เลิกเหล้าเข้าพรรษา

สุรามีที่มาที่ไปอย่างไร? ทำไมการไม่ดื่มสุราจึงถูกบัญญัติให้เป็นข้อห้ามข้อหนึ่งในศีล ๕ ? จะหลีกเลี่ยงการสังสรรค์ที่เกี่ยวกับการงานอย่างไรดี? และจะทำตัวอย่างไรไม่ให้แปลกแยก? เงินก็ของเรา ดื่มเหล้าแล้วไม่เคยไปหาเรื่องใคร ยังมีความผิดอยู่ไหม? https://dmc.tv/a21713

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 5 ส.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18258 ]
เลิกเหล้าเข้าพรรษา

ข้อคิดรอบตัว
เรื่อง : พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ)

จากรายการข้อคิดรอบตัว ออกอากาศทางช่อง DMC
 


สุรามีที่มาที่ไปอย่างไร ?


     ในคัมภีร์ระบุไว้ว่า คราวหนึ่ง มีพรานป่าคนหนึ่งชื่อสุระ เขาเข้าไปล่าสัตว์ในป่า แล้วไปเห็นโพรงไม้แห่งหนึ่งมีลักษณะเป็นแอ่ง แอ่งนี้มีผลไม้สุกตกลงมามากมาย มีน้ำฝนขังอยู่ในนี้ด้วย และมีแสงอาทิตย์ส่องลงมาถึง แล้วก็มีพวกยีสต์ พวกอะไรต่าง ๆ มาผสมกันได้ส่วนพอดีจนเกิดการหมักตัวกลายเป็นน้ำสีแดง ๆ ซึ่งคงจะคล้ายไวน์อย่างหนึ่ง นายพรานเห็นพวกนกมากินน้ำในแอ่งแล้วมีท่าทางแปลก ๆ เต้นไปเต้นมา ก็เลยเอามาชิมดู รู้สึกอร่อยดีจึงเอามาดื่มอีกจนมึนเมา ตื่นขึ้นมาก็ครึ้มอกครึ้มใจ รู้สึกว่าน้ำนี้เข้าท่าดี ก็มาดื่มอีกบ่อย ๆ จนกระทั่งติด

     ต่อมานายพรานไปชวนดาบสชื่อวรุฬที่อยู่แถวนั้นมาลองชิมด้วย ดาบสก็ติดใจ แล้วสังเกตว่า น้ำนี้เกิดขึ้นอย่างไร ก็รู้ว่า เกิดจากผลไม้อย่างนั้นอย่างนี้มาผสมกัน เลยช่วยกันทดลองผลิตดู โดยเอาน้ำจากแอ่งที่มีพวกยีสต์ผสมอยู่มาเป็นเชื้อ ก็ปรากฏว่าสามารถทำได้เลยเข้าเมืองเอาไปถวายพระราชา พระราชาชิมดูรู้สึกว่าเข้าท่าดี เลยให้ผลิตกันเป็นการใหญ่ชาวเมืองเห็นพระราชาชอบก็เอาบ้าง ปรากฏว่า บ้านเมืองล่มเป็นเมือง ๆ ไปเลย เพราะว่าชาวเมืองเอาแต่กินเหล้าเมายา

     น้ำนี้ต่อมาเรียกกันว่าน้ำสุรา เพราะว่านายพรานที่ชื่อสุระเป็นคนนำมาคนแรก “สุระ” แปลว่า “กล้า” ใครกินน้ำนี้แล้วกล้าทุกอย่าง เช่น กล้าแก้ผ้าแก้ผ่อน กล้าพูด กล้าแสดงกิริยาที่ปกติไม่กล้าทำ เป็นต้น แล้วมีความรู้สึกว่าทั้งโลกนี้ตัวเองใหญ่ที่สุด พอเมาเข้าหน่อยรู้สึกไม่กลัวใครทั้งโลก เพราะขาดสติไปแล้ว

     พอเมืองหนึ่งล่มสลาย นายพรานสุระกับดาบสวรุฬก็ย้ายไปเมืองใหม่ แล้วนำเสนอน้ำสุราไปเรื่อย ๆ จนเมืองล่มไปหลายเมืองสุดท้ายไปถึงเมืองสาวัตถี เจอพระราชาก็เอาสุราไปถวาย พระราชาชิมแล้วรู้สึกเข้าท่า สั่งผลิตเป็นการใหญ่ เผอิญว่าพอหมักได้ที่มันก็พองตัว น้ำสุราล้นออกจากโอ่ง มีแมวแถวนั้นไปกินเข้า แล้วเมานอนกลิ้งอยู่ ทหารเห็นก็มากราบทูลพระราชา ปกติพระราชาเป็นผู้ที่มีความระแวงมาก ก็นึกว่าสองคนนี้มาหลอกเราน้ำที่ทำนี้คงมียาพิษแน่ ๆ เลยให้เอาสองคนนี้ไปฆ่า

      ส่วนแมวตัวนั้นหลับไปได้สักพักก็ฟื้นขึ้นมาวิ่งได้เหมือนเดิม พระราชาก็เลยจะแจกสุราให้ชาวเมือง แต่พระอินทร์มาห้ามเอาไว้กรุงสาวัตถีจึงรอดจากความพินาศไปหวุดหวิดนี้คือที่มาของสุรา

     หลังจากนั้น ถึงแม้นายพรานกับดาบสตายไปแล้ว ก็ยังมีคนที่ติดในรสสุรา และพยายามศึกษากระบวนการผลิต แล้วผลิตต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และพัฒนาไปหลากหลาย มีทั้งเบียร์ เหล้าขาว เหล้าสี อย่างที่เห็นในปัจจุบัน


ทำไมการไม่ดื่มสุราจึงถูกบัญญัติให้เป็นข้อห้ามข้อหนึ่งในศีล ๕ ?


     ความจริงศีล ๕ มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลมีมาคู่โลกพร้อม ๆ กับสามัญสำนึกของมนุษย์ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำอย่าง ศีลข้อที่ ๑ เราไม่ควรไปเบียดเบียนชีวิตคนอื่น ต้องเคารพในสิทธิของคนอื่น จะเป็นคนชาติไหนภาษาไหนก็แล้วแต่ ถ้ามีสำนึกของความเป็นมนุษย์อยู่จะไม่อยากฆ่าชีวิตอื่น

    ศีลข้อที่ ๒ คนเราควรจะเคารพในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของคนอื่น ไม่ขโมยข้าวของของคนอื่น เช่น เวลากำลังกินข้าว เห็นกับข้าวคนอื่นอร่อยดี เอาช้อนไปตักมาเลย ขโมยแบบนี้คนไม่ทำ แต่สัตว์ทำ ใครเคยเลี้ยงหมาจะเห็นว่าหมา ๒ ตัว มีข้าวตัวละจาน เดี๋ยวมันก็แย่งกัน ขนาดของตัวเองยังกินไม่หมดเลย เพราะมันไม่มีสามัญสำนึกเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน มันถือว่ามันมีกำลังก็จะชิงเอา พวกไก่ก็เหมือนกันกินข้าวเปลือกไปก็จิกกันไป

    ศีลข้อที่ ๓ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่เจ้าชู้ สามัญสำนึกของมนุษย์ลูกเขาเมียเขาต้องไม่ละเมิด ไม่ทำลายน้ำใจใคร แต่สัตว์ไม่มีข้อนี้ เมื่อไรต้องการก็แย่งกัน พวกกวางขวิดกันตายก็มี เพื่อแย่งตัวเมีย สุนัขพอถึงคราวเป็นสัดตัวผู้กัดกันแย่งตัวเมีย บางทีก็หนีออกจากบ้านเป็นเดือน ข้าวปลาไม่กิน จะไปตามหาตัวเมียตามอำนาจกิเลส แต่มนุษย์ต้องรู้ว่าอะไรควรไม่ควร ต้องมีความยับยั้งชั่งใจ

     ศีลข้อที่ ๔ สุนัขอยู่ในบ้านมีรั้วกั้น พอมีสุนัขอื่นผ่านเห่าเลย ไม่มีอะไรกันแต่เห่าไว้ก่อนคนเราอยู่ในบ้าน ถ้ามีคนเดินผ่านหน้าบ้านเราด่าเลยไหม ไม่ สามัญสำนึกมนุษย์คือต้องไม่เบียดเบียนกันด้วยคำพูด

    แต่ทั้งหมดทุกข้อจะคุมอยู่ได้ด้วยสติแล้วสตินี้แปลก อดข้าวเป็นวันสติก็ยังดี อดหลับอดนอนสติก็ยังดี แต่ถึงคราวสติจะขาดก็ขาดง่าย ๆ แค่น้ำเมาเข้าปากไม่กี่แก้วสติก็อาจจะหลุดลอยไปแล้ว จากคนที่เคยสุภาพเรียบร้อยก็แสดงกิริยาที่น่าละอายได้ อะไรที่คนทั่วไปไม่กล้าทำ คนเมาทำได้หมด ปกติเคยสุภาพ เมาปั๊บชกต่อยกัน เอาขวดเหล้าตีหัวกัน แทงกันศีลทุกข้อขาดหมด เพราะฉะนั้นจึงต้องมี ศีลข้อที่ ๕ คือ ไม่ดื่มสุรายาเสพติดทั้งหลายที่จะเป็นเครื่องบั่นทอนสติของเรา

    ศีล ๕ เกิดมาคู่โลก แล้วศีลข้อที่ ๕ ก็เป็นข้อที่สำคัญมาก เพราะถ้าศีลข้อนี้ขาด อีก ๔ ข้อพร้อมจะขาดทุกเมื่อ เนื่องจากขาดสติไปแล้ว
 
 


จะหลีกเลี่ยงการสังสรรค์ที่เกี่ยวกับการงานอย่างไรดี? และจะทำตัวอย่างไรไม่ให้แปลกแยก ?


     อาตมาเคยไปเมืองโคฟุ ประเทศญี่ปุ่นขากลับนั่งรถไฟกลับมาโตเกียว นั่งติดกับคนญี่ปุ่นคนหนึ่ง เขาชวนคุยก็เลยคุยกัน เขาให้เดาว่าเขาอายุเท่าไร ก็เลยบอกว่าประมาณ ๔๐ เขายิ้มแล้วบอกว่าเขา ๕๕ แล้ว ก็เลยถามว่าเขาทำอย่างไร เขาบอกว่าเขาไม่ดื่มเหล้า แล้วเข้านอนหัวค่ำทุกวันประมาณ ๔ ทุ่ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารถูกสุขลักษณะ ก็เลยได้ผลอย่างนี้

    อาตมาแปลกใจเพราะรู้ว่า คนญี่ปุ่นชอบดื่มเหล้ามาก เลิกงานจะต้องไปดื่มกัน ทั้งหัวหน้าแผนกทั้งลูกน้องเฮเข้าไปในร้านเหล้าพอเข้าร้านเหล้ายังไม่ทันดื่มเลยเริ่มเมาแล้วเพราะว่าอยู่ในที่ทำงานต้องมีมารยาทสังคมพอเข้าร้านเหล้าถอดหน้ากากได้ ลูกน้องกอดคอเจ้านายได้ แล้วก็ไม่ใช่ไปร้านเดียวนะ เสร็จร้านแรกแล้วไปต่อร้านที่สอง สามสี่ทุ่มค่อยหิ้วกระเป๋าโซซัดโซเซขึ้นรถไฟกลับบ้าน

    อาตมาเลยถามเขาว่า เห็นคนญี่ปุ่นต้องสังคมกับลูกค้าและคนในที่ทำงานด้วยการไปดื่มกัน เขาไม่ดื่มเสียงานไหม เขาตอบว่าไม่เลยครับ ลำบากตอนต้นนิดเดียว ตอนที่คนยังไม่รู้พอรู้ว่าไม่ดื่ม ครั้งแรกเขาก็แปลกใจ แต่พอคนในที่ทำงานรู้ว่าคนนี้ไม่ดื่ม เขาก็เลิกชวนลูกค้าก็เหมือนกัน แต่ว่าสิ่งใดที่เป็นการบริการลูกค้า เขาทำแบบสุดยอดไปเลย สุดท้ายพิสูจน์ว่า สิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุดไม่ใช่การดื่มร่วมกัน แต่คือการบริการที่ดีที่สุดต่างหากกลายเป็นว่าเขาคือคนที่มีผลงานดี และได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้บริหารบริษัท เจริญก้าวหน้ากว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกันเสียอีก สุขภาพก็ดี การงานก็ดี ทุกคนยอมรับ ยากแค่ตอนต้นแต่ถ้ากล้ายืนหยัดอยู่กับความดี ทำได้ไม่มีปัญหา


เงินก็ของเรา ดื่มเหล้าแล้วไม่เคยไปหาเรื่องใคร ยังมีความผิดอยู่ไหม ?


    ยังมีอยู่ บางคนคิดว่าเงินของเรา ปากก็ของเรา ท้องก็ของเรา ดื่มแล้วไม่ได้ไปทำให้ใครเดือดร้อน จะผิดอย่างไร ผิดสิ ผิดกฎแห่งกรรม

   ลองมาดูในรายละเอียดแล้วจะพบว่า ถ้าเราดื่มเหล้าไปแก้วหนึ่ง แต่ยังไม่เมาแล้วไปขับรถ พอเป่าแอลกอฮอล์ปั๊บ ผลออกมาในเครื่องตรวจพบว่ามีแอลกอฮอล์ แต่ยังคุยรู้เรื่องตำรวจจับไหม จับ ทำไมล่ะ เพราะว่าการแพทย์พิสูจน์ออกมาแล้วว่า ขณะที่ดื่มเหล้าเข้าไป แม้ยังไม่เมา ยังรู้สึกปกติอยู่ แต่ความจริงสติหย่อนไปแล้ว คนทั่วไปถ้าขับรถแล้วมีอะไรวิ่งตัดหน้าพอตาเห็นปั๊บ สมองสั่งการจนกระทั่งเหยียบเบรกใช้เวลาไม่เกิน ๐.๗ วินาที แต่พอดื่มเหล้าเข้าไป ทั้ง ๆ ที่รู้สึกว่าไม่ได้เมา แต่การตัดสินใจช้าลง โอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น เพราะฉะนั้นจึงห้ามดื่มเหล้าเมื่อขับรถ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

     สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า ขณะที่เราคิดว่า เราไม่เป็นอะไรเลย ยังปกติอยู่ แต่ความจริงสติและความยับยั้งชั่งใจของเราลดไปแล้ว การควบคุมกายวาจาใจของเราหย่อนไปแล้ว มีความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายยิ่งกว่าไม่ดื่มมาก


ถ้าสมาชิกในครอบครัวติดสุรา เราต้องทำตัวอย่างไร ?


   ประการที่หนึ่ง อย่าไปดื่มด้วย ประการที่สอง ค่อย ๆ หาวิธีชวนให้เขาเลิก ถ้ารักกันจริงต้องชวนให้เลิก เพราะดื่มแล้วมีวิบากกรรมไม่คุ้ม เลิกดีกว่า ดีทั้งในชาตินี้ คือ สุขภาพดีสติดี การงานดี ละโลกไปแล้วไม่ต้องตกไปในอบายด้วย

    มหานรกขุมที่ ๕ หรือมหาโรรุวนรก เป็นนรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องไห้ครวญคราง สัตว์นรกตายแล้วฟื้น ฟื้นแล้วตาย ด้วยความทุกข์ทรมานอยู่เช่นนี้ ยาวนานจนนับครั้งไม่ถ้วน

    สมัยที่เป็นมนุษย์ ไม่ว่าผู้ดื่มจะดื่มเพื่ออะไร เพื่อความสมหวัง ความผิดหวัง ความสำเร็จ จะดื่มกับใคร ดื่มแบบไหน อุปกรณ์การดื่มเป็นอย่างไร ทุกอย่างล้วนถูกบันทึกไว้ด้วยใจของผู้ดื่มเอง แล้วสักวันหนึ่งมันจะย้อนกลับมาหาผู้ที่ดื่มมันอีกครั้ง ด้วยรูปแบบที่โหดเหี้ยมอำมหิตอย่างยิ่ง
 


ผู้ที่อยากเลิกดื่มเหล้าต้องทำอย่างไรบ้าง?


    ขอให้เราตระหนักในโทษภัยของสุราอย่างชัดเจนว่า ทำให้เสียทั้งทรัพย์ทั้งเพื่อนจะเหลือก็แค่เพื่อนขี้เมาที่จะพาไปเสีย ๆ หาย ๆ ให้รู้ไว้ว่า เพื่อนคนไหนชวนเราไปดื่ม แสดงว่าเพื่อนคนนั้นชวนเราไปเสื่อม สุราเป็นหนึ่งในอบายมุข “อบายมุข” แปลว่า “ทางแห่งความเสื่อม” ใครพาเราไปตกเหว คนนั้นเป็นเพื่อนที่ดีไหมเขาถึงบอกว่าให้เหล้าเท่ากับแช่ง ใครเอาเหล้ามาให้แสดงว่าคนนี้คิดไม่ดีกับเราแล้ว อยากให้เราเสื่อม คนไหนชวนเราไปดื่มเหล้าแสดงว่าชวนเราไปเสื่อม ถ้าเราชวนใครไปดื่มเหล้าแสดงว่า จริง ๆ แล้วเราไม่ได้หวังดีกับเขา จะพาเขาไปเสื่อมเสียทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งเกียรติยศชื่อเสียง เสียเครดิต เสียความน่าเชื่อถือ ให้เราตระหนักถึงโทษอันนี้ชัด ๆ ก่อน แล้วจะมีอารมณ์อยากเลิกจริง ๆ

   เสร็จแล้วสร้างแรงบันดาลใจเพิ่มขึ้น เช่นเข้าพรรษานี้จะงดเหล้า ถ้าจะเลิกตลอดชีวิตยังไม่มั่นใจขอสัก ๓ เดือนก่อน บางคนคิดจะเลิกมาเป็นปี ๆ ยังไม่เลิกสักที พรรษานี้ไปกราบพระที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาที่บ้านก็ได้ หน้าหิ้งพระก็ได้พระประธานในโบสถ์ก็ได้ หรือจะไปกราบพระที่ตัวเองเคารพนับถือ ว่าผมตั้งใจจะเลิกเหล้าเข้าพรรษานี้ครับ พอมีสัญญารู้สึกจะเพิ่มความหนักแน่น แล้วให้ตั้งใจจริง ๆ โดยในพรรษานอกจากเลิกเหล้า ก็ให้ตั้งใจสวดมนต์นั่งสมาธิทุกคืนด้วย ตั้งใจทำบุญใส่บาตรก็ได้ หรืออาจจะหยอดกระปุกทุกวัน วันละ ๑ บาท ๕ บาท หรือ ๑๐ บาทก็แล้วแต่ หยอดไปเถิด แล้วถึงวันพระหรือวันอาทิตย์ก็ไปทำบุญที่วัด ถ้าอย่างนี้บุญที่เราทำ ความดีที่เราทำ จะหนุนให้ความตั้งใจเลิกเหล้าหนักแน่นขึ้น ต้องตอกย้ำในการทำความดีทุกรูปแบบ ทั้งทาน ศีลภาวนาให้ครบ จะเสริมความตั้งใจของเรา

   แล้วต้องหากุศโลบาย เช่น ถ้ามีผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมายื่นแก้วเหล้าให้ เราจะทำอย่างไร ต้องมีการวางแผนก่อน ด้วยการไปปวารณากราบเรียนให้ท่านทราบเสียก่อนว่าเรารักษาศีล ถ้าไม่บอกก่อน เวลาท่านยื่นแก้วมาแล้วเราปฏิเสธ ท่านจะเสียหน้า รู้สึกว่าเราไม่ให้เกียรติ แต่พอเราบอกไว้ก่อนว่า พรรษานี้รับปากหลวงพ่อที่วัดเอาไว้ว่าจะรักษาศีล ๕ ก็จะตั้งใจทำให้ดีที่สุด เพื่อที่จะทุ่มเททำงานที่หัวหน้ามอบหมายให้ดีที่สุด อย่างนี้ไม่มีปัญหาให้เราใช้สติและปัญญา เราจะทำได้สำเร็จ ขอให้ตระหนักจริง ๆ เถิดว่า เหล้าไม่ดีเลย เราจะเลิก แล้วต้องเลิกจริง ๆ และใช้สติปัญญาวางแผนทุกอย่างให้ดี ยืนหยัดมั่นคง แล้วเราจะพบว่า เราสามารถทำได้สำเร็จดังที่ตั้งใจไว้

บทความอื่นๆ
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related