มิตรแท้ มิตรเทียม

เพื่อนหรือมิตรมีกี่ประเภท มีลักษณะอย่างไรบ้าง ? แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นมิตรแท้มิตรเทียม ? วิธีรักษามิตรแท้ให้อยู่กับเรานาน ๆ ต้องทำอย่างไร ? https://dmc.tv/a22025

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข้อคิดรอบตัว
[ 17 พ.ย. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18262 ]
มิตรแท้ มิตรเทียม

เรื่อง : พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ)
จากรายการข้อคิดรอบตัว ออกอากาศทางช่อง DMC
 

เพื่อนหรือมิตรมีกี่ประเภท มีลักษณะอย่างไรบ้าง ?

     เรื่องของมิตรหรือเพื่อนเป็นเรื่องที่สำคัญมากกับชีวิตของคนเรา จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จมิตรมีส่วนมาก เพราะว่าเรายังไม่หมดกิเลสในใจของเรามีทั้งเชื้อดีและไม่ค่อยดี ถ้าเราคบมิตรที่ดีก็เหมือนเขามาช่วยรดน้ำพรวนดินให้พลังใจในตัวเราเติบโตงอกงามขึ้น นำเราไปสู่ความสุขความสำเร็จ ในทางกลับกันถ้าเราไปคบกับมิตรเทียมหรือเพื่อนที่ไม่ดี ผลก็คือเขาจะมาช่วยรดน้ำพรวนดินให้กิเลสที่ยังเหลือในใจเราเฟื่องฟูงอกงามขึ้น แล้วเราก็จะพบกับความเสื่อม ความทุกข์ ทั้งชาตินี้และชาติหน้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มงคลชีวิตข้อแรกก็คือ ไม่คบคนพาลหรือมิตรเทียมข้อที่สองคือ คบบัณฑิต คบกับมิตรแท้

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นมิตรแท้มิตรเทียม ?

     พระองค์ทรงแจงไว้อย่างละเอียดเป็นพิเศษว่า มิตรเทียมมีอยู่ ๔ ประเภท มิตรแท้ก็มี ๔ ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร พระองค์ก็ทรงแจงไว้ละเอียดลงไปอีก โดยเอาคุณสมบัติเด่น ๆ ออกมาให้ดูว่ามีอย่างไรบ้างมิตรเทียมมีอยู่ ๔ ประเภท ประเภทแรก คือคนปอกลอก ประเภทที่ ๒ คือ คนดีแต่พูดประเภทที่ ๓ คือ คนหัวประจบ และประเภทที่ ๔ คือ คนชวนฉิบหาย ท่านทรงแบ่งไว้ ๔ ข้อ ถ้าเราอยากรู้ว่าเพื่อนเราเป็นมิตรประเภทไหนก็ดูว่าใครเข้าข่ายข้อไหน เราก็จะรู้ทันที

คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ

     ๑. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คนประเภทนี้เป็นคนเห็นแก่ตัว คิดเอาแต่ได้
 
     ๒. ยอมเสียน้อย หวังจะเอามาก พวกนี้ปกติเห็นแก่ตัว แต่พอเห็นช่องว่าจะได้ก็ทำเป็นสปอร์ต แหย่เชื้อไว้หน่อยเพราะหวังว่าจะเอาประโยชน์ใหญ่ ปกติไม่ยอมให้อะไรใคร ขี้เหนียว เห็นแก่ตัว แต่เมื่อไรอยากได้ประโยชน์ถึงจะยอมให้
 
     ๓. ตัวมีภัยจึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน อยู่ดี ๆ ไม่ค่อยช่วยใครเพราะว่าเห็นแก่ตัว เอาแต่ตัวเองอย่างเดียว แต่เมื่อไรจะมีภัยมาถึงตัว หวังจะให้เขามาช่วยตัวเอง ก็จะทำเป็นกุลีกุจอไปเอาอกเอาใจเขา ไปช่วยเขา
 
     ๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์เพื่อนคนนี้รวย เพื่อนคนนี้พ่อเขาใหญ่ มีเส้นมีสาย มีทางที่จะสนับสนุนให้ตนก้าวหน้า ก็ไปคบกับเขา เพราะเห็นแก่ประโยชน์ ไม่ได้มีความรักใคร่จริงใจ

     ทั้ง ๔ อย่างนี้ คือ ลักษณะของคนปอกลอก แล้วเวลาตรวจสอบอย่าไปมัวแต่ตรวจสอบคนอื่น ต้องตรวจสอบตัวเราด้วยว่าเราเข้าข่ายตรงไหนบ้างหรือเปล่า คนส่วนใหญ่จะมีบางข้อมากบางข้อน้อยผสมกัน แม้แต่ตัวเราก็เช่นเดียวกัน ให้ดูว่าเรามีข้อไหนบ้างดีกรีแก่อ่อนอย่างไรจะได้เอามาปรับปรุงตัวเราให้สมบูรณ์ขึ้น

คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ

     ๑. ดีแต่ยกเรื่องที่ผ่านไปแล้วมาปราศรัย ผ่านไปแล้ว ๓ เดือน ๖ เดือน บางที ๑๐ ปี เอามาพูดอยู่นั่น แล้วก็มักจะคุยแบบบิดไปนิด ๆ เช่น เคยช่วยใครนิดหน่อยสัก ๕ เปอร์เซ็นต์เอามาพูดเสียอย่างกับช่วย ๙๙ เปอร์เซ็นต์เลยคุยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยกแต่เรื่องในอดีตมาคุย

     ๒. ดีแต่อ้างเรื่องที่ยังไม่มีมาปราศรัย เรื่องยังมาไม่ถึง เอามาคุยว่าต่อไปจะอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น ถ้าเรารวยเราจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้เธอคือ คุยเรื่องข้างหน้า เรื่องอนาคตที่เลื่อนลอย

     ๓. สงเคราะห์ในสิ่งที่หาประโยชน์ไม่ได้ จะให้อะไรใครก็เอาของที่ไม่มีประโยชน์มาให้ ทำเหมือนใจกว้าง เอามาแบ่งให้ คนรับไปก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรเหมือนกัน ๔. เมื่อเพื่อนมีกิจอ้างแต่เหตุขัดข้อง ถึงคราวเพื่อนจำเป็นจริง ๆต้องการความช่วยเหลือ ก็จะเผอิญท้องไม่ดีเผอิญพ่อป่วย เผอิญติดงานนั้นงานนี้ เผอิญมีเหตุจำเป็นที่ช่วยไม่ได้ อ้างสารพัดอย่างสุดท้ายคือไม่ช่วย

คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ

     ๑. จะทำชั่วก็คล้อยตาม เราจะไปทำอะไรไม่ดีก็ไม่ขัดคอเลย ยอตะบัน ๒. จะทำดีก็คล้อยตามเราจะทำดีก็เออออห่อหมก ไม่ขัดคอเลย ประจบอย่างเดียว ๓. ต่อหน้าสรรเสริญ ๔. ลับหลังนินทา

     คนหัวประจบต่อหน้าดีทุกอย่าง ไม่มีขัดคอเลย เรียกว่าผสมกลมกลืนทุกอย่าง แต่พอลับหลังไปพูดอย่างนั้นอย่างนี้ นี้แหละเพื่อนที่มีลักษณะหัวประจบ เอาเป็นหลักเป็นฐานอะไรไม่ได้ และจะทำให้เราพลาดไปในทางที่เสียหายได้

คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ

     ๑. คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา เพื่อนพวกนี้เฮไหนเฮนั่น ๒. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน จะไปบาร์ ผับ คาราโอเกะ ไปด้วย ๓. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการละเล่น จะไปคอนเสิร์ต จะไปเล่นเกมอะไรอย่างไรไปด้วย เรียกว่าถึงไหนถึงกัน ๔. คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน จะไปพนันบอล พนันม้า พนันอะไรก็ตาม ไปด้วยตลอดพวกนี้พูดง่าย ๆ ว่าชวนไปยุ่งกับอบายมุข ถ้าเพื่อนเราคนไหนมีลักษณะชวนไปยุ่งกับพวกอบายมุข ทั้งดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่นเป็นนิจ แล้วก็เล่นการพนัน ให้รู้ไว้ว่านั้นคือ เพื่อนชวนฉิบหาย

     ทั้งหมดนี้เป็นมิตรเทียม ๔ ประเภท ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้

     มิตรแท้ก็มี ๔ ประเภท ประเภทแรก คือมิตรมีอุปการะ ประเภทที่ ๒ คือ มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข ประเภทที่ ๓ คือ มิตรแนะประโยชน์ประเภทที่ ๔ คือ มิตรมีน้ำใจ ทั้ง ๔ ประเภทนี้คือเพื่อนแท้ที่ใคร ๆ ก็ต้องการ ถ้ามีแล้วให้รักษาหวงแหนไว้ให้ดี คนเราถ้าไม่มีพรรคไม่มีพวก ความสะดวกก็ไม่มี มีพรรคมีพวกโดยเฉพาะมิตรแท้ ความสะดวกก็จะเกิด
 
 


มิตรมีอุปการะ มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ

     ๑. ป้องกันเพื่อนผู้มีความประมาท ถ้าเห็นเพื่อนประมาทจะไปทำเรื่องไม่ดีก็จะช่วยรักษาเพื่อนไว้ ไม่ยอมให้ไปทำเรื่องไม่ดี พยายามทุกวิถีทางที่จะรักษาเพื่อนเอาไว้ให้ได้ เช่น ทำอย่างไรจะชวนเพื่อนไปวัดได้ ทำอย่างไรจะชวนเพื่อนทำความดีได้
 
     ๒. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาทรัพย์สินของเพื่อน ถ้าเพื่อนประมาทแล้วจะเกิดความเสียหาย ก็จะช่วยทั้งความคิด ช่วยทุกอย่าง เพื่อรักษาทรัพย์สินของเพื่อนเอาไว้ให้ได้
 
     ๓. เมื่อเพื่อนมีภัยเป็นที่พึ่งได้ เวลาเพื่อนลำบากเดือดร้อนมา คนที่ไม่ใช่เพื่อนแท้ ถ้าตัวเองมีความเสี่ยงนิดเดียวก็ไม่เอา แต่มิตรมีอุปการะถึงแม้จะเสี่ยงบ้าง ก็เป็นที่พึ่งให้อย่างนี้เป็นต้น
 
     ๔. เมื่อมีกิจธุระจำเป็นช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก เพื่อนออกปากอย่างไรให้มากกว่านั้น เช่น เขาขอยืมเงินแค่หนึ่งร้อย เพราะว่าเขาเกรงใจ ถ้าเราพอไหวให้สองร้อยเลย ให้เขาพอจะนำไปแก้ไขสถานการณ์ได้ เขาเอ่ยเท่าไรให้เกินกว่าที่เอ่ยด้วยซ้ำไป

มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข มีลักษณะ ๔ อย่างคือ
 
     ๑. บอกความลับให้เพื่อน ตัวเองมีความลับอย่างไรก็เปิดเผยความลับกับเพื่อนในเรื่องที่จะมีผลเกี่ยวข้องถึงกันแม้เป็นเรื่องส่วนตัว ถ้าบอกให้รู้จะได้ช่วยกันแก้ไข แม้บางอย่างอาจจะกระทบเครดิตของเราในสายตาเพื่อน แต่มองประโยชน์ของเพื่อนว่าเขาควรจะรู้เรื่องนี้ก็จะบอกความลับให้
 
     ๒. ปิดความลับของเพื่อน ถึงคราวเพื่อนมาบอกความลับให้เราทราบ ก็ไม่เปิดเผยถึงบุคคลที่สาม เป็นแค่คู่คิด เขามาปรึกษาหารือเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องส่วนรวมพอทราบแล้วไม่เอาไปขยายต่อ
 
     ๓. มีอันตรายไม่ละทิ้ง ถึงคราวลำบากยากแค้นก็ต้องหอบหิ้วกันไป สังเกตทหารออกรบถึงคราวต้องสู้ข้าศึกหนักอย่างไรก็ตาม หากเพื่อนลำบากเดือดร้อนต้องหาทุกวิถีทางไปช่วยให้ได้ บางทีเป็นศพไปแล้วยังต้องไปเอามาให้ได้ เพราะว่าสิ่งที่ทำไม่ได้หมายถึงคนคนเดียว แต่หมายถึงขวัญกำลังใจทั้งกองทัพ ความรู้สึกอุ่นใจมันเกิดขึ้นมาว่ามีภัยอันตรายก็ไม่ทิ้งกัน
 
     ๔. แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้

ถ้าเรามีมิตรหนึ่งคนมีลักษณะเป็นมิตรแท้ แต่บางทีก็เหมือนมิตรเทียมเราควรคบหามิตรประเภทนี้อย่างไร ?

     ในชีวิตจริงคนที่สมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์หายาก มักมีลักษณะผสม เราต้องมอง ๒ ทางคือมองตัวเราด้วย แล้วแยกแยะเขาให้ออก เขามีความจริงใจก็ดีแล้ว แต่การชวนไปยุ่งกับอบายมุขไม่ดี แบบนี้ต้องแยกให้ออก แล้วเราต้องทำหน้าที่มิตรแท้ด้วย ถ้าเขาจะไปทางอบายมุขเราต้องยับยั้ง ต้องกล้าที่จะพูดให้เขาห่างจากทางไม่ดีและชวนเขามาในทางที่ดีไม่ใช่คิดว่าชวนแล้วไม่ทำ ช่วยไม่ได้ ต้องเอาใจจดจ่อแล้วหาวิธีการว่าจะชวนอย่างไรจนกระทั่งสำเร็จ แต่ถ้าไม่ไหวเราก็ต้องรักษาระยะไว้ให้ดี

ถ้าหากการรักษาระยะทำได้ยากเพราะเป็นคนใกล้ตัว จะต้องทำอย่างไรบ้าง ?

     คำถามนี้ก็เป็นคำถามในชีวิตจริงอีกเหมือนกัน เพราะเราจะเจอคนอย่างนี้อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เราต้องแยกแยะให้ออกแล้วก็รักษาระยะให้ดี ขณะเดียวกันเราก็ต้องใช้สติและปัญญาของเราทำหน้าที่มิตรแท้ด้วย ดูว่า    มีทางใดที่สามารถช่วยแก้ไขให้คนรอบตัวเรากลายเป็นคนดีขึ้นมาได้ ถ้าแต่ละคนพยายามทำตัวเองให้เป็นมิตรแท้กับทุกคน จะเป็นวงจรบวกที่เสริมกัน เพราะถ้าคนแต่ละคนพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น แล้วคอยแนะคนอื่นในทางที่ดี ประเทศไทยจะสว่างไสว โลกทั้งโลกก็จะสว่างไสว แล้วสิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นตามมา

ถ้าหากเรายังเป็นมิตรแท้หรือแนะประโยชน์ให้เขาได้ไม่ดี เราจะต้องทำอย่างไร มีตัวช่วยอย่างไรบ้าง ?

     เราต้องประเมินตัวเองให้ออก ถ้าเขาเป็นมิตรเทียมที่มีข้อบกพร่องระดับเฮฟวีเวท เราอยากจะเป็นมิตรแท้ให้เขา แต่น้ำหนักความดีในตัวเราเป็นระดับไลต์ฟลายเวท คือ เหมือนมดกับยักษ์ สู้กันยังไม่ได้ ขืนไปเป็นกัลยาณมิตรเดี๋ยวเขาจะพาเราเสียแน่ ๆ อย่างนี้ก็ต้องมีตัวช่วย ต้องพาไปหากัลยาณมิตร เช่น ครูบาอาจารย์ ผู้หลักผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ ที่มีภูมิรู้ภูมิธรรมสามารถแนะนำเขาให้ไปในทางที่ดีได้แล้วเราคอยช่วยเสริม อย่างนี้พอไหว
 
 


วิธีรักษามิตรแท้ให้อยู่กับเรานาน ๆ ต้องทำอย่างไร ?

     วิธีการที่ดีที่สุด คือ ทำตัวเราให้เป็นมิตรแท้และต้องตระหนักในคุณค่าของเขาอย่างอเนกอนันต์เลย เพราะคนเรามีโอกาสพลาด เรายังไม่หมดกิเลส ขนาดนิยตโพธิสัตว์ยังมีโอกาสพลาดได้ (นิยตโพธิสัตว์ แปลว่า   พระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีมายาวนานจนบุญเต็มเปี่ยม และได้รับพุทธพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งว่าจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตอย่างแน่นอน เมื่อเป็นนิยตโพธิสัตว์แล้วจะไม่ตกอยู่ในฐานะแห่งความอาภัพ ๑๘ ประการ เช่น ใบ้บ้า ปัญญาอ่อน ฯลฯ ไม่ตกมหานรกขุมลึก ๆ อย่างอเวจีมหานรก แต่ขุมตื้น ๆ ยังตกได้) ดังนั้นคนธรรมดาสามัญทั่วไปไม่ต้องพูดถึง

     ฉะนั้นการที่เรามีมิตรแท้จึงมีส่วนช่วยเรา   อย่างมาก เช่น เราเดินลุยน้ำในลำธารโดยไม่รู้ว่ามีหลุมมีบ่อ หากเราพลาดท่าเสียทีเหยียบหินสะดุดล้มเข้า อาจจะถูกน้ำที่ไหลเชี่ยวพาไป แต่ถ้ามีมิตรแท้ แม้เราพลาดเขาจะช่วยดึงประคองไว้ เราก็รอด เพราะฉะนั้นมิตรแท้จึงมีคุณค่าอย่างมหาศาล เราต้องตระหนักตรงนี้

     ขณะเดียวกันวิธีที่จะรักษามิตรแท้ดีที่สุดก็คือ เราต้องเป็นมิตรแท้ด้วย ต้องแสวงหามิตรแท้รอบตัวแล้วฝึกตัวเองให้เป็นมิตรแท้ดูอย่างเหล็กกับเหล็กอายตนะจะดึงดูดกัน ถ้า เราเป็นมิตรแท้ เราก็จะดึงดูดคนดี ๆ เข้ามาหาตัวเรา แล้วเสริมส่งซึ่งกันและกัน เป็นเพื่อนแท้บนเส้นทางในวัฏสงสารอันยาวนาน





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำไมจีวรพระต้องเป็นสีเหลือง
      ขอไม่นับถือพระสงฆ์
      ข้อคิดธรรมะของพระสุธรรมญาณวิเทศ (สุธรรม สุธมฺโม) จากหนังสือ "หน้าสุดท้าย"
      I can’t respect monks, can I?
      กราบไหว้ทำไม งมงาย !
      Why do people have to pay homage? Ignorant!
      โซเดียม อันตรายใกล้ตัว
      บวชให้สุก
      พลังหญิง
      ตักบาตรใส่บุญ(ตอนที่2)
      ตักบาตรใส่บุญ (ตอนที่1)
      ปัญหามรดก
      ยิ่งใหญ่ในรายละเอียด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related