เวียนเทียนวันวิสาขบูชา

เวียนเทียนวันวิสาขบูชา สมัยพุทธกาลมีการเวียนเทียนหรือไม่? ทำไมต้องมีการเวียนเทียน? ปัจจุบันประเทศอินเดียยังมีการเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชาไหม? พิธีกรรมวันวิสาขบูชาของอินเดียกับไทยเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?..... https://dmc.tv/a19980

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
[ 30 เม.ย. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18257 ]

วันวิสาขบูชา 2561

เวียนเทียนวันวิสาขบูชา

เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ (M.D.; Ph.D)

จากรายการข้อคิดรอบตัว ออกอากาศทางช่อง DMC
 
เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
เวียนเทียนวันวิสาขบูชา

สมัยพุทธกาลมีการเวียนเทียนหรือไม่?


      การเวียนเทียนเป็นธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เวลามีการแสดงความเคารพต่อสิ่งใดจะใช้การเวียนเทียน ซึ่งมีศัพท์เรียกว่าเวียนประทักษิณที่เราเรียกว่าเวียนขวา คือเวลาเราจะแสดงความเคารพสิ่งใด อย่างเช่นจะเวียนเทียนรอบโบสถ์รอบพระพุทธรูป รอบพระสถูป ให้เอาแขนขวาของเราเข้าใกล้สิ่งนั้น หรือบางทีเราก็อาจจะอาราธนาพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ มาวางไว้ แล้วเวียนเทียนรอบ ๆ พระพุทธรูปองค์นั้น ไม่จำเป็นต้องเวียนเทียนรอบโบสถ์ก็ได้ เพราะบางที่ไม่มีโบสถ์ให้เราอาราธนาพระพุทธรูปมาวางไว้ แล้วเดินเวียนรอบ ๆ ก็ถือเป็นการเวียนเทียนเหมือนกัน คือเวียนประทักษิณระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง


ทำไมต้องมีการเวียนเทียน?

 
     ที่เรียกว่าเวียนเทียนเพราะว่าเราถือเทียนไว้ในมือ ซึ่งบางทีก็มีทั้งเทียน ทั้งธูป แต่เราไม่เรียกเวียนธูป เพราะธูปเป็นควันมองเห็นไม่ชัด แต่เทียนมันสว่าง มองเห็นง่าย เราก็เลยเรียกว่าเวียนเทียนการเวียนเทียนคือการบูชาด้วยความสว่างเพราะถือว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำความสว่างแห่งปัญญามาให้เราได้รู้จักความจริงของโลกและชีวิต เราบูชาปัญญาซึ่งมีตัวแทนคือความสว่างโดยใช้เทียน ส่วนธูปเป็นการบูชาด้วยของหอม ว่ากลิ่นศีลของพระองค์หอมทวนลม
 
      เคยมีคำถามว่า อะไรเอ่ยหอมทวนลม ปกติความหอมทั่วไปจะหอมตามลม เพราะความหอมเกิดจากโมเลกุลของสิ่งนั้นมากระทบต่อเซลล์ประสาทรับกลิ่นของเราที่โคนจมูก พอเราหายใจเข้าไป โมเลกุลของสิ่งนั้นจะไปกระทบกับใยประสาททำให้เกิดกลิ่นขึ้นมา แล้วอะไรจะหอมทวนลมได้ ท่านบอกว่ากลิ่นศีลจะหอมทวนลม ปกติเทวดาอยากอยู่ห่างมนุษย์มาก ๆ ไม่อยากเข้าใกล้ เพราะเทวดารู้สึกว่ากลิ่นมนุษย์เหม็นเหมือนศพ ไม่อยากเข้าใกล้ ยกเว้นมนุษย์ผู้มีศีล ถ้าวันไหนเทวดาจะลง
มาดูแลรักษาเรา ก็เพราะกลิ่นศีลหอมทวนลม
 
     เพราะฉะนั้นเราบูชาว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระบริสุทธิคุณด้วยการจุดธูประลึกถึงศีลของพระองค์ และเราเองก็ต้องปฏิบัติให้มีศีลอย่างพระองค์ด้วย

     ศีล 5 คือศีลเบื้องต้นของฆราวาส แต่ถ้าวันพระหรือวันคล้ายวันเกิด เช่น ใครเกิดวันจันทร์ก็รักษาศีล 8 วันจันทร์ อาทิตย์หนึ่งสักครั้งหนึ่งถ้าทำได้จะดีมาก เพราะถ้าเรารักษาศีล 5 เดี๋ยวนี้สิ่งยั่วยวน สิ่งเร้ามีมาก เกิดเราใจอ่อนไปผิดศีล ศีลเราก็จะขาด แต่ถ้าเรายกใจเราสูงขึ้นเป็นศีล 8 ถึงคราวจะร่วงลงมาเป็นศีล 5 ก็ยังดี คือเหมือนกับชกรุ่นเฮฟวีเวทแล้วพอเจอรุ่นฟลายเวทก็สบาย ๆ ฉะนั้นอาทิตย์หนึ่งก็เอาวันเกิดตัวเองสัก 1 วันวันพระอีก 1 วัน รักษาศีล 8 ให้ได้ 2 วันต่อสัปดาห์ อย่างนี้เยี่ยมเลย


ปัจจุบันประเทศอินเดียยังมีการเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชาไหม?

 
     หลังจากอิสลามรุกเข้ามายึดอินเดีย พระพุทธศาสนาก็หายจากอินเดียไปช่วงใหญ่ แต่ตอนนี้เริ่มฟื้นกลับมาแล้ว เมื่อวิสาขบูขาที่ผ่านมาก็มีการนิมนต์และเชิญตัวแทนจากวัดพระธรรมกายไปจัดงานวิสาขบูขาที่อินเดีย ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ส่งหมู่คณะไปปรากฏว่ามีรัฐมนตรีมาร่วมงานกันหลายท่านเขาปลื้มใจมาก ขอให้ไปช่วยจัดตามเมืองต่าง ๆ อีก หลายแห่ง และบอกว่าปีหน้าช้าไป ขอเร็ว ๆ หน่อยได้ไหม มีงานอะไรก็อยากให้ไปช่วยจัด ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้กลับไปสู่แดนพุทธภูมิคือประเทศอินเดียอย่างจริงจังแล้ว


พิธีกรรมวันวิสาขบูชาของอินเดียกับไทยเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

 
     โดยพื้นฐานก็คล้าย ๆ กัน เพราะตอนนี้เราเอาต้นแบบธรรมเนียมพุทธของเรากลับไปให้เขาเขากำลังดูชาวพุทธไทยเป็นต้นแบบ แต่ก็ต้องปรับให้เข้ากับธรรมชาติบ้านเมืองเขาเหมือนกัน เช่น การปล่อยโคมลอย เมืองเขาลมแรงมาก บางทีพัดจนกระดาษที่หุ้มโคมโป่ง ถูกไฟข้างในไหม้ก็มี แต่คนอินเดียเขาก็สู้ พยายามจนสามารถปล่อยได้สำเร็จเป็นร้อย ๆ โคม แล้วเขาก็เบิกบานกัน อยากจะให้จัดอีก มีชาวอินเดียมาร่วมงานเป็นหมื่นเป็นแสนคนอย่างเงียบสงบและเป็นระเบียบ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในอินเดีย ทำให้เกิดความทึ่งและตะลึงไปตาม ๆ กันเราเอาธรรมเนียมปฏิบัติที่วัดของเราไปทำที่อินเดีย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสงบเสงี่ยม ทุกอย่างเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัย แสดงความเคารพต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสร้างความประทับใจและความศรัทธาแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ของอินเดียได้เป็นอย่างดี


อานิสงส์ของการร่วมพิธีเวียนเทียนมีอะไรบ้าง?


      อานิสงส์มหาศาล มีเรื่องจริงเกิดขึ้นเมื่อครั้งพุทธกาล คือมีเทพธิดาเกิดใหม่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นเดียวกับพระอินทร์ เทพธิดาที่เกิดขึ้นมามีวิมานสวยมาก มีสีทอง เทวรถก็สีทอง พัดก็สีทองอะไร ๆ ก็สีทองทั้งนั้น สีเหลืองทองสวยงามมากพระอินทร์เห็นยังทึ่งเลย และไปถามเทพธิดาเจ้าของวิมานว่า “ดูก่อนเทพธิดา เธอทำบุญอะไรมาหรือทำไมวิมานสวยอย่างนี้” เทพธิดาไม่กล้าตอบเพราะอาย พอพระอินทร์ถามรุกเร้าเข้า ก็เลยตอบว่า “ดิฉันเพิ่งมาเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตอนเป็นมนุษย์กำลังจะไปบูชาพระสถูปเจดีย์ด้วยดอกบวบขม เคยเห็นชาวบ้านเขาถือธูปเทียนไปไหว้พระสถูปเจดีย์ ก็อยากจะไปบ้าง แต่ไม่มีเงินซื้อธูปเทียนของหอมอย่างคนอื่นเขา เพราะจนมากจึงเด็ดดอกบวบขมข้างทางมา 4 ดอก ตั้งใจจะไปบูชาพระสถูปเจดีย์”

      ระหว่างเดินไป วิบากกรรมเก่าตามมาถึงถูกแม่โควิ่งมาขวิดตายกลางทาง ขณะที่ใจเต็มเปี่ยมด้วยความศรัทธา พอละจากโลกนี้ก็ได้เกิดเป็นเทพธิดามีวิมานสีเหลืองทองนี่ขนาดยังไปไม่ถึงพระสถูปเจดีย์ แต่ความตั้งใจมีอยู่ ของที่บูชาก็เป็นของที่ราคาถูกมาก คือดอกบวบที่เก็บจากข้างทาง อานิสงส์ยังส่งขนาดนี้ถ้าตั้งใจเวียนเทียนบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยใจศรัทธาเลื่อมใสมั่นคงแน่วแน่ ยิ่งทำสมาธิไปด้วยลองคิดดูว่าบุญขนาดไหน อานิสงส์มหาศาลเลยท่านถึงสรุปว่า “เมื่อมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้วทักษิณาทานหาชื่อว่าเป็นของน้อยไม่”
 
เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
เวียนเทียนวันวิสาขบูชา

ในระหว่างการเวียนเทียน 3 รอบต้องมีการสวดมนต์ไหม?


      ส่วนใหญ่สวดนะโมตัสสะ... และ อิติปิโส...อิติปิโส... คือการบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าสวดมนต์ไปด้วยใจจะไม่คิดวอกแวกไปที่อื่น ฉะนั้นในการเวียนเทียนถ้าไม่ได้สวดมนต์ สำหรับคนที่ยังฝึกสมาธิมาน้อยบางทีก็เวียนไปคุยกันไป ฉะนั้นสวดมนต์ดีกว่าจะได้อยู่ในบุญ บทสวดก็เป็นบทบูชาพระรัตนตรัยจะใช้บทไหนที่เราคุ้นเคย อะระหังสัมมา... ก็ได้ อิติปิโส... ก็ได้ นะโมตัสสะ... ก็ได้ สวดไปใจก็ทำสมาธิไปด้วย ถ้าคนไหนเคยฝึกสมาธิมาแล้วใจจดจ่อบูชาพระรัตนตรัยอย่างนี้ยิ่งดีมาก


การเวียนเทียน 3 รอบมีความหมายอะไรหรือเปล่า?


      เป็นธรรมเนียมแต่ครั้งพุทธกาลแล้วที่ทำอะไรมักจะทำ 3 รอบ รอบที่ 2 เรียกทุติยัมปิ รอบที่ 3 เรียกตะติยัมปิ อาราธนาศีลก็ยังต้องอาราธนา 3 ครั้ง เวลาขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งยังต้อง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ และยังมีทุติยัมปิ คือรอบ 2 ตะติยัมปิ คือรอบ 3 แม้แต่บวชพระก็เหมือนกัน เวลาบวช พระคู่สวดต้องตั้งญัตติขึ้นมาว่า ดูก่อน สงฆ์ทั้งหลายโปรดฟังข้าพเจ้าว่า มีบุคคลชื่อนี้ (ชื่อบาลี) ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้ตั้งใจจะมาขอบวชต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์เห็นพร้อมกันแล้วโปรดอนุญาตให้บุคคลผู้นี้บวชด้วย นี่เป็นญัตติตั้งญัตติขึ้นมาก่อน จากนั้นก็ทวน 3 รอบ ถามความเห็น รอบที่ 1 ถ้าสงฆ์ทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันขอให้นิ่ง ถ้าไม่เห็นพ้องต้องกัน ก็ให้ทักท้วง ถามอย่างนี้ 3 รอบ


พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนามีประโยชน์อย่างไร?


     ให้มองอย่างนี้ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น หลักปฏิบัติต่าง ๆ เปรียบเหมือนต้นไม้ ที่มีตั้งแต่เปลือก กระพี้ และแก่น แก่นไม้คือส่วนที่เป็นสาระของต้นไม้ แต่แก่นก็ต้องมีเปลือกมาหุ้ม แล้วเปลือกก็มีกระพี้หุ้มอีกที บางคนบอกว่าเปลือกกับกระพี้ไม่สำคัญ จริง ๆ ถ้าไม่มีเปลือก ไม่มีกระพี้ต้นไม้ก็ตายเหมือนกัน เปลือกและกระพี้เป็นตัวหุ้มต้นไม้เอาไว้ แล้วน้ำเลี้ยงก็หล่อเลี้ยงให้แก่นค่อย ๆ โตขึ้น ชาวพุทธเราปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาก็มีทั้งเปลือก กระพี้ และแก่นตัวพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเช่นการเวียนเทียนถือว่าเป็นส่วนของเปลือกและกระพี้ แต่ถ้าระหว่างที่เวียนเทียนเราสวดมนต์ไปด้วย ทำสมาธิไปด้วย อันนี้ถือว่าได้ทั้งเปลือก กระพี้ และแก่นไปด้วยในตัว แต่บางคนที่ไปเวียนเทียนตามธรรมเนียมเห็นเขาเวียนเทียนก็เวียนไปด้วย เวียนไปคุยไปอย่างนี้ได้เฉพาะในส่วนของกระพี้กับเปลือก ยังไม่ไปถึงแก่น ฉะนั้นแต่ละคนที่ไปเวียนเทียนด้วยกันแม้เวียนที่เดียวกัน ก็ได้ประโยชน์ไม่เท่ากัน

     ในแง่ของหลักปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การปฏิบัติตามหลักศีลสมาธิ ปัญญา, ทาน ศีล ภาวนา นั่นคือส่วนของแก่น ที่เป็นสาระที่แท้จริง แต่ถ้าอยู่ ๆ ชวนกันไปวัดบอกให้มานั่งสมาธิเลย มีคนที่พร้อมจะเข้าวัดจริง ๆ ไม่มาก แต่ถ้าชวนไปเวียนเทียนง่ายกว่าไปเวียนเทียนวันวิสาขบูชา นั่นคือส่วนของพิธีกรรม คือส่วนของเปลือกและกระพี้ ชวนคนมาได้ง่าย พอมาถึงวัด ไหน ๆ มาเวียนเทียนแล้ว ใจเป็นกุศลขึ้นมา ทำความดีเพิ่มอีกนิด เพิ่มรักษาศีลอีกหน่อย อย่างนี้จะง่ายขึ้น
 
     เพราะฉะนั้น จะว่าพิธีกรรมไม่สำคัญก็ไม่ใช่พิธีกรรมมีความสำคัญ เพราะสามารถสร้างความศรัทธาให้เพิ่มขึ้นได้ ไปเวียนเทียนพร้อมกันคนที่ตั้งใจอยู่แล้วก็เลยเกิดปีติศรัทธามากขึ้นอีกตอกย้ำให้คนใหม่รู้สึกดีมากขึ้น คนเก่าก็เกิดความศรัทธาเพิ่มขึ้น พิธีกรรมมีส่วนเสริม แต่ต้องไม่ลืมว่าอย่าติดแค่พิธีกรรมอย่างเดียว พิธีกรรมเป็นเครื่องจูงใจ แต่สาระสำคัญจริง ๆ คือการปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา ตั้งใจทำให้ดี เพราะทำแล้วจะเกิดเป็นบุญกุศลติดตัวเราไป

    ฉะนั้น เราชาวพุทธเมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว ต้องปฏิบัติให้ครบ โดยมุ่งไปหาแก่น แต่ไม่ถึงขนาดปฏิเสธเปลือกและกระพี้ แล้วสุดท้ายต้องนำไปสู่สาระคือการปฏิบัติเสมอ คนที่เข้าใจอยู่แล้วไปชวนคนใหม่เข้ามาโดยอาศัยพิธีกรรมเป็นอุปกรณ์ในการชักชวน และนำมาสู่การปฏิบัติ คนที่เข้าใจแก่นก็เหมือนกับต้นไม้ที่แก่นโตขึ้น ๆ จากไม้ต้นเล็ก ๆ ก็โตขึ้น สุดท้ายใหญ่จนต้องโอบเลย

    อยากให้พระพุทธศาสนาในทุกถิ่นในประเทศไทยทั้งประเทศ แต่ละจังหวัด แต่ละอำเภอ แต่ละตำบล แต่ละหมู่บ้าน เป็นไม้ใหญ่ที่มีความมั่นคงแข็งแรง เป็นต้นโพธิ์ต้นไทรที่ให้ร่มเงาให้ผู้คนทั้งหลายเกิดความสงบร่มเย็น ถ้าชาวพุทธทุกคนช่วยกันคนละไม้คนละมือ พระสงฆ์ตั้งใจสอนประชาชน ตัวเองปฏิบัติด้วย สอนประชาชนด้วย และชาวพุทธเองก็ตั้งใจเข้าวัดปฏิบัติธรรม อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์ บำรุงพระพุทธศาสนาด้วย แล้วตั้งใจปฏิบัติด้วย จากพิธีกรรมที่เป็นเปลือก กระพี้ จนกระทั่งถึงแก่นแห่งการปฏิบัติจริง ๆ อย่างนี้แล้วพระพุทธศาสนาในประเทศไทยของเราจะสถิตสถาพรยั่งยืนนาน ภัยใด ๆ ข้างนอกก็ทำอันตรายเราไม่ได้ สมดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ตราบใดที่ชาวพุทธยังรักการประพฤติปฏิบัติธรรมพระพุทธศาสนาก็จะมั่นคงไปตราบนั้น”

“การเวียนเทียน คือ
การบูชาด้วยความสว่าง
เพราะถือว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงนำความสว่างแห่งปัญญา
มาให้เราได้รู้จักความจริง
ของโลกและชีวิต“



http://goo.gl/A8dEaC


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันวิสาขบูชา 2566 ประวัติวันวิสาขบูชา
      วันมหาปูชนียาจารย์ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี
      วันออกพรรษา 2566 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันสมาธิโลก 2566 World Meditation Day
      วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
      วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันอัฏฐมีบูชา ประวัติความสำคัญธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา
      วันคุ้มครองโลก EarthDay ประวัติและความเป็นมาของวันคุ้มครองโลก
      วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
      วันมหาปวารณา วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
      ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
      ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related