ข้อความต้นฉบับในหน้า
GO
ประการที่ ๒ คือ กติกาของสังคม เช่น ประเพณี
กฎระเบียบ กฎหมาย ถ้าใครฝืนกฎกติกาของสังคม ก็จะได้
รับการลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นกติกาสังคมแบบอ่อน เช่น ประเพณี
วัฒนธรรม ใครอยู่ในสังคมใดถ้าทำสิ่งที่ผิดจารีตประเพณี
ผิดวัฒนธรรมของสังคมนั้น คนรอบข้างจะเริ่มมองไม่ดี และ
เป็นแรงกดดันให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เช่นนั้นจะอยู่ไม่
เป็นสุข ถือว่าเป็นการลงโทษแบบอ่อน ถ้าเป็นกติกาสังคม
แบบแข็ง ก็คือ ออกเป็นกฎหมาย ใครทำผิดก็ลงโทษตาม
กฎหมาย คนก็จะกลัว เพราะบางคนไม่กลัวเรื่องบุญบาป
แต่กลัวตำรวจจับ กลัวถูกลงโทษ กลัวถูกปรับ จึงไม่กล้าทำ
ผิด อันนี้เป็นแรงเหนี่ยวรั้งจากกติกาสังคม
ประการที่ ๓ คือ ครอบครัว เวลาจะทำสิ่งที่ไม่ดี
พอนึกถึงคุณพ่อคุณแม่ ก็เกิดความยับยั้งชั่งใจ ไม่อยากให้
ท่านไม่สบายใจ ด้วยความรักความกตัญญูต่อท่าน ยิ่ง
ครอบครัวใดมีสายสัมพันธ์ในครอบครัวแน่นเหนียว ลูกมี
ความรักกตัญญูต่อพ่อแม่มาก สิ่งนั้นก็จะเป็นเครื่องคุ้มครอง
ตัวลูกไม่ให้ถลำไปในทางที่เสื่อม เพื่อนฝูง
จะมาชักชวนอย่างไร ก็มีความรักพ่อแม่
ช่วยเหนี่ยวรั้งใจอยู่
เครื่องเหนี่ยวรั้งใจทั้ง ๓ ประการนี้
ยิ่งแข็งแรงมากขึ้นเพียงใด เบรกในใจที่
จะไม่ทำบาปทำกรรมของคนๆ นั้น ก็จะ
แข็งแรงมากขึ้นเพียงนั้น แต่ถ้าเครื่อง
เหนี่ยวรั้งใจทั้ง ๓ ประการนี้อ่อนแรงลง
มากเท่าใด ผลร้ายก็จะตามมามากไปตาม
ส่วน ดังตัวอย่างในสังคมระดับประเทศ
ประเทศใดที่คนไม่มีความเชื่อเรื่องศาสนา
ระบบครอบครัวก็จะอ่อน มิหนำซ้ำถ้ากติกา
สังคมไม่แข็ง คนก็ไม่กลัวกฎเกณฑ์สังคม
ไม่เคารพกติกาสังคม ปัญหาจะเกิดขึ้นมาก
แต่ถ้า ๓ อย่างนี้แข็งแรง ก็จะอยู่กันอย่าง
มีความสุข
ดังนั้น ถ้าพวกเราทุกคนจะเริ่ม
คุ้มครองโลก ก็ขอให้เริ่มที่ตัวเองก่อน
สำรวจตัวเราให้ดี ปรับปรุงพัฒนาให้ดี ไม่มี
ใครสมบูรณ์พร้อม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มีดีบ้าง
ไม่ดีบ้างผสมกัน แต่ความแตกต่างอยู่ที่ว่า
ใครรู้ตัวว่าต้องมีหิริโอตตัปปะ และจะต้อง
ฝึกสิ่งที่เกื้อหนุนต่อคุณธรรมความละอาย
และความเกรงกลัวต่อบาปนี้ให้สมบูรณ์
มากขึ้นๆ หมั่นสำรวจข้อบกพร่องของตัวเอง
และรีบปรับปรุงแก้ไข คนนั้นก็จะเจริญขึ้นๆ
แต่คนไหนแม้เริ่มต้นจะมีต้นทุนเท่ากัน แต่
ถ้าปล่อยตามใจตัวเอง สุดท้ายก็จะลำบาก
เพราะฉะนั้นถ้าเรามีคนในปกครอง
จะเป็นลูกก็ตาม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาก็ตาม
ให้ช่วยอบรมปลูกฝังให้เขามีหิริโอตตัปปะ