การตั้งครรภ์บริสุทธิ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์บริสุทธิ์ (ตั้งครรภ์แบบบไม่อาศัยเพศ) ในพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ หน้า 16
หน้าที่ 16 / 30

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจการตั้งครรภ์แบบไม่อาศัยเพศชายในมนุษย์ โดยอิงจากการค้นพบที่น่าสนใจในปี 2538 ที่เด็กชายคนหนึ่งมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ไม่มีพันธุกรรมของบิดา พบว่าเซลล์ไขของมารดาสามารถแบ่งตัวเป็นตัวอ่อนมนุษย์ได้เองก่อนการผสมกับสุภิจิกา ซึ่งทำให้เด็กชายนี้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันในร่างกาย ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการเกิดแบบบังครรภ์บริสุทธิ์ (Partial parthenogenesis).

หัวข้อประเด็น

-การตั้งครรภ์บริสุทธิ์
-เซลล์เม็ดเลือดขาว
-พันธุกรรม
-การวิจัยทางการแพทย์
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมาธร วรรณวราวิภาวงศ์พุทธศาสนา ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวบรวมที่ 11) ปี 2563 การตั้งครรภ์แบบไม่อาศัยสุทธิจากเพศชายหรือครรภ์บริสุทธิ์ ในมนุษย์จากการค้นพบในปัจจุบัน การค้นพบที่ใกล้เคียงมากที่สุด ในการอธิบายกาลไกที่ทำให้ เพศหญิงอาจสามารถตั้งครรภ์บริสุทธิ์หรือ ตั้งครรภ์แบบไม่อาศัย เพศชายในมนุษย์ คือ เมื่อปี พ.ศ. 2538 นักวิจัยต้องประหลาดใจเมื่อ ตรวจพบว่าเด็กชายคนหนึ่งมีเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่ไม่มีพันธุกรรมของ บิดาอยู่เลย เด็กชายผู้มีใบหน้าด้านซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน (Partheno- genetic Chimaera) อายุประมาณ 3 ปีได้รับการตรวจดีเอ็นเอ พบว่า เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells) ของเขาไม่มีลักษณะพันธุกรรมของ บิดาเลย โดยตรวจพบลักษณะพันธุกรรมที่ได้รับจากมารดาเพียง ผู้เดียวในเซลล์เม็ดเลือดขาว ต่างกับกลุ่มเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายซึ่งมี ลักษณะพันธุกรรมของทั้งมิดาและมารดา ซึ่งนักวิจัยสันนิษฐานว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ยากมากดังกล่าวนี้ มาจากการที่เซลล์ไขของ มารดาหลังจากไขตก สามารถเกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อนมนุษย์ได้เอง ก่อนที่จะได้รับการผสมจากสุภิจิกาอีกทีในท่อนำไข่ของมารดา18 ซึ่งทำให้เด็กชายคนนี้มีกลุ่มเซลล์ในร่างกายที่มีลักษณะทางพันธุกรรม ต่างกันเป็นสองลักษณะดังกล่าว หรือเรียกว่า เด็กชายคนนี้มีการเกิด แบบบังครรภ์บริสุทธิ์ (Partial parthenogenesis)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More