ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒๘
คนไทยจ่ายค่าตกใจแพงมหาศาล!
สองปีก่อนหน้าที่ประเทศไทยจะประสบกับ
ปัญหาเศรษฐกิจในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ นั้น ได้มีนักการ
ธนาคารออกมาให้ทัศนะเป็นสัญญาณเตือนภัยเอาไว้ว่า
เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำลง ค่าเงินไทยควรจะลดลงมา
อยู่ที่ประมาณ ๓๐ บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่เมือง
ไทยไม่ได้ระมัดระวังหามาตรการป้องกันแก้ไขเอาไว้
ล่วงหน้า เมื่อประชาชนรับรู้อย่างกระทันหัน ตั้งหลัก
รับสถานการณ์ไม่ทัน ค่าเงินบาทของไทยในช่วงนั้นจึง
ตกลงไปอยู่ในระดับที่ผิดไปจากที่ควรจะเป็น สาเหตุก็
เพราะมันบวกปัญหาค่าความตระหนกตกใจเข้าไปด้วย
ค่าตกใจนี้แพงไหม แพงอย่างมหาศาล เพราะ
มันทําให้
๑ ) เกิดการกักตุนเงินเกิดขึ้น คือ ต่างคน
ต่างเก็บเงินเข้ากระเป๋า ไม่ยอมใช้ลงทุนอะไรทั้งนั้น
๒ ) เกิดการซื้อเงินดอลลาร์เพื่อเตรียมขาย
คือ มีคนบางกลุ่มหันมาคำนวณว่าค่าเงินบาทไทยจะ
ตกลงไปเท่านั้นเท่านี้ แล้วคิดเก็งกำไรด้วยการซื้อเงิน
ดอลลาร์มาเก็บไว้ เพื่อเตรียมขายในเวลาที่ค่าเงินบาท
ต่ำลงไปกว่าตอนเริ่มซื้อ
๒๙
๓ ) เกิดการถอนเงินฝากออกจากธนาคาร
อย่างกระทันหัน ส่งผลให้ธนาคารหลายแห่งล้มละลาย
เมืองไทยยังดีที่มีให้เห็นชัดๆ อยู่ ๓ ข้อ แต่ในอินโด
นีเซียได้เพิ่มข้อที่สี่เข้าไปด้วย
๔ ) เกิดการกักตุนสินค้า ทำให้สินค้ามีน้อย
และราคาแพงลิบลิ่ว
ปัญหาค่าตกอกตกใจเหล่านี้ เป็นปัญหาที่ทำให้
ค่าเงินบาทของไทยต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ทำไมจึงเสียค่าตกใจกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
คำตอบคือ ความไม่ค่อยเชื่อใจกันเอง
เริ่มตั้งแต่ใครขึ้นมาเป็นรัฐบาล ประชาชนก็
รู้สึกว่าไม่ค่อยทราบความจริงเกี่ยวกับความคืบหน้าของ
การบริหารประเทศ และบทบาทที่แท้จริงของไทยใน
เวทีโลก บางครั้งความจริงมีอยู่แค่คืบ ท่านก็ขยายไป
เป็นศอกเป็นวา หรือความจริงเป็นวา ท่านพูดย่อเหลือ
แค่ปลายนิ้วเดียว เมื่อประชาชนไม่ค่อยจะได้รับความ
จริงจากท่าน ประชาชนก็เลยไม่ค่อยจะเชื่อท่าน เป็น
โรคระแวงระบาดตามมา
ดังนั้น เมื่อถึงเวลาเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลออก
มาพูด หนังสือพิมพ์ออกมารายงานข่าว นักธุรกิจออก
มาวิเคราะห์สถานการณ์ ประชาชนก็ไม่อยากเชื่อ เพราะ
ระแวงกันตั้งแต่แรกว่า แต่ละส่วนจะเอาผลประโยชน์