ความฉลาดของมโหสถ ทศชาติชาดก หน้า 50
หน้าที่ 50 / 59

สรุปเนื้อหา

เมื่ออายุ ๗ ขวบ มโหสถได้รับการทดสอบจากพระเจ้าวิเทหราช โดยการให้เขาช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับแก้วมณี ภายในมีรูเป็นเกลียว มโหสถใช้ความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับธรรมชาติ โดยใช้น้ำผึ้งและด้ายขนสัตว์ ทำให้ชาวบ้านประสบความสำเร็จในการร้อยด้ายใหม่ พระราชาชื่นชมในปัญญาของเขาและมอบความสำคัญให้กับการเรียนรู้และการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ผู้มีปัญญาสามารถเติบโตได้ทั้งด้านตัวเองและช่วยให้ผู้อื่นดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ปัญญาและความคิดสร้างสรรค์
-การเรียนรู้และการศึกษา
-บทบาทของมโหสถในการพัฒนาชุมชน
-การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการแก้ไขปัญหา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คิดอะไรไม่ออก ต้องบอกมโหสถ !! เมื่ออายุเพียง ๗ ขวบ มโหสถมีชื่อเสียงร่ำลือไปไกลว่ามีสติปัญญาและไหวพริบเป็นเลิศ พระเจ้าวิเทหราชรับสั่งให้ทดสอบปัญญาของมโหสถด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา แต่มโหสถ แก้ไข ปัญหาได้ทุกครั้ง จนในที่สุดพระราชาทรงรับมโหสถเข้าไปอยู่ในราชสำนักได้สำเร็จ ครั้งหนึ่งทรงทดสอบปัญญาของมโหสถโดยให้ราชบุรุษนำแก้วมณีที่ภายในมีรูเป็นเกลียว ถึง 4 เกลียว เดิมใน มีด้ายร้อยอยู่ ต่อมาด้วยเปื่อยใช้การไม่ได้ พระราชาจึงรับสั่งให้ ชาวปาจีนยวมัชฉคามร้อยด้ายใหม่ ถ้าหากว่าไม่สําเร็จจะต้องโดนปรับสินไหม 2,000 กหาปณะ ชาวบ้านต่างทดลองใช้ด้ายสอดเข้าไปในรูของแก้วมณี แต่ทำไม่สำเร็จ เมื่อคิดอะไรไม่ออก ก็พากันไปบอกให้มโหสถช่วย มโหสถเอาน้ำผึ้งหยอดเข้าไปในรูของดวงแก้ว เอาด้ายขนสัตว์ สีทองที่ได้รับพระราชทานมาฟันให้เป็นเกลียวเสมอกัน ชุบปลายด้ายนั้นด้วยน้ำผึ้ง แล้วแหย่ เข้าไปในรูของดวงแก้วเล็กน้อย จากนั้น น่าไปวางไว้บริเวณรังมดที่ชอบกินน้ำหวาน พวกมอชวนกันตั้งขบวน คืบคลานเข้าไปในรูแก้วมณี พอเจอด้ายเก่าซึ่งขวางทางเดินก็กัดกินเรื่อยไปจน ตลอดทาง เมื่อกินด้ายเก่าซึ่งชุ่มไปด้วยน้ำผึ้งหมดแล้ว ปลายด้ายเส้นใหม่ก็ค่อย ๆ ถูกดึงเข้าไปแทน จนกระทั่งไปโผล่อีกทางหนึ่ง มโหสถไม่รอช้ารีบดึงปลายด้ายออก มาแล้วขมวดปมไว้ทั้ง ๒ ด้าน จากนั้นจึงมอบดวงแก้วให้กับตัวแทนชาวบ้านให้นำไป ถวายพระราชา เห็นไหมว่ามโหสถฉลาดมาก ๆ ถ้าน้อง ๆ อยากฉลาด ต้องตั้งใจศึกษา เล่าเรียนเพิ่มพูนสติปัญญา และนั่งสมาธิเยอะ ๆ ก็จะทำให้ฉลาดมากขึ้น ผู้มีปัญญา นอกจากจะทำให้ตนเองมีความเจริญได้แล้ว ยังทำประโยชน์ให้กับคนอื่นได้ด้วย 4 ห ac # www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More