การฝึกสมาธิและการตั้งจิต ภาวนาธรรม หน้า 75
หน้าที่ 75 / 83

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการฝึกสมาธิ โดยเริ่มจากการตั้งใจตรงที่ศูนย์กลางกาย โดยไม่ต้องสนใจการหายใจ เข้าออก และให้อยู่ที่ศูนย์กลางกายในทุกอิริยาบถ นอกจากนี้ยังย้ำให้รักษาจิตใจและบริกรรมภาวนา พร้อมกับการนึกถึงนิมิตเป็นดวงแก้วให้ตลอด การตั้งใจให้จิตสงบเป็นสิ่งสำคัญและนิมิตสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ เมื่อจิตสงบ การฝึกนี้จะช่วยให้เกิดความสุขในชีวิตประจำวัน และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อนหรือรู้จักตัวเองมากขึ้น แม้ไม่ต้องการถึงนิพพาน แต่ยังสามารถนำไปสู่ความสงบได้ในระดับหนึ่ง.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-การตั้งจิต
-บทบาทของนิมิต
-พระพุทธศาสนา
-การผ่อนคลาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

75 จึงไม่มีความจําเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกแต่ประการ ใด ๔.เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์ กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืน เดิน นอน หรือนั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอัน ขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิต เป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป ๕. นิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นจะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์ ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้อง กลางกายทั้งหมด ตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิต สงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก สําหรับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา เพียงเพื่อเป็น อาภรณ์ประดับกาย หรือเพื่อเป็นพิธีการชนิดหนึ่ง หรือผู้ที่ ต้องการฝึกสมาธิเพียงเพื่อให้เกิดความสบายใจ จะได้เป็น การพักผ่อน หลังจากการปฏิบัติหน้าที่ภารกิจประจำวัน โดย ไม่ปรารถนาจะทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ เพราะยังคิดอยู่ ว่าการอยู่กับบุตรภรรยา การมีหน้ามีตาทางโลกการท่องเที่ยว อยู่ในวัฏฏสงสาร เป็นสุขกว่าการเข้านิพพาน เสมือนทหาร เกณฑ์ที่ไม่คิดจะเอาดีในราชการอีกต่อไป ดังนั้น การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมด นี้ก็พอเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More