน (ปรมัตถบารมี)

สละชีวิตเป็นทาน 
สละชีวิตเป็นทาน
 
       มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข ความอบอุ่นใจ และความปลอดภัยในชีวิต ทุกคนพยายามเสาะแสวงหาที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง แต่หลายชีวิตไม่อาจรู้ว่า ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงนั้นคือสิ่งใด อยู่ที่ตรงไหน จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีการใด จึงแสวงหากันวุ่นวาย และเต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบาก หากทุกคนในโลกได้รู้จักที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ว่าคือพระรัตนตรัย และมีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติธรรม จนกระทั่งกาย วาจา ใจของทุกๆ คนสะอาด บริสุทธิ์ผ่องใส ตั้งมั่นอยู่ในกลางกาย เต็มเปี่ยมไปด้วยสติ และปัญญาบริสุทธิ์  เมื่อทำได้เช่นนี้ ชีวิตของทุกคนย่อมจะเจริญรุ่งเรือง จะปลอดภัยทั้งโลกนี้ และโลกหน้า
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบทว่า
 
                                    “มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
                                     จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ
 
        หากว่าปราชญ์พึงเห็นแก่สุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย  เมื่อผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์แล้ว ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย”
 
        สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างปรารถนาความสุขด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครต้องการความทุกข์ ความทุกข์ที่เกิดจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย เป็นสิ่งที่ผู้มีปัญญาปรารถนาจะหลุดพ้น  เมื่อมองเห็นวิธีการที่ทำให้เข้าถึงความสุขที่ไม่มีความทุกข์เจือปนแล้ว จะยอมเสียสละความสุขอันเล็กน้อยนั้นเพื่อความสุขที่ยิ่งใหญ่ คือ สุขที่เกิดจากการเข้าถึงธรรม ซึ่งเป็นสุขอันยิ่งใหญ่ จะเข้าถึงความสุขชนิดนี้ได้ต้องรู้จักสละปล่อยวาง  ดังนั้น การสละออกจึงเป็นเบื้องต้นที่จะทำให้เรารู้จักคำว่า ความสุข
 
        นอกจากการทำกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์หยุดนิ่งแล้ว การให้ก็เป็นความสุขอีกอย่างหนึ่งของผู้ที่เอาชนะความตระหนี่ในใจได้ เพราะความตระหนี่จะปล้นสมบัติจากเราไป การสละออก หรือการให้จึงเป็นวิธีเรียกสมบัติที่ดีอีกวิธีหนึ่ง บัณฑิตในกาลก่อนท่านยอมเสียสละทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มี  เมื่อสละออกไปแล้วก็ไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักเบื่อ ยังมีความปรารถนาที่จะบริจาคทานให้ยิ่งๆ ขึ้นไป แม้ร่างกายก็สละให้เป็นทานได้ โดยไม่ได้คำนึงถึงความเจ็บปวดทรมาน หรือสละแม้กระทั่งชีวิตก็ตาม มุ่งแต่จะทำความปรารถนาที่ได้ตั้งใจไว้ให้สำเร็จเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
 
        เหมือนในสมัยอดีตมีพระราชาทรงพระนามว่า สิริจุฑามณี ทรงครองราชย์ในพระนครพาราณสี มีอัครมเหสีพระนามว่า ปทุมวดี พระนางมีสิริโฉมงดงามผ่องใส ด้วยอำนาจแห่งบุญบารมีที่ได้เคยสั่งสมมาอย่างดีแล้ว ในชาติปางก่อน  เมื่อมาในชาตินี้จึงทำให้เพียบพร้อมไปด้วยสมบัติทุกอย่าง พระนางได้ให้กำเนิดพระโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่าจันทกุมาร
ในสมัยนั้น  พระราชาทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ได้รับสั่งให้สร้างโรงทานถึง ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ทิศ ที่กลางพระนคร ๑ แห่ง และที่ประตูพระราชวังอีก ๑ แห่ง ทรงสละพระราชทรัพย์วันละ ๖๐๐,๐๐๐ กหาปณะ เพื่อบำเพ็ญมหาทานบารมีอย่างนี้ทุกๆ วัน และทรงบริจาคทานแก่มหาชนด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองเสมอ อีกทั้งยังทรงประทานโอวาทแก่มหาชนทั้งเช้าและเย็นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านอย่าได้ประมาทเลย จงหมั่นให้ทาน รักษาศีล และอุโบสถเถิด” เราจะสังเกตว่าผู้นำในสมัยก่อน เขาปกครองกันอย่างนี้ คือ เป็นทั้งผู้นำประเทศชาติบริหารบ้านเมือง และเป็นผู้นำในการสั่งสมบุญ
 
        วันหนึ่ง พระองค์ได้เสด็จลุกขึ้นจากที่บรรทมในเวลาใกล้รุ่ง ทรงนั่งขัดสมาธิ(Meditation)เจริญภาวนา แล้วแผ่เมตตาจิตไปสู่สรรพชีวิตทั้งหลาย ทรงดำริว่า “ทรัพย์ทั้งหลายที่เราได้บริจาคแก่มหาชน ทำให้เรายินดีได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น บัดนี้เราประสงค์จะบริจาคอวัยวะที่เรายังไม่เคยทำเลย อย่างไรเสีย วันนี้ขอให้มีผู้มีบุญมาขออวัยวะจากเราด้วยเถิด ไม่ว่าจะเป็นดวงตา ดวงใจ เลือดเนื้อ หรือแม้กระทั่งชีวิต เราก็จะให้สิ่งนั้นแก่เขาโดยไม่ลังเลเลย เราให้ร่างกายที่รักนี้เพื่อสิ่งที่รักยิ่งกว่า คือ การหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ เพื่อให้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ”
 
       เมื่อพระราชาดำริเช่นนี้ แผ่นดินใหญ่หนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ สั่นสะเทือนทันที ทะเลโหมกระหน่ำซัดคลื่น และภูเขาสิเนรุก็โอนเอน  ครั้นแผ่นดินหวั่นไหว มหาเมฆก็คำรามลั่น ฝนที่มิใช่ฤดูกาลก็ตกลงมา สายฟ้าแลบแปลบปลาบ ฟ้าผ่าฟ้าร้อง เหล่าเทวา พรหม อรูปพรหมต่างอนุโมทนาสาธุการลั่นโลกธาตุ เกิดโกลาหลกันทีเดียว เพราะผู้มีบุญบารมีปรารถนาจะสร้างบารมีชนิดที่ทำได้ยากในโลก เมื่อท้าวสักกะล่วงรู้ความปรารถนาเช่นนั้น ได้เสด็จลงมาจากเทวโลก เพื่อทำความปรารถนาของพระบรมโพธิสัตว์ให้สำเร็จ
 
       ท้าวสักกะทรงเนรมิตกายให้เป็นพราหมณ์ที่มีสรีระครึ่งซีก เดินถือไม้เท้าไปเข้าเฝ้าพระราชา ซึ่งขณะนั้นพระบรมโพธิสัตว์กำลังบริจาคทานอยู่ที่หน้าประตูพระราชวัง พราหมณ์ซึ่งมีกายครึ่งเดียวได้เดินเข้าไปใกล้พระโพธิสัตว์ เหยียดแขนซ้ายออกพลางกล่าวว่า “ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์แก่เฒ่าไม่มีที่พึ่งอื่น มีเพียงกายครึ่งซีกซ้ายเท่านั้น มาที่นี่ก็เพื่อมาขอกายอีกครึ่งซีกด้านขวา ขอพระองค์โปรดพระราชทานกายซีกขวาแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
 
       พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น ทรงดีใจที่จะได้ทำในสิ่งที่ปรารถนา ท่านไม่นึกเสียดายชีวิตร่างกาย มีแต่ความปลาบปลื้มยินดีปีติซาบซ่านที่จะได้บริจาคมหาทานในครั้งนี้ให้สำเร็จสมปรารถนา ราวกับจะได้บรรลุเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในวันนี้ทีเดียว ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกลงที่มือของพราหมณ์  เมื่อจะพระราชทานกายซีกขวา ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีโดยอธิษฐานว่า “ข้าพเจ้าได้ตั้งใจที่จะสร้างมหาทานบารมีในครั้งนี้ เพื่อการได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอให้เลื่อยจงบังเกิดขึ้นด้วยเถิด”
 
        ทันทีที่สิ้นคำอธิษฐาน ยักษ์ ๒ ตน ได้ถือเลื่อยอันคมกริบแหวกแผ่นดินผุดขึ้นมาเบื้องหน้าของพระองค์  มหาชนเห็นยักษ์ต่างตกใจกลัวพากันวิ่งหนีไปหมด  พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้น ก็มิได้สะพรึงกลัวแม้แต่น้อย ทรงหยิบเลื่อยขึ้นมาพลางตั้งจิตอธิษฐานเป็นปรมัตถบารมี เหล่าเทวดาทั้งหลายต่างเปล่งอนุโมทนาสาธุการดังลั่นไปทุกชั้นฟ้า เสียงสาธุการดังถึง๑,๐๐๐ครั้ง จากนั้นพระโพธิสัตว์ได้บอกให้ยักษ์เลื่อยตั้งแต่ศีรษะลงมา แบ่งกายให้เป็น ๒ ซีก ยักษ์ทั้งสองได้ทำตามพระดำรัส  พระราชาทรงได้รับทุกขเวทนายิ่งนัก แต่ทรงสามารถข่มไว้ได้ด้วยมหาปีติ  เมื่อนึกถึงการสร้างมหาทานบารมีของพระองค์ที่ทำได้ยากยิ่ง
 
        พระอินทร์ทรงชื่นชมอนุโมทนาในมหาทานของพระราชา พลางดำริว่า บัดนี้เราไม่ควรรอช้า ควรรีบคืนสรีระครึ่งซีกนี้แก่พระราชา จึงบันดาลด้วยเทวานุภาพ เชื่อมสรีระของพระราชาให้กลับเข้าดังเดิม และประพรมด้วยน้ำอมฤตที่หอมด้วยกลิ่นทิพย์ ตรัสบอกความจริงว่า ตนคือ ท้าวสักกเทวราช จะมาทดลองพระโพธิสัตว์เท่านั้น  เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ชีวิตกลับคืนมา พระองค์ก็ยิ่งสร้างบุญกุศลให้ยิ่งๆ ขึ้นไป และได้ประทานโอวาทแก่มหาชนในการสร้างบุญบารมีให้เต็มที่ไม่ให้ประมาทในชีวิต
 
        เราจะเห็นว่า บัณฑิตในกาลก่อนท่านมีใจใหญ่ เป็นนักสร้างบารมีที่ทำในสิ่งที่ทำได้ยากในโลก ท่านยอมเสียสละทรัพย์ภายนอกแล้วยังไม่พอ ยังปรารถนาที่จะสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยการสละสมบัติที่หวงแหนที่สุด คือชีวิตของตนเอง สละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิตให้เป็นมหาทานบารมี โดยมิได้หวาดกลัวต่อมรณภัย มุ่งทำความปรารถนาเพื่อประโยชน์สุขอันไพบูลย์ ให้เกิดขึ้นแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย คือ บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ ให้เต็มเปี่ยม เพื่อการบรรลุธรรมเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
 
        พวกเราควรดูบัณฑิตในกาลก่อนเป็นแบบอย่างของการสร้างบารมี เราสละทรัพย์ เราย่อมได้สมบัติใหญ่ในการสร้างบารมีต่อไปอย่างสะดวกสบาย  เมื่อทรัพย์สมบัติพรั่งพร้อม จะให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา ย่อมทำได้เต็มที่ การแสวงหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต ก็จะสมปรารถนาโดยง่าย จะได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของพวกเราทุกคน  เมื่อเราหมั่นประพฤติปฏิบัติธรรมทุกวันอย่างสม่ำเสมอไม่ให้ขาดแม้แต่วันเดียว และทำให้ถูกวิธีการ ไม่นานเราก็จะเข้าถึงพระธรรมกาย เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน พบกับความสุขที่แท้จริงของชีวิต ไม่ต้องไปดิ้นรนแสวงหาสิ่งอื่นให้เสียเวลา และจะสมปรารถนาในชีวิตกันทุกๆ คน
 
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
 
 *คัมภีร์พระอนาคตวงศ์

http://goo.gl/6KAIP


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related