ปัญหาเศรษฐกิจไทยและความสำคัญของศีล 5 ศีล ๕ สำหรับเยาวชนและการแก้ไขปัญหาของชาติ หน้า 16
หน้าที่ 16 / 25

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจของไทยในอดีต โดยเชื่อมโยงกับหลักศีล 5 ที่ถูกมองว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างเครดิตและความเชื่อมั่นในสังคมไทย นักการธนาคารมองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันเองของคนไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่สังคมลดทอนคุณค่าศีลธรรมลง ทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจและความเจ็บปวดอย่างรุนแรง การปฏิบัติตามศีล 5 จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของคนในประเทศ

หัวข้อประเด็น

-ปัญหาเศรษฐกิจไทย
-ศีล 5 และวิกฤตเศรษฐกิจ
-ความเชื่อมั่นในสังคม
-การละเลยศีลธรรม
-บทเรียนจากประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓๐ เข้าตัวหรือเปล่าก็ไม่รู้ เป็นอันว่าตกลงเมืองไทยก็เลย ไม่รู้จะเชื่อใครในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงคราวเศรษฐกิจตกต่ำ บ้าน เมืองของเราก็ต้องเสียค่าระแวงค่าตกใจมากเกินไป คือ เกิดความปั่นป่วนขึ้นในบ้านในเมือง แล้วก็บวกกับ ที่ต้องจ่ายค่า IMF ตามมา ผลสุดท้ายตอนนี้ ต้องบอกว่า เมืองไทยไม่น่า เจ็บตัวกันขนาดนี้เลย แล้วก็ต้องเจ็บตัวเพราะทำกัน เอง ไม่มีใครมาทำให้เมืองไทยหรอก ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ เกิดจากความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน นี่เป็นทัศนะของนักการธนาคารทั่วโลก ที่เขา มองมาที่ประเทศไทยและบอกให้เรารู้ว่า การที่คนไทย ต้องเจ็บตัวครั้งนี้ สาเหตุแท้ๆ เพราะระแวงกันเอง ทำไมคนไทยจึงระแวงกันเอง มันเกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นในสังคมไทย คำตอบคือ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนไทย ได้ทำลายเครดิตของตัวเองไปอย่างไม่รู้ตัว เครดิตของคนอยู่ที่ไหน อยู่ที่การมีศีลเป็นปกติ แต่ปัจจุบันค่านิยมเรื่องการรักษาศีล ๕ กำลัง ห่างหายไปจากคนไทย เพราะฉะนั้น บทเรียนที่ต้องเจ็บตัวอย่างสาหัส ทางเศรษฐกิจของไทยในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงเครดิต ୩୭ ในด้านศีลธรรมของสังคมไทยอย่างชัดเจน ปัญหา เศรษฐกิจครั้งนี้คือปัญหาศีลธรรมในบ้านเมือง ปัญหา อื่นเป็นผลพวงที่ตามมาจากเรื่องนี้ ศีล ๕ เครื่องมือตรวจวัดวิกฤตเศรษฐกิจไทย ทำไมการไม่รักษาศีล ๕ จึงเป็นต้นเหตุของ ความไม่ไว้ใจกันเอง ในฐานะที่พระภาวนาวิริยคุณ เป็นพระภิกษุที่ มีประสบการณ์ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนามา ๓๐ กว่าปี ท่านได้ให้ทัศนะในเรื่องความสำคัญของ ศีล ๕ ไว้ว่า “ก่อนอื่นถ้าถามว่า ใครเป็นผู้บัญญัติศีล ๕ เราก็ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้บัญญัติ เพราะมีมาก่อนพระ พุทธศาสนาจะเกิดขึ้น แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบอกว่า ศีล ๕ นี้ดี จึงทรงรับเข้ามาไว้ในพระพุทธศาสนา แล้วพระองค์ก็ ทรงให้กฎเกณฑ์ของศีล ๕ ชัดเจนขึ้น ศีล ๕ ได้แก่อะไรบ้าง Q). ไม่ฆ่าสัตว์ ๒. ไม่ลักทรัพย์ ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More