การฝึกสมาธิเบื้องต้นเพื่อความสุข ศีล ๕ สำหรับเยาวชนและการแก้ไขปัญหาของชาติ หน้า 22
หน้าที่ 22 / 25

สรุปเนื้อหา

การฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ และการทำใจให้เป็นกลาง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุขและความสำเร็จ โดยไม่ต้องใช้กำลังหรือปรารถนาเห็นนิมิต นอกจากนี้ การตั้งใจบริกรรมเพื่อให้จิตมีสมาธิและอยู่ที่ศูนย์กลางกายก็สำคัญ รวมถึงการไม่กังวลเกี่ยวกับการหายใจและไม่เครียดกับการเห็นนิมิตในการฝึกสมาธิ ต่อมาทำให้เกิดการสงบและสภาวะที่เป็นสุขในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-ความสุขจากการฝึก
-ความสำเร็จในชีวิต
-วิธีการฝึก
-การประสบความสำเร็จ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๔๒ ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำ เรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้ พอใจแค่นั้น ซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้เกิดความอยาก จนเกินไปจนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และ เมื่อการฝึกสมาธิบังเกิดผลจนได้ “ดวงปฐมมรรค” ที่ใส เกินใส สวยเกินสวย ติดสนิทมั่นคงอยู่ที่ศูนย์กลางกาย แล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกนึกถึงอยู่เสมอ อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บน เส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทได้ ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับ อีกด้วย ข้อควรระวัง ๑. อย่าใช้กำลัง คือไม่ใช้กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่ บีบกล้ามเนื้อตาเพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลัง ตรงส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจาก ศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น ๒. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคอง สติมิให้เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วน จะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็น ๔๓ เอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและ ตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้ ๓. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะ การฝึกสมาธิ เจริญภาวนาเพื่อให้เข้าถึงธรรมกาย อาศัยการ นึกถึง “อาโลกกสิณ” คือกสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อฝึกสมาธิจนเข้าถึงดวงปฐมมรรคแล้ว ฝึกสมาธิต่อไป ผ่านกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กาย อรูปพรหม จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายแล้วจึงเจริญ วิปัสสนาในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนด ลมหายใจเข้าออกแต่ประการใด ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลาง กายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่ อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึง บริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป ๔. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์ กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไปก็ไม่ต้อง ตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อ จิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อม เป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติ อยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More