การสร้างนิมิตเพื่อภาวนา ศีล ๕ สำหรับเยาวชนและการแก้ไขปัญหาของชาติ หน้า 21
หน้าที่ 21 / 25

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงวิธีการนึกกำหนดนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสเพื่อนำไปสู่การตั้งจิตในภาวะสงบ โดยเริ่มต้นจากการนึกถึงดวงแก้วซึ่งมีลักษณะบริสุทธิ์ และการน้อมจิตเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามลำดับฐานต่างๆ อย่างสงบใจ เมื่อนิมิตปรากฏ ให้วางอารมณ์เบาสบายจนดวงนิมิตกลายเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์จิต และเมื่อดวงนิมิตมาถึงศูนย์กลางกายก็สามารถทำให้เกิดดวงธรรมที่นำไปสู่มรรคผลนิพพานได้ การสร้างนิมิตนี้สามารถทำได้ทุกที่ โดยไม่ต้องยึดติดกับสภาพแวดล้อม หวังให้ผู้อ่านได้ทดลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ในการเจริญสติและพัฒนาจิตใจ ทั้งในการเดิน นั่ง นอน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีสติ

หัวข้อประเด็น

-การนึกกำหนดนิมิต
-ประโยชน์ของนิมิต
-การเข้าถึงภาวะสงบ
-การตั้งจิต
-วิธีการภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่ากำลังจะเข้าไปสู่ ภาวะแห่งความสงบสบายอย่างยิ่ง ๔. นึกกำหนดนิมิต เป็น “ดวงแก้วกลมใส” ขนาด เท่าแก้วตาดำใสบริสุทธิ์ ปราศจากราศี หรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลม ใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้ว นั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นึกไปภาวนา ไปอย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือ ค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์ กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้น ไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงแก้วกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลาง กาย ให้วางอารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่า ดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้น อันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้น ไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิต เข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิต มาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุด ศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาว ดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่ง ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม ๔๑ แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆ ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน เกิดการตกศูนย์และเกิด ดวงสว่างขึ้นมาแทนที่ ดวงนี้เรียกว่า “ดวงธรรม” หรือ “ดวงปฐมมรรค” อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทาง แห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิตสามารถทำได้ในทุกแห่ง ทุกที่ ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือขณะทำ ภารกิจใดๆ ภาพแสดงที่ตั้งจิตทั้ง ๗ ฐาน ฐานที่ 3 ปากช่องจมูก หญิงข้างซ้าย ชายช้างขวา ฐานที่ 3 เพลาตา หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา ฐานที่ @) จอมประสาท ฐานที่ @ ช่องเพดาน ฐานที ปากช่อง าคอ ฐานที่ ๗) ศูนย์กลางกายที่ตั้งจิตถาวร ฐานที 3 ศูนย์กลางกายระดับสะดือ 0 ๒ นิ้วมีอ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More