ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 22

ทรงยื่นคำขาดว่า “น้องหญิงสีวลีผู้เจริญ หญ้ามุงกระต่าย ซึ่งเราถอนขึ้นแล้วนี้ ไม่อาจสืบต่อกันได้อีก ฉันใด การอยู่ร่วมกันระหว่างเธอกับฉัน ก็ไม่อาจสืบต่อได้อีก ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เธอจงอยู่ผู้เดียว ฉันก็จะอยู่ผู้เดียวเหมือนกัน” https://dmc.tv/a1189

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ทศชาติชาดก > พระมหาชนก
[ 18 ม.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
  
ทศชาติชาดก
 
เรื่อง  มหาชนก   ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี  ตอนที่ 22
 

        จากตอนที่แล้ว พระโพธิสัตว์ก็เสด็จเข้าไปสู่พระนครชื่อถูนะ เพื่อภิกขาจาร ทรงได้เนื้อย่างที่สุนัขทิ้งไว้ ก็ดำริว่า  “อาหารชนิดนี้หาโทษมิได้ ชื่อว่าเป็นบังสุกุลบิณฑบาต”  แล้วก็เสวยเนื้อก้อนนั้นด้วยอาการสำรวม

        พระสีวลีเทวีจึงดำริว่า  “ถ้าพระราชานี้มีพระราชประสงค์ราชสมบัติ จะไม่พึงเสวยเนื้อก้อนนี้ ซึ่งน่าเกลียด เปื้อนฝุ่น เป็นเดนสุนัข แต่พระองค์มิได้ทรงรังเกียจกลับเสวยอย่างสงบ บัดนี้พระองค์จะมิใช่พระราชสวามีของเราแล้ว”  แต่ถึงกระนั้น พระนางก็ไม่อาจสละพระโพธิสัตว์ได้ ยังคงติดตามต่อไป
 
        พระโพธิสัตว์ครั้นเสด็จต่อไป ได้เห็นนางกุมาริกากำลังเอากระด้งฝัดทรายเล่นอยู่ ทรงเห็นที่ข้อมือของนางข้างหนึ่งสวมกำไลสองอัน อีกข้างหนึ่งสวมอันเดียว ก็มีพระดำริว่า เราจะให้นางกุมาริกานี้กล่าวให้สติพระเทวี จึงเสด็จเข้าไปถามกุมาริกาว่า “กำไลข้อมือของเธอข้างหนึ่งมีเสียงดัง อีกข้างหนึ่งไม่มีเสียง  ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเล่า”

        นางกุมาริกาผู้มีปัญญา ทราบความประสงค์ของพระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า  “ข้าแต่สมณะ เสียงเกิดจากกำไลสองอันที่สวมอยู่ที่ข้อมือของดิฉัน อีกด้านหนึ่งไม่ส่งเสียงเป็นเหมือนคนๆ เดียวย่อมสงบนิ่ง แต่ถ้ามีบุคคลสองคนย่อมวิวาทกัน  คนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า ท่านนักบวช ท่านจงชอบความเป็นผู้อยู่คนเดียวเถิด”

        พระนางสีวลีเทวี ได้พยายามติดตามพระมหาชนกไปทุกหนทุกแห่ง แม้จะถูกกุมาริกาซึ่งเป็นเพียงเด็กสาวชาวบ้านตำหนิว่า บรรพชิตไม่ควรเดินทางไปพร้อมกับสตรี เพราะอาจเป็นที่ครหานินทาได้ แต่ด้วยความรักมั่นในพระมหาชนก  พระนางจึงไม่อาจตัดใจพรากจากพระองค์ไปได้

        พระมหาชนกจึงตรัสกับพระเทวีว่า  “แน่ะเทวี  เธอได้ยินแล้วมิใช่หรือ  นางกุมาริกาเป็นเพียงเด็กสาว ยังกล้ามาติเตียนเรา  เพราะฉะนั้น เราทั้งสองจงแยกทางกันเถิด  เธอจงเลือกเอาทางหนึ่ง อาตมาก็จะไปอีกทางหนึ่ง  เธออย่าเรียกเราว่าเป็นพระสวามีของเธอ และเราก็จะไม่เรียกเธอว่าเป็นมเหสีของเราอีก”

        พระนางสีวลีเทวีได้สดับแล้ว ก็ทรงทราบชัดว่า บัดนี้คงไม่อาจติดตามพระสวามีต่อไปได้อีก จึงกราบทูลพร้อมกันแสงว่า “ข้าแต่พระจอมชน พระองค์เป็นกษัตริย์สูงสุด จงถือเอาทางขวา  ส่วนข้าพระองค์เป็นอภัพบุคคล จะถือเอาทางซ้าย”

        ครั้นกราบทูลแล้ว ก็ถวายบังคมพระโพธิสัตว์ แล้วเสด็จไปอีกทางหนึ่ง แต่ด้วยวิสัยของสตรีผู้มีใจยังไม่มั่นคง ไม่สามารถจะกลั้นโศกาดูรไว้ได้ ก็เสด็จกลับมาอีก และได้ติดตามพระโพธิสัตว์เข้าสู่ถูนนคร(ถู นะ นะ คอน)ไป

        พระโพธิสัตว์เที่ยวบิณฑบาต เสด็จถึงหน้าบ้านของช่างศร  ซึ่งกำลังเล็งดูลูกศรด้วยตาข้างหนึ่ง เพื่อดัดลูกศรให้ตรง  จึงตรัสถามช่างศรว่า “ท่านนายช่าง ทำไมท่านจึงหลับตาข้างหนึ่ง เล็งดูลูกศรที่คดด้วยหางตาอีกข้างหนึ่ง ใช้ตาทั้งสองเล็งดูลูกศรไม่ได้หรือ”

        ช่างศรผู้เรืองปัญญาทราบความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ จึงทูลว่า “ข้าแต่สมณะ การจะทำลูกศรให้ตรง ต้องอาศัยการเล็งดูด้วยตาข้างเดียวเท่านั้น เพราะดูสองตาอาจคลาดเคลื่อนได้ เหมือนมีสองคนอาจเกิดการวิวาทกัน คนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า...ข้าแต่สมณะ เมื่อข้าพเจ้าลืมตา ๒ ข้างพร้อมกัน ที่คดย่อมไม่ปรากฏ คือแม้ที่คดก็ปรากฏว่าตรง แม้ที่ตรงก็ปรากฏว่าคด ดวงตา ๒ ข้างต้องทะเลาะกันเอง ฉันใด แม้สมณะมี ๒ รูป ก็ฉันนั้น ย่อมทะเลาะวิวาทกันได้  ส่วนคนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า

        เมื่อช่างศรมองไปเห็นพระเทวีผู้มีใบหน้างดงามดั่งเทพนารี จึงเตือนพระโพธิสัตว์ว่า “ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ ท่านจงชอบใจการอยู่คนเดียวเถิด  ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมจะไม่พาแม้น้องสาวเที่ยวไป  ทำไมท่านจึงพาภรรยา ซึ่งรูปงามดุจเทพอัปสรเที่ยวไปด้วยเล่า ท่านจงเที่ยวไปแต่ลำพังผู้เดียวเถิด” เมื่อกล่าวกับพระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็นั่งทำงานของตนต่อไป 

        พระโพธิสัตว์ครั้นสดับแล้ว แม้จะทรงสงสารเห็นใจพระนางสีวลีเพียงใด แต่ก็ทรงข่มพระหฤทัยหันมาตรัสกับพระนางว่า  “ดูก่อนน้องหญิง เธอได้ยินแล้วมิใช่หรือ ช่างศรเป็นเพียงสามัญชน ยังกล้ามาตำหนิเราได้  นางผู้เจริญ  เราทั้งสองจงแยกทางกันตรงทางสองแพร่งนี้เถิด ต่อไปเธออย่าเรียกเราว่าเป็นพระสวามี และเราก็จะไม่เรียกเธอว่าเป็นมเหสีอีก”

        พระนางสีวลีเทวีนั้น ทรงเหนื่อยล้าอ่อนแรงลงทุกขณะ แม้จะทรงติดตามวิงวอนอย่างไรก็ไม่ได้รับกำลังใจตอบเลยแม้เพียงนิด แถมยังถูกพระโพธิสัตว์ตรัสห้ามปรามอย่างไม่ไยดี ถึงกระนั้นก็ไม่อาจตัดพระทัยจากพระสวามีได้ ยังคงเสด็จติดตามอยู่เหมือนเดิม แม้มหาชนก็ตามเสด็จพระองค์ไปทุกหนทุกแห่งเหมือนกัน

        เมื่อเดินทางเข้าสู่ป่าใหญ่แห่งหนึ่ง มีแนวป่าเขียวชอุ่ม พระโพธิสัตว์ทรงนึกถึงความเพียรที่พระองค์เคยทำในท้องมหาสมุทร ว่าที่ทรงได้ครองราชย์ก็ด้วยความพยายามอย่างไม่ลดละ และการออกบวชในครั้งนี้ ก็จะใจอ่อนด้วยสงสารพระเทวีจนเป็นเหตุให้คลายความเพียรไม่ได้ เมื่อทอดพระเนตรเห็นหญ้ามุงกระต่ายอยู่ข้างทาง จึงทรงก้มลงถอนหญ้ามุงกระต่ายนั้นขึ้นมา

        แล้วตรัสเรียกพระเทวีให้เข้ามาใกล้ๆ  ทรงยื่นคำขาดว่า “น้องหญิงสีวลีผู้เจริญ หญ้ามุงกระต่าย ซึ่งเราถอนขึ้นแล้วนี้ ไม่อาจสืบต่อกันได้อีก ฉันใด  การอยู่ร่วมกันระหว่างเธอกับฉัน ก็ไม่อาจสืบต่อได้อีก ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เธอจงอยู่ผู้เดียว ฉันก็จะอยู่ผู้เดียวเหมือนกัน”

        เมื่อพระเทวีได้ทรงฟังพระโอวาทพร้อมทั้งยื่นคำขาดเช่นนั้นแล้ว ก็ทรงรู้สึกเศร้าพระหฤทัยอย่างหาที่เปรียบมิได้  รู้ว่าบัดนี้พระนางจะไม่มีโอกาสอยู่ร่วมกับพระมหาชนกราชอีกแล้ว  เพราะตลอดเวลาที่ทรงติดตามมา ไม่เคยทรงได้รับความชุ่มชื่นใจตอบแม้เพียงสักครั้งเดียวเลย จึงทรงร่ำไห้จนหัวใจแทบแตกสลาย พระนางถึงกับหมดสติล้มลงที่หนทางใหญ่นั้น 

        พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่า พระนางถึงวิสัญญีภาพไปแล้ว แม้จะทรงสงสารพระนางเพียงใด แต่ก็ทรงตัดใจด้วยดำริว่า ช่วงเวลานี้จะแสดงความสงสารเห็นใจอะไรไม่ได้อีกแล้ว จำต้องตัดอาลัยให้สิ้น เดี๋ยวข้าราชบริพารก็จะช่วยเยียวยาพระนางเอง ดำริฉะนี้แล้วก็ทรงรีบก้าวพระบาทเสด็จเข้าป่าไปโดยไม่เหลียวหลัง

        เมื่อพระนางสีวลีเทวีได้รับการนวดเฟ้นจนรู้สึกตัวขึ้นมา ก็ทรงร้องเรียกหาพระมหาชนกด้วยความอาลัยอาวรณ์ ตรัสถามทางที่พระองค์เสด็จไป 

        เนื่องจากหมู่อำมาตย์ไม่ได้ติดตามพระองค์ไป จึงไม่มีใครทราบ  แม้ว่าพระนางจะรับสั่งให้เที่ยวค้นหาอย่างไร ก็ไม่มีใครพบพระโพธิสัตว์อีก

        เมื่อทรงเห็นว่าหมดหวังแล้ว พระนางก็ทรงร่ำให้อีกเป็นเวลานาน เมื่อคลายเศร้าโศกแล้ว ได้ทรงให้สร้างพระเจดีย์ตรงที่พระโพธิสัตว์ประทับยืน ทรงทำการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ เสร็จแล้วจึงเสด็จกลับกรุงมิถิลา

        ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์ได้เสด็จเข้าป่าหิมพานต์ ตั้งพระทัยมั่นเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา  ภายใน ๗ วันเท่านั้น ก็สามารถทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น แล้วก็ไม่เสด็จกลับพระนครอีกจนตลอดพระชนม์ชีพ

        ฝ่ายพระนางสีวลีเทวีเมื่อเสด็จกลับพระนครแล้ว โปรดให้สร้างพระเจดีย์อีกหลายองค์ คือตรงที่พระโพธิสัตว์ตรัสกับช่างศร ตรงที่ตรัสกับนางกุมาริกา และตรงที่เสวยเนื้อซึ่งสุนัขคาบมาทิ้ง ตรงที่ตรัสกับมิคาชินดาบส และตรัสกับนารทดาบส  ได้ทำการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น
 
        หลังจากนั้น ก็ทรงทำการอภิเษกพระราชโอรสขึ้นเป็นพระราชาองค์ต่อไป ณ พระราชอุทยานอัมพวัน  แล้วพระนางก็ได้ทรงทำตามคำแนะนำของพระมหาชนก ด้วยการออกผนวชเป็นดาบสินี ประทับอยู่ในพระราชอุทยานนั้น ทรงทำกสิณบริกรรมจนได้บรรลุฌานสมาบัติ

        เมื่อละโลกไปแล้ว ก็ได้บังเกิดในพรหมโลก ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ไม่เสื่อมจากฌาน เมื่อละสังขารแล้วก็ได้เข้าถึงพรหมโลกเช่นเดียวกัน

        พระบรมศาสดาครั้นตรัสเล่าอดีตชาติของพระองค์จบลง ได้ทรงประชุมชาดกว่า  “ท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะ มหาพราหมณ์ทิศาปาโมกข์ได้มาเป็นพระมหากัสสปะ นางมณีเมขลาเทพธิดาผู้รักษาสมุทร ได้มาเป็นอุบลวรรณาภิกษุณี  นารทดาบสได้มาเป็นพระสารีบุตร มิคาชินดาบสได้มาเป็นพระมหาโมคคัลลานะ  นางกุมาริกาได้มาเป็นนางเขมาภิกษุณี ช่างศรได้มาเป็นพระอานนท์  ราชบริษัทที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัท  สีวลีเทวีได้มาเป็นพระมารดาของพระราหุล  ฑีฆาวุกุมารได้มาเป็นพระราหุล  พระชนกพระชนนีได้มาเป็นมหาราชศากยสกุล ส่วนพระมหาชนกราช คือเราตถาคต”

        เราจะเห็นว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ท่านมองเห็นโลกและชีวิตอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง จึงไม่มีความเยื่อใยในเบญจกามคุณทั้งหลาย  เพราะท่านมีดวงปัญญาบริสุทธิ์ และเคยผ่านชีวิตในสังสารวัฏมายาวนาน  จึงรู้ว่าพระนิพพานเท่านั้นที่เป็นเป้าหมาย พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด จึงมีความเพียรพยายามอย่างไม่ลดละที่จะไปให้ถึง

        เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายเมื่อตระหนักถึงความเป็นจริงของชีวิตว่า เรามีความตายเป็นที่สุด  จะพ้นความตายไปไม่ได้ และบุญเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของเราในวัฏสงสารอันยาวไกล จึงไม่ควรหลงเพลินจนเกินเหตุ จงมองให้ไกลถึงประโยชน์ในภพชาติเบื้องหน้า แล้วตั้งใจทำความดีทุกอย่างให้สุดชีวิต เพื่อบ่มบารมีของเราให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์
 
        ด้วยการหมั่นให้ทานอย่างเต็มกำลัง รักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง และหาเวลานั่งสมาธิทำภาวนา จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในการทำกุศลทั้งปวงให้ถึงพร้อม ถูกต้องตรงตามปัจฉิมโอวาทของพระบรมศาสดา ชีวิตก็จะเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนานตราบวันเข้าสู่พระนิพพาน
 
โดย : หลวงพ่อธัมมชโย  (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)


http://goo.gl/7DurO


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
      ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 1 การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 202
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 201
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 198
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 197
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 195
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
      ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related