ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 21

กุมาริกาได้กล่าวเตือนพระสติพระมหาสัตว์ต่อไปว่า “ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมไม่พาสตรีเที่ยวไป แต่ทำไมท่านจึงพาภรรยาซึ่งมีรูปงามดุจเทพอัปสรเที่ยวไปด้วยเล่า ภรรยาจะทำให้สมณธรรมของท่านมัวหมอง ท่านจงยินดีในการอยู่คนเดียวเถิด” https://dmc.tv/a1011

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > พระมหาชนก
[ 10 ม.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18275 ]
 
 
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  มหาชนก   ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี  ตอนที่ 21
 
        จากตอนที่แล้ว พระโพธิสัตว์ได้ตรัสตอบท่านมิคาชินะถึงเหตุของการออกผนวชว่า “ข้าพเจ้ามิได้มีปัญหาในเรื่องราชสมบัติ ไม่ได้ทะเลาะกับหมู่ญาติคนใดเลย แต่เพราะเห็นโลกถูกกิเลสคุกคาม ถูกกิเลสย่ำยี จึงพิจารณาว่า สัตว์เป็นอันมากถูกประหารและถูกจองจำเพราะกิเลส แม้แต่ข้าพเจ้าก็จักถูกฆ่า และถูกจองจำเหมือนสัตว์เหล่านั้น คิดดังนี้ จึงได้ออกบวช”

        มิคาชินะดาบสได้สดับธรรมภาษิตจากพระโพธิสัตว์ก็รู้สึกชื่นชอบ จึงได้ถามต่อไปว่า “ใครหนอเป็นผู้แนะนำธรรมะแด่พระองค์  ถ้อยคำอันสะอาดนี้ เป็นถ้อยคำของใคร”

        พระโพธิสัตว์ตรัสว่า “ถึงข้าพเจ้าจะเคารพและอุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ก็จริง แต่ก็ไม่เคยไต่ถามธรรมะจากท่านเลย   จนกระทั่งวันหนึ่ง ข้าพเจ้าเข้าไปในพระราชอุทยาน ได้เห็นต้นมะม่วงที่มีผลถูกคนเบียดเบียนจนปราศจากใบและก้าน แต่ต้นมะม่วงที่ไร้ผลกลับมีใบเขียวชอุ่มน่ารื่นรมย์ มะม่วงทั้งสองต้นนั้นเป็นผู้สั่งสอนข้าพเจ้า”

        เมื่อมิคาชินดาบสไปแล้ว พระนางสีวลีเทวีจึงเข้ามากราบทูลว่า “มหาชนเกิดความหวั่นใจว่า พระราชาทรงออกผนวชเสียแล้ว  ขอพระองค์โปรดทำให้มหาชนอุ่นใจด้วยการอภิเษกพระโอรส คือ ทีฆาวุกุมารไว้ในราชสมบัติแล้ว จึงทรงผนวชต่อภายหลังเถิด”
 
        พระโพธิสัตว์ตรัสว่า “เราได้สละพสกนิกร มิตรอำมาตย์และพระประยูรญาติแล้ว  กาลต่อไป ชาววิเทหรัฐจะเป็นผู้อภิเษกทีฆาวุกุมารเอง ขอพระนางจงเบาใจเถิด” จากนั้นก็ทรงประทานโอวาทแก่พระนาง ให้รักในการประพฤติพรหมจรรย์  ยินดีในนิรามิสสุข จงเห็นแก่ประโยชน์ในโลกหน้า ให้ยิ่งกว่าประโยชน์ในปัจจุบัน 

        เมื่อพระโพธิสัตว์ประทานพระโอวาทแด่พระสีวลีเทวีจบลง ดวงอาทิตย์ก็ตกลับขอบฟ้า  พระโพธิสัตว์จึงขอตัวเสด็จเข้าไปหาที่สงบวิเวกตามลำพัง เข้าประทับที่ใต้ต้นไม้ใหญ่แห่งหนึ่ง 
 
        ฝ่ายพระเทวีก็มีพระเสาวนีย์รับสั่งให้ตั้งค่ายอยู่ไม่ไกล    จากที่พักขอพระโพธิสัตว์นัก  ครั้นรุ่งเช้า พระโพธิสัตว์ก็เสด็จเข้าไปสู่พระนครชื่อถูนะ เพื่อภิกขาจาร ฝ่ายพระเทวีก็รีบตามเสด็จไม่ยอมห่าง เพราะกลัวว่าจะถูกพระโพธิสัตว์ทอดทิ้ง

        ในขณะที่เที่ยวภิกขาจารอยู่นั้น  มีชายหนุ่มคนหนึ่ง ได้ซื้อเนื้อก้อนใหญ่มาจากตลาด แล้วเสียบหลาวย่างจนสุก จากนั้นก็วางเนื้อไว้บนกระดานเพื่อให้เย็นและยืนรออยู่

        เมื่อหนุ่มนั้นเผลอ ก็มีสุนัขตัวหนึ่งก็แอบคาบเนื้อก้อนนั้นหนีไป เจ้าหนุ่มเห็นสุนัขคาบเนื้อของตัวไป ก็รีบวิ่งไล่ตาม ไปจนถึงนอกประตูเมืองทางทิศใต้  เมื่อไล่ตามจนเหนื่อย ก็หมดความอยาก หมดอาลัยในก้อนเนื้อนั้น จึงหันหลังกลับบ้านไป

        พระโพธิสัตว์กับพระเทวีเสด็จผ่านมาข้างหน้าสุนัขที่ทางสองแพร่งนั้นพอดี  สุนัขนึกว่าเจ้าของก้อนเนื้อมาดักรอ ด้วยความกลัวจึงทิ้งก้อนเนื้อแล้ววิ่งหนีไป 

        พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จึงทรงดำริว่า  “เจ้าของก้อนเนื้อก็มิได้ปรากฏให้เห็น อาหารชนิดนี้หาโทษมิได้ ชื่อว่าเป็นบังสุกุลบิณฑบาต” 

        ครั้นดำริเช่นนี้แล้ว ก็ทรงก้มลงหยิบก้อนเนื้อขึ้นมาปัดฝุ่น แล้วใส่ลงในบาตร เสด็จไปที่ท่าน้ำ ทรงนั่งพิจารณาอาหาร แล้วก็เสวยเนื้อก้อนนั้นด้วยอาการสำรวม

        พระสีวลีเทวีทรงดำริว่า  “ถ้าพระราชานี้มีพระราชประสงค์ราชสมบัติ จะไม่พึงเสวยเนื้อก้อนนี้ ซึ่งน่าเกลียด เปื้อนฝุ่น เป็นเดนสุนัข แต่นี่พระองค์มิได้ทรงรังเกียจกลับเสวยอย่างสงบดุจเสวยอมตรส บัดนี้พระองค์คงจะมิใช่พระราชสวามีของเราแล้ว” เมื่อดำริเช่นนี้ ความผูกพันที่เคยมีก็คลายตัวลง

        แม้จะทรงรู้ว่าพระราชาทรงหมดอาลัยในราชสมบัติแล้ว ถึงกระนั้น พระนางก็ไม่อาจทรงดำเนินชีวิตเพียงลำพังพระองค์เดียวได้ จึงทูลอ้อนวอนว่า “ข้าแต่มหาราช  พระองค์เสวยเนื้อที่น่าเกลียดปานนี้ได้อย่างไร  คนที่ฉลาด แม้ไม่ได้บริโภคอาหารถึง ๔ มื้อ อดอยากปางตาย  ก็ยอมตายเสียด้วยความหิว  เขาจะไม่ยอมบริโภคก้อนเนื้อคลุกฝุ่นที่ไม่สะอาดเลย  แต่พระองค์กลับเสวยก้อนเนื้ออันเป็นเดนสุนัข ซึ่งไม่สะอาด น่ารังเกียจ ขอพระองค์เสด็จกลับไปบริโภคราชสมบัติเถิด”

        พระโพธิสัตว์ ตรัสตอบว่า  “ดูก่อนพระนางสีวลี ก้อนเนื้อนี้ ชื่อว่าเป็นอาหารของอาตมาที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เพราะเจ้าของและสุนัขต่างก็สละแล้ว  ของบริโภคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ที่บุคคลได้มาโดยชอบธรรม ของบริโภคทั้งหมดนั้น ชื่อว่าไม่มีโทษ  ดูก่อนพระเทวี เธอไม่รู้จักความวิเศษของบิณฑบาตนี้ เพราะความเขลาต่างหากเล่า” 

        ครั้นตรัสชี้แจงให้ทราบถึงชีวิตสมณะแล้ว ก็ทรงบ้วนพระโอษฐ์ ทรงชำระพระหัตถ์ แล้วเสด็จลุกขึ้น ถือเครื่องบริขาร ดำเนินต่อไปโดยไม่ทรงใส่พระทัยว่าพระนางจะเดินตามมาหรือไม่

        เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จดำเนินไปจนลุถึงประตูพระนครด้านใน ระหว่างทาง ทรงเห็นพวกเด็กๆ กำลังเล่นกันอย่างสนุกสนาน 

        ในจำนวนนั้น มีกุมาริกาคนหนึ่งเอากระด้งน้อยฝัดทรายเล่นอยู่ ที่ข้อมือข้างหนึ่งของนางสวมกำไลหนึ่งอัน และข้อมืออีกข้างหนึ่งสวมกำไลสองอัน  กำไลสองอันนั้นกระทบกันมีเสียงดัง กริกๆ แต่กำไลอันเดียวนั้นไม่มีเสียงเลย

        พระโพธิสัตว์สังเกตเห็นแล้ว ก็เกิดปัญญาสอนตัวเอง ทรงมีพระดำริว่า  “บัดนี้ พระนางสีวลีตามหลังเรามา ขึ้นชื่อว่าสตรีเป็นมลทินของบรรพชิต  ชนทั้งหลายเห็นนางตามเรามา จักติเตียนเราว่า บรรพชิตนี้แม้บวชแล้ว ก็ยังไม่สามารถจะละภรรยาได้ 

        จึงเสด็จเขาไปหากุมาริกาด้วยทรงมีพระดำริว่า “ถ้ากุมาริกาคนนี้ เป็นคนฉลาด จักพูดถึงเหตุนี้ เพื่อให้พระนางสีวลีกลับไป”

        ครั้นดำริฉะนี้แล้ว ก็เสด็จเข้าไปถามกุมาริกาว่า “แน่ะนางกุมาริกา กำไลข้อมือของเธอข้างหนึ่งมีเสียงดัง อีกข้างหนึ่งไม่มีเสียงดัง  ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเล่า”

        กุมาริกาเป็นผู้ที่ได้สั่งสมบุญเก่ามาดี จึงมีปัญญามาก เมื่อได้ฟังดังนั้นก็ทราบความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวตอบไปว่า  “ข้าแต่สมณะ เสียงเกิดจากกำไลสองอันที่สวมอยู่ที่ข้อมือของดิฉัน อีกด้านหนึ่งไม่ส่งเสียงเป็นเหมือนคนๆ เดียวย่อมสงบนิ่ง บุคคลสองคนย่อมวิวาทกัน  คนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า ท่านนักบวช ท่านจงชอบความเป็นผู้อยู่คนเดียวเถิด”

        ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว กุมาริกาได้กล่าวเตือนพระสติพระมหาสัตว์ต่อไปว่า “ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมไม่พาสตรีเที่ยวไป  แต่ทำไมท่านจึงพาภรรยาซึ่งมีรูปงามดุจเทพอัปสรเที่ยวไปด้วยเล่า ภรรยาจะทำให้สมณธรรมของท่านมัวหมอง ท่านจงยินดีในการอยู่คนเดียวเถิด”

        ด้วยถ้อยคำของกุมาริกาคนนี้ ทำให้พระนางสีวลีต้องนิ่งอึ่ง แต่ก็ทรงพยายามที่จะไม่นำมาเป็นอารมณ์  ส่วนพระโพธิสัตว์นั้นกลับได้ตระหนักมากขึ้น และก็มีดำริว่า ถึงเวลาที่จะต้องตัดสินใจจากพระเทวีอย่างเด็ดขาด   แต่เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไป
 
โดย : หลวงพ่อธัมมชโย (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

http://goo.gl/MyQl0


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related