ข้อความต้นฉบับในหน้า
70
๓. นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือ
ซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย นั่งให้อยู่ในจังหวะพอดี
ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลัง
โค้งงอ หลับตาพอสบายๆ คล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบ
กล้ามเนื้อตาหรือว่าขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย
สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจ ว่ากำลังจะเข้าไปสู่
ภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง
๔. นักกําหนดนิมิต เป็น “ดวงแก้วกลมใส” ขนาด
เท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากราศี หรือรอยตำหนิใดๆ
ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลม
ใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ เหมือนดวงแก้วนั้น
มานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกไปภาวนาไป
อย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า “สัมมาอะระหัง” หรือ
ค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์
กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป
น้อมด้วยการนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับค่าภาวนา
ว่า สัมมาอะระหัง
อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงใส กลมสนิทปรากฏแล้ว ณ
กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือน
กับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้น
อันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย
แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไป