การสวดมนต์สวดเฉพาะคำแปลภาษาไทยได้หรือไม่

การสวดมนต์ทำวัตรเย็น ถ้าไม่ท่องเป็นภาษาบาลี แต่ท่องเฉพาะคำแปลที่เป็นภาษาไทยจะได้หรือไม่ https://dmc.tv/a13209

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 10 ก.พ. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18281 ]
 
 
 

คำถาม: การสวดมนต์ทำวัตรเย็น ถ้าไม่ท่องเป็นภาษาบาลี แต่ท่องเฉพาะคำแปลที่เป็นภาษาไทยจะได้หรือไม่?

 
คำตอบ: ได้ ท่องเข้าไปเถอะ กลัวจะไม่ท่องมากกว่า เห็นหลายคนชอบอ้างกันนักว่า “อุ๊ย..บาลีท่องไม่รู้เรื่อง ไม่ท่องละ..” ถ้าอย่างนั้นท่องภาษาไทยซิ “โอ๊ย..มันก็ไม่ค่อยว่าง ต้องทำมาหากิน”
 
การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น
การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น
 
        ตกลงทั้งชาติเลย ไม่ได้ท่องอะไรทั้งนั้น เอาเถอะจะท่องแต่บาลีก็ท่อง จะท่องทั้งภาษาไทยและภาษาบาลีก็ยิ่งดี จะท่องอะไรก็ท่องเถอะนะ ขืนรีรอ มันโอ้เอ้อยู่เดี๋ยวไม่ทันได้ท่อง ตายเสียก่อนนะ แล้วจะว่าหลวงพ่อไม่เตือนไม่ได้นะ
 

คำถาม: การสวดมนต์เป็นภาษาบาลี คนที่ไม่รู้ภาษาบาลีไม่รู้คำแปล สวดไปทั้งๆ ที่ไม่รู้ จะได้อานิสงส์เหมือนกันกับคนที่สวดแล้วเข้าใจคำแปลไหมครับ?

 
คำตอบ: ได้เหมือนกัน แต่ไม่เท่ากัน ผู้ที่สวดมนต์โดยไม่รู้คำแปลจะได้อานิสงส์ระดับหนึ่ง ท่านใช้คำว่าเป็นบุญกิริยา คือความประพฤติอันเป็นที่ตั้งแห่งบุญ เกิดไปกี่ภพกี่ชาติก็ไม่ห่างวัด
 
        ส่วนผู้ที่สวด แล้วรู้คำแปลด้วยจะได้มากกว่า คือได้ปัญญาเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นใครที่สวดมนต์ได้แล้ว แต่ยังไม่รู้คำแปล ควรไปศึกษาให้รู้ให้เข้าใจเสีย เพราะได้แปลไว้ให้ในหนังสือสวดมนต์ด้านหลังเรียบร้อยแล้ว
 
คำถาม: ดิฉันเคยได้ฟังมาว่า จีวรพระไม่ใช่สีส้มสด ขอความกรุณาหลวงพ่ออธิบายด้วยค่ะ?
 
คำตอบ: ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมา สีจีวรของพระท่านให้ใช้สีย้อมฝาด คือ สีย้อมผ้าที่ได้จากยางไม้ หรือจากแก่นของต้นขนุน แต่ในปัจจุบันมองรอบตัวจะหาต้นไม้ใหญ่ๆ ขนาดมีแก่นได้สักกี่ต้นกัน
 
        ฉะนั้นเราก็เลยต้องใช้สีที่ช่างเขาทำกันขึ้นมา ซึ่งก็ได้แค่สีใกล้เคียงจะให้เป็นมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุกวัดนั้นแสนยาก แม้ในสมัยพุทธกาลที่ท่านให้ใช้สีที่ย้อมจากยางไม้หรือแก่นไม้ขนุน พอลงมือย้อมต่างก็ย้อมกันเอาเอง จึงไม่สามารถกำหนดสีมาตรฐานลงไปได้ ตกลงเลยเอาเป็นว่าขอให้เป็นสีย้อมจากแก่นไม้จากยางไม้สีเหลืองๆ ก็แล้วกัน แต่ที่แน่ๆ คือไม่ใช่แม่สีล้วนๆ และไม่ใช่สีเหลืองอ๋อยเพียงสีเดียวแต่เป็นลักษณะสีผสม
 
        ถ้าเดี๋ยวนี้ใครยังเคร่งครัดใช้สีย้อมจากยางไม้ แบบสมัยพุทธกาลคงยุ่งยากไม่น้อย จะบวชพระสักรูป ต้องไปโค่นต้นขนุนมาย้อมจีวรกันก็บอกว่า ไม่มีต้นขนุนจะให้โค่นแล้ว ต้องเอาสีที่มีอยู่ในท้องตลาดนี่แหละมาใช้ ขอเพียงว่าไม่ใช่แม่สีเหลืองอ๋อย แต่ว่ามีสีใกล้เคียง ถ้าคล้ายกับสีที่ย้อมจากแก่นไม้ก็อนุโลมใช้กันไป เราจะไปกำหนดสีนั้นสีนี้ให้ตายตัวคงไม่ได้
 
        เรื่องนี้ต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงก็แล้วกันว่า เราจะไม่ใช้แม่สี เวลาย้อมสีจีวรก็เอาหลายสีผสมกัน ไม่ใช้สีใดโดยเฉพาะ แต่ก็อย่าให้ออกสีดำหรือสีคล้ำจนเกินไป และไม่ให้เป็นสีเหลืองอ๋อยชัดๆ ก็คงทำได้เท่านั้นเอง
 
สีจีวรของพระ
สีจีวรของพระ
 
        สำหรับจีวรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามที่บันทึกไว้ บอกว่า ออกเป็นสีเหลืองทองที่เรียกว่า “สิงคีวรรณสิงคี แปลว่า เปลวไฟ หรือทอง คือสีเหมือนเปลวไฟ อยากจะเห็นว่าเป็นอย่างไรลองไปก่อไฟดู ไฟมันเป็นเปลวออกสีเหลืองทองๆ ส้มๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้จีวรสิงคีวรรณ หลักฐานที่ค้นพบมีว่าอย่างนี้ เพราะฉะนั้นอย่าไปฟังอะไรมา แล้วเชื่อง่ายๆ นะ
 
คำถาม: การสร้างศาลาสภาธรรมกายใช้เสาเพียงแต่ต้นข้างๆ ทำไมไม่มีเสากลางแล้วจะแข็งแรง 100% หรือเปล่า มันจะไม่ยุบลงมาทับพวกเราหรือนี่ (พระเรียนถามมา)
 
คำตอบ: สำหรับเสาหลังคาแบบนี้ ความที่เราไม่ต้องการให้มีเสากลางให้เกะกะ ลักษณะทรงหลังคา จึงสร้างให้มีแรงถีบไปที่เสา 2 ข้าง คือเราแก้ปัญหาโดยที่มีลวดสลิงดึงรั้งอยู่
 
        เราได้คำนวณการับแรงกดของมันไว้ และยังเผื่อไว้อีกหนึ่งเท่าด้วย เรื่องยุบลงมาไม่ต้องห่วง นอกจากนี้แล้วส่วนโครงข้างบนระหว่างห้องเรายังมีการผลัก ที่เขาเรียกว่าเบสซิ่ง ไม่ให้มีการเคลื่อนตัวหรือบิดตัว เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องยุบเรื่องพังก็จะไม่เกิดขึ้น
 
สภาธรรมกายสากล
สภาธรรมกายสากล
 
        ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเสาทั้ง 2 ข้าง แต่ละต้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แล้วที่ข้างบนยังมีลวดเหล็กเรียกว่า เหล็กถัก (เหล็กถัก = Tuss) ถักกันไปถักกันมาอย่างนี้รับแรงกดได้ดี
 
        คราวนี้แรงที่เหล็กมันกดลงมานี้จะลงไปที่ไหน ตอบว่าน้ำหนักเหล็กที่กดลงมามันก็ถีบเสานี่ถ่างออกไป แบะออกไป แต่เราวางเหล็กอันนี้ไว้บนหัวเสา แล้วก็มีสลิงดึงหัวเสาเอาไว้อีกด้วย ไม่ให้ถูกถีบจนแบะสลิงที่ดึงก็ที่แขวนหลอดไฟฟ้าเอาไว้ด้วยนั่นแหละ สายไฟก็พันตามสายสลิง เพราะฉะนั้นการมีสลิงนี่ก็เผื่อเอาไว้สำหรับใช้ติดอุปกรณ์แสงเสียงด้วย และขึงเอาไว้ไม่ให้เหล็กถักข้างบนมันถีบเสาถ่างออกไปด้วย คำนวณกันเรียบร้อยแล้ว ปลอดภัยแน่นอน ไม่ต้องกลัวนะครับ
 
        หลวงพ่อ หลวงพี่ อยู่ตามจังหวัดต่างๆ หรือแม้ในชนบทขณะนี้มีพวกวิทยาลัยเกี่ยวกับการก่อสร้างมากมาย วิทยาเหล่านี้มีครูอาจารย์ที่จบวิศวะฯ จบก่อสร้าง เหมือนหลวงพี่ที่ก่อสร้างอาคารหลังนี้นั่นแหละ ไปหาเขาเถิดครับ เขาจะช่วยออกแบบ ช่วยคำนวณ เราไปบอกเขาเพียงแต่ว่า เราต้องการศาลาพื้นที่ขนาดนี้ จุคนเท่านี้ มีงบประมาณขนาดนี้ ช่วยออกแบบให้ทีสิ เอาชนิดคงทนด้วยนะ แล้วก็ถูกๆ ด้วย แล้วก็สวยด้วย ใช้งานได้ดีด้วย ช่วยออกแบบนี้ แล้วก็ให้ทำง่ายๆ ด้วยนะ นายช่างพวกนี้เขามีวิธีทำครับ ให้เขาได้บุญกับเราด้วยเถอะนะครับ
 
        งานบางอย่างไม่ต้องเปลืองหัวคิด ก็อย่าไปเปลืองมันเลย กระจายๆ งานกันไป พุทธศาสนานี้จริงๆ แล้วอยู่กันเป็นบริษัทนะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า “บริษัท4” คือมีผู้ถือหุ้นอยู่ 4 พวก คือ พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เพราะฉะนั้น หลวงพี่แม้แต่เณรทั้งหลายขณะนี้เราถือหุ้นอยู่ในพระพุทธศาสนารูปละ 1 หุ้น ถึงเวลาก็กระจายๆ งานกันออกไปให้หุ้นที่ลงในพระพุทธศาสนานี้เขาได้ทำงานของเขาด้วย แล้วเราก็จะเบาแรง มีเวลาเอาความคิดไปใช้สร้างสรรค์ พัฒนางานด้านอื่นๆ ได้อีก

http://goo.gl/RVHYK


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related