ดื่มของที่มีแอลกอฮอล์เล็กน้อยเพื่อประโยชน์ของร่างกายผิดศีลหรือไม่

เหล้าที่ใช้เป็นกระสายยา ก็ต้องระวังอย่าให้กลายเป็นเอายามาเป็นกระสายเหล้า แต่ไม่ว่าจะกินอย่างไร เราก็ต้องเลี่ยงต่อการติดเหล้า https://dmc.tv/a12134

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 9 ก.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18283 ]
 
 
 

คำถาม:  การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เจือปนในปริมาณเล็กน้อย และดื่มเพื่อประโยชน์ของร่างกาย จะผิดศีลข้อ ๕ หรือไม่?

คำตอบ:  ในกรณีที่ใช้ผสมยา เป็นยาจริง ๆ เช่น ยาธาตุ ยาขับลม ยาแก้ไอ แก้ปวด ซึ่งผสมแอลกอฮอล์ราว ๓ เปอร์เซนต์ ก็ยังทำให้ติดได้
 
กินเหล้าเป็นกระสายยา
กินเหล้าเป็นกระสายยา
 
        เพราะฉะนั้นจะกินเหล้าที่ใช้เป็นกระสายยา ก็ต้องระวังอย่าให้กลายเป็นเอายามาเป็นกระสายเหล้า แต่ไม่ว่าจะกินอย่างไร เราก็เลี่ยงต่อการติดเหล้าแล้วนะ ดีที่สุดอย่ากินเลย คนบางพวกที่ดื่มเครื่องดื่มบางอย่าง ที่มีแอลกอฮอล์ผสมเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ โดยอ้างว่าดื่มเพื่อสุขภาพบ้างละ ให้เลือดลมดีขึ้นบ้างละ
 
        ระวังเถอะจะพลัดตกนรกลงไป เพราะความประมาทว่าเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพนั่นแหละ
 

คำถาม: ดิฉันเพิ่งจะฝึกสมาธิไม่นาน ยังไม่เห็นดวงนิมิต แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งเห็นรูปคนนั่งสมาธิงดงามมาก ลักษณะคล้ายตนเองที่เห็นนี่เป็นนิมิตหรืออะไรคะ? แต่เห็นเพียงวูบเดียวต่อมาก็ไม่เห็นอีกเลย

ใจจรดนิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกาย
ใจจรดนิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกาย
 
คำตอบ:  ที่เห็นนั้น ถ้าเกิดที่ศูนย์กลางกายก็เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถึงไม่ได้เห็นอีกก็อย่าไปกังวล เห็นมาครั้งหนึ่งหรือกี่สิบครั้งก็ตาม หายไปแล้วก็หายไป ใจจรดใจนิ่งๆ ตรงศูนย์กลางกายต่อไปอีกจนกว่าใจจะสงบ เดี๋ยวกายที่เคยเห็นก็จะปรากฎ ขึ้นมาเอง
 
คำถาม: ขอความกรุณาหลวงพ่อช่วยอธิบายให้เข้าใจว่า แนวทางปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงให้ไว้ ซึ่งท่านผู้รู้ส่วนใหญ่จะต้องตอบว่าให้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ แต่พอลงมือปฏิบัติกลับเป็นการนั่งหลับตาเฉย ๆ ความขัดแย้งกันนี้ทำให้สงสัยว่า การนั่งหลับตาเกี่ยวข้องนั้น จะทำให้เกิดผู้ประเสริฐของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ในขั้นตอนใดและในลักษณะใดครับ ?
คำตอบ:  มรรคมีองค์ ๘ เป็นอริยมรรค หรือทางไปสู่ความประเสริฐ จะเกี่ยวกับการนั่งหลับตาอย่างไรนั้น ก่อนอื่นขอให้ดูมรรคมีองค์ ๘ ก่อนว่ามีอะไรบ้าง
 
มรรคมีองค์ ๘ เป็นอริยมรรค หรือทางไปสู่ความประเสริฐ
มรรคมีองค์ ๘ เป็นอริยมรรค หรือทางไปสู่ความประเสริฐ
 
        มรรคองค์ที่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก หรือเข้าใจถูกในเรื่องโลกและชีวิต ยกตัวอย่างเช่น มีความเข้าใจถูกว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริง ใครมีความเห็นถูกตามนี้ ก็แสดงว่ามรรคองค์ที่ ๑ ของเขาผ่านได้
 
        เมื่อมีความเห็นถูกเข้าใจถูกตามนี้ มรรคองค์ที่ ๒ คือ สัมมาสังกัปปะ ความคิดถูก ก็เกิดขึ้น มรรคองค์ที่ ๑ กับองค์ที่ ๒ ต่างกัน คือความเห็นถูก หรือที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ หมายถึงความเข้าใจในเรื่องโลกและชีวิตอยู่ในระดับที่ใช้เป็นมาตราฐาน เป็นเครื่องวัดใจสำหรับคนทั้งโลกได้
 
        ส่วนสัมมาสังกัปปะ ความคิดถูก หมายถึงความคิดที่คิดในแต่ละวินาทีที่ผ่านไปนั้นมีแต่คิดดี ๆ คิดแต่จะช่วยเหลือเจือจุนผู้อื่นไม่ใช่คิดจะเบียดเบียนไม่เว้นแม้คนใกล้ชิด หรือที่สำนวน ชาวบ้านพูดว่าคิดที่จะเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียด้วยลำแข้ง อะไรทำนองนี้ การที่จะมีความคิดถูกต้องอย่างนี้ได้ จะต้องมีความเห็นถูกเป็นมาตรฐานอยู่ก่อนว่าทำดีได้ดีนะ ทำชั่วได้ชั่วแน่นอน
 
        พอมีความเห็นถูกต้องเป็นมาตรฐานดี ความคิดประจำวันก็มีแนวโน้มว่าจะดีตาม ยิ่งมีความเห็นเป็นมาตรฐานดีมากขึ้นเท่าไรความคิดก็จะดีมาก หนักแน่นมากขึ้นเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีความคิดดี แต่การกระทำกับคำพูดอาจจะไม่ดีก็ได้ เช่น คำด่าเป็นคำที่ไม่น่าฟัง คำพูดโป้ปดมดเท็จ เพ้อเจ้อ ก็ไม่เคยก่อให้เกิดผลดีแก่ตัวเองได้ตลอดรอดฝั่ง รู้นะว่าทำดีได้ดี ด่าไม่ดี แต่แหม... วันนี้ถ้าไม่ได้ด่าใครคงอกแตกตาย เลยด่าโพล่งออกไป
 
        มรรคองค์ที่ ๓ สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ จึงมีความจำเป็นเพราะฉะนั้นแม้ใครจะมีความถูก มีความเห็นเป็นมาตราฐานดีอย่างไรก็ต้องระวังปากด้วย
 
        มรรคองค์ที่ ๔ สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ คือชอบที่จะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่เจ้าชู้ เป็นการระวังประคับกายไว้ให้ดี
 
        มรรคองค์ที่ ๕ สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือมีอาชีพสุจริตคือไม่โกงเขากิน และไม่ค้าของต้องห้าม ได้แก่ ไม่ค้ามนุษย์ ไม่ค้าสัตว์เพื่อฆ่า ไม่ค้าอาวุธ ไม่ค้ายาพิษ และไม่ค้ายาเสพติด การค้าทั้ง ๕ อย่างนี้ภาษาพระเรียกว่า มิจฉาวณิชชา เป็นอาชีพที่ไม่ควรทำ
 
        มรรคองค์ที่ ๖ สัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ คือเพียรที่จะละความชั่วและเพียรที่จะทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
 
        ถามว่าความเพียรอย่างนี้ในตัวของเรามีไหม ก็บอกว่ามี แต่มันแก่กล้าพอไหม มันยังไม่พอนะ “เป็นต้นว่า แหม...วันนี้ฟังพระท่านเทศน์ ท่านสอนนั่งสมาธิดีจังเลย ต่อไปนี้เราจะนั่งสมาธิทำความเพียรให้มาก” ตอนที่อยู่วัดก็ตั้งใจว่าถึงบ้านจะนั่งสักชั่วโมง แต่พอถึงบ้านนั่งได้ ๑๕ นาทีก็ว่าเยอะแล้ว นั่งไปได้ ๓ คืน ชักท้อ แหม.....วันก่อนนี้นั่งเป็นชั่วโมงที่วัด เอามาเฉลี่ยๆ กัน วันนี้นั่ง ๕ นาทีก็พอ  ความเพียรของเรามี แต่มันย่อหย่อน ไม่ค่อยจะเพียรพยายามให้มากขึ้น
 
        มรรคองค์ที่ ๗ สัมมาสติ มีสติชอบ ให้ตรวจสอบดูว่า เรามีสติกำกับดีแค่ไหน อย่ามีสติแบบเด็ก ๆ นะ ขอให้มีแบบผู้ใหญ่
 
        สติแบบเด็กๆ เช่น อยากกินเหล้าก็เลยอ้างว่ายิ่งกินยิ่งขับรถเก่งมีสติดี ความจริงสติขาดตั้งแต่ตอนที่คิดจะกินเหล้านั่นแล้ พอควักเงินซื้อเหล้า สติก็ขาดหนักขึ้นอีก
 
        สติแบบผู้ใหญ่เป็นอย่างไร? สติแบบผู้ใหญ่เป็นเรื่องของการประคองใจ ให้ทำความดีจนตลอดรอดฝั่ง เช่น ตื่นเช้าขึ้นมาก็ตั้งใจนึกถึงดวงแก้วนึกถึงองค์พระไว้ในตัว กำลังนึกอยู่ดี ๆ ก็มาเรื่องอื่นแวบเข้ามา ถ้าเรื่องนั้นสามารถดึงใจให้แวบออกจากตัวได้เมื่อไร ก็ถือว่าขาดสติแบบผู้ใหญ่เมื่อนั้น พวกเราที่นั่งอยู่บนศาลานี้ ความสามารถในการควบคุมสติยังใช้ไม่ได้ทั้งนั้นแหละ แม้หลวงพ่อเองก็เหมือนกันยังต้องฝึกอีกมาก ผู้ที่สติดีสม่ำเสมอตลอด เวลามีเพียงคนเดียวในโลกคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รองลงมาคือพระอรหันต์ นอกนั้นยังใช้ไม่ได้ยังต้องฝึกต่อไป เพราะฉะนั้นถ้าใครมาพูดว่าผมสติดีเหลือเกิน คนนั้นเสียสติขนาดหนัก เมื่อเป็นอย่างนี้เราก็เลยต้องฝึกสติกับฝึกสมาธิ ให้เป็นของคู่กัน ฝึกสติเมื่อไรก็ถือว่าได้ฝึกสมาธิเมื่อนั้น ฝึกสมาธิเมื่อไรก็จะได้สติเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นการประคองใจนึกถึงดวงแก้ว นึกถึงองค์พระนั้นจริง ๆ แล้วเป็นการฝึกสติ
 
        มรรคองค์ที่ ๘ สัมมาสมาธิ มีสมาธิชอบ คือใครก็ได้ ถ้าใจนิ่งได้ก็เป็นสัมมาสมาธิระดับหนึ่ง พอใจนิ่งมั่นคง ความสว่างจะเกิดตามมา พอความสว่างเกิด ปัญญาก็เกิด ทำให้เริ่มรู้แล้วว่าบุญบาปเป็นอย่างไร นรกเป็นอย่างไร สวรรค์เป็นอย่างไร ความเข้าใจถูกในเรื่องโลกและชีวิตลึกซึ้ง กลายเป็นสัมมาทิฏฐิในระดับสูงต่อ ๆ กันไป
 
        มรรคมีองค์ที่ ๘ เกิดในลักษณะส่งต่อกันเป็นทอด ๆ และพัฒนาสูงขึ้นเป็นลำดับอย่างนี้ แต่ถามว่าทั้ง ๘ อย่างนี้ เรามีครบจริง ๆ กันไหม ยังไม่ครบนะ และความเห็นถูกต้องเป็นมาตรฐานของเรา คือสัมมาทิฏฐิที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วนั้น เอาจริง ๆ เข้าแล้ว บางคนก็มีขีดจำกัด เช่น พอไปเจอเงินกองโต ๆ เข้าก็ชักลังเล เผลอคิดว่าทำชั่วสักครั้ง แล้วค่อยไปทำบุญวันหลังชดใช้ก็แล้วกัน มันชักจะมีทางเลี่ยงไปอย่างโน้นเสียแล้ว ความเห็นถูกของเราชักไม่มั่นคง เป็นผลให้ความเกิดถูกของเราชักจะไม่เต็มร้อย
 
        อาชีพของเราตอนนี้ที่ว่าบริสุทธิ์ยืนยันแข็งว่า ฉันทำมาหากินสุจริตไม่คดโกงใคร แต่แล้ววันใดวันหนึ่งเพื่อนมาชวนไปลงทุนร่วมกัน “เอ...น่าจะลงทุนค้าเฮโรอีนกับมันสักครั้งนะ ตำรวจคงจับไม่ได้หรอก เพราะประวัติเราดีลงทุนแค่ร้อยก็ได้กำไรเป็นล้าน”
 
        ตกลงอาชีพของเราก็ยังไว้ใจไม่ได้ ถ้าหลวมตัวผิดพลาดมาถึงขั้นนี้แล้ว ข้ออื่น ๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง ถ้ามรรคมีองค์ ๘ ทั้ง ๘ ข้อของเราไม่มีอะไรดีครบร้อยเปอร์เซนต์สักข้อ แล้วเราจะเริ่มต้นแก้ไขตรงไหน?
 
        มรรคมีองค์ ๘ นี้อุปมาเป็นเสา ๘ เสาที่จะมาเสริมต่อขึ้นเป้นบ้าน หรือเสริมต่อขึ้นเป็นกระโจม แต่ละเสาปักตั้งตรงไม่ได้สักอัน แต่มันจะต้องมาค้ำกันเพื่อรองรับพื้น รองรับหลังคาให้ได้ อย่างนี้จะทำอย่างไร? ก็จะต้องทำให้มีเสาหนึ่งเป็นแกน ส่วนเสาอื่นนอกจากนั้นก็มาพิงเอาไว้ ถ้าเช่นนั้นเสาแกนของมรรคมีองค์ ๘ ควรจะเป็นอะไร?
 
        ตอบว่าสัมมาสมาธิ เราต้องลงมือฝึกสมาธิให้ได้ อย่างอื่นปล่อยไว้ก่อน พอหลับตาประคองใจนิ่ง ๆ สักพักสติก็เริ่มมา ตอนสติกำลังมาความเห็น ถูกก็เกิด ความคิดร้าย ๆ ก็เริ่มคลายตัว ทำให้รักษาศีลได้ครบทุกข้อ สัมมาวาจาก็มี เพราะคำภาวนาเวลานั่งสมาธิว่าสัมมาอะระหัง เป็นสัมมาวาจา
 
        ถามว่าระหว่างนั้นเป็นสัมมากัมมันตาไหม? เป็นแล้วก็เป็นสัมมาอาชีวะด้วย อาชีพดีแน่ๆ เพราะนั่งหลับตาอยู่นี่ไม่ได้ไปทำร้ายใคร ไม่ได้โกงใคร กำลังพากเพียรประคองใจตั้งสติอย่างดี
 
        ตกลงพอนั่งสมาธิ มรรคมีองค์ ๘ ก็ค่อย ๆ รวมเข้ามาทันทีไม่ขาดไม่เกิน แต่ว่าเราก็ไม่สามารถนั่งสมาธิได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมงต่อเนื่องกันได้ ถึงอย่างนั้นเราก็ควรประคับประคองใจไปเรื่อย ๆ ถึงเวลานั่งก็นั่ง เลิกจากนั่งแล้ว ก็พยายามเอาใจตรึกไว้ที่ศูนย์กลางกายในทุก ๆ อิริยาบถ แล้วมรรคมีองค์ ๘ ก็จะค่อย ๆ ตามกันมาเอง
 
        เรื่องมันเป็นอย่างนี้นะ อาตมายังไม่เคยบอกพวกเราเลยสักครั้งว่าต่อไปนี้ให้เลิกทำงาน แล้วก็ไปอยู่ป่าไปนั่งหลับตากัน เรายังทำไม่ได้ แม้แต่หลวงพ่อเองถึงเวลานั่งสมาธิก็นั่ง ถึงเวลาเทศน์ก็เทศน์ถึงเวลาทำกิจก็ทำกิจ ถึงเวลาฉันก็ต้องฉัน ยังเหาะไม่ได้ ก็ยังต้องกินต้องฉันอาหารอยู่ ถึงคราวเพลียก็ต้องนอน แต่อย่างไรก็ตามก็กำลังฝึกมรรคมีองค์ ๘
 
ช่วงที่ฝึกมรรคมีองค์ ๘ ได้ดีที่สุด คือขณะนั่งสมาธิ
ช่วงที่ฝึกมรรคมีองค์ ๘ ได้ดีที่สุด คือขณะนั่งสมาธิ
 
        แต่ว่าช่วงที่ฝึกมรรคมีองค์ ๘ ได้ดีที่สุด คือขณะนั่งสมาธิตอนนั้นมรรคมีองค์ ๘ จะรวมตัวกันอยู่ได้พอดี ก็พยายามให้รวมตัวอยู่กับเราให้นานที่สุดก็แล้วกัน พอออกจากสมาธิไปทำมาหากินทางโลก อารมณ์ดี ๆ ที่นอนเนื่องอยู่ในใจมานานจะทำให้เราเป็นคนดีของสังคม
 
        ที่หลวงพ่อพยายามจ้ำจี้จ้ำไชสอนพวกเราว่าต้องหาเวลาฝึกสมาธิกันให้มากขึ้น ถ้าจะพูดต่ออีกสักนิดก็คือ ถ้าฝึกสมาธิมากเข้ามรรคมีองค์ ๘ กับการนั่งหลับตาจึงไม่เป็นทางการขัดแย้งกันอย่างที่คุณโยมคิดเอาเองหรอกนะ

http://goo.gl/CqQYa


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related