สร้างมหาวิหาร มหาทานข้ามชาติ

การให้ทาน เป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทาน เป็นเครื่องประทุญร้ายจิตที่ฝึกแล้ว (ปฐมทานสูตร) https://dmc.tv/a21777

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 23 ส.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18275 ]
สร้างมหาวิหาร มหาทานข้ามชาติ

เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ.๙
ภาพประกอบ : กองพุทธศิลป์
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐

 

อทนฺตทมนํ ทานํ อทานํ ทนฺตทูสกํ
การให้ทาน เป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก
การไม่ให้ทาน เป็นเครื่องประทุญร้ายจิตที่ฝึกแล้ว
(ปฐมทานสูตร)


     การให้เป็นการสร้างความดีที่ง่ายที่สุด และส่งผลดีให้กับชีวิตอย่างมากมายมหาศาล จะทำให้เป็นผู้มีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ ประสบแต่ความสุขความสำเร็จตลอดไป การให้ที่จะให้ได้ผลเต็มที่นั้นผู้ให้ต้องเอาชนะใจตนเองให้ได้เสียก่อน ต้องขจัดความตระหนี่ออกจากใจ แล้วให้ด้วยความปลื้มปีติยินดีมีใจเลื่อมใส มีความบริสุทธิ์ใจทั้งก่อนจะให้ ขณะให้ และหลังจากให้ก็หมั่นตามระลึกนึกถึงบุญ บุญนั้นจะไปดึงดูดมหาสมบัติทั้งหลายให้เราได้ใช้สร้างบารมีอย่างสะดวกสบายยิ่งๆ ขึ้นๆไป จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งธรรม

     ตามปกติแล้ว มนุษย์จะมีความโลภอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น เมื่อเริ่มฝึกจิตด้วยการให้ ใจจะ ขยายออกไป เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็น รูปธรรม เมื่อความตระหนี่หลุดออกจากใจได้แล้ว ความเบาสบายก็เข้ามาแทนที่ ความรู้สึกว่า "พอ" จะบังเกิดขึ้น เมื่อใจรู้จักคำว่าพอก็เกิดก่อความสุข ดังนั้นผู้ที่อยากมีความสุข ต้องเริ่มต้นที่การให้เป็น อันดับแรก เหมือนดังนักสร้างบารมีในอดีตที่ท่านทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และแรงปัจจัย เพื่อสร้างศาลารายหรือมหาวิหารคด เพื่อถวายแด่ภิกษุสงฆ์ จำนวน ๖ ล้าน ๘ แสนรูปบุญนั้นได้ส่งผลให้ท่านได้เวียนวนอยู่แต่ในสุคติภูมิเท่านั้น ไม่เคยพลัดไป เกิดในอบายภูมิเลย เรื่องมีอยู่ว่า

วิหารคด รองรับสงฆ์ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป


    ย้อนหลังจากนี้ไปหนึ่งแสนกัป พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสีเสด็จอุบัติขึ้นในภพชาตินั้นได้มีมหาเศรษฐีคนหนึ่งชื่ออวโรชะ ปรารภจะสร้างพระคันธกุฎีถวายแด่พระบรมศาสดา หลานชายชื่อว่าอวโรชะเหมือนกันเกิดกุศลจิต อยากขอบริจาคเงินร่วมบุญกับคุณลุง แต่คุณลุงอยาก ได้บุญคนเดียว เพราะเห็นว่าตัวเองมีเงินทองมากมาย ไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินของหลาน และอยากให้การถวายกุฏิครั้งนี้เป็นชื่อของตัวเองเท่านั้น จึงปฏิเสธความปรารถนาดีจากหลานชาย
 

     ฝ่ายหลานชายนั้นก็เป็นผู้มีความเลื่อมใสใน พระรัตนตรัยไม่แพ้ลุง จึงคิดว่า เมื่อคุณลุงสร้างคันธกุฎีในที่ตรงนี้แล้วเราควรสร้างศาลารายซึ่งก็ คือวิหารคดนั่นเอง หลานชายได้สร้างล้อมรอบพระคันธกุฏีอีกทีหนึ่ง โดยให้คนใช้ข้าทาสบริวารขนไม้มาจากป่า ให้ทำเสาพิเศษกว่าเสาไม้ธรรมดา คือ เสาต้นหนึ่งบุด้วยทองคำ ต้นหนึ่งบุด้วยเงินต้นหนึ่งบุด้วยแก้วมณี ให้ทำขื่อบานประตู บาน หน้าต่าง กลอน เครื่องมุง และอิฐทั้งหมด บุด้วยรัตนชาติชนิดต่างๆ ให้ทำวิหารคดสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ

ลักษณะมหาวิหารคดในอดีต

     บริเวณชั้นบนของวิหารคดได้ให้สร้างจอมยอด ๓ ยอด ที่สำเร็จด้วยทองคำสีสุก ทั้งแท่งแก้วผลึก และแก้วประพาฬ จากนั้นหลานชายให้สร้างมณฑป ประดับด้วยแก้ว ตรงกลางวิหารคดให้ตั้งธรรมาสน์ไว้ เพื่อสำหรับเป็นที่แสดงธรรมของพระธรรมกถึกธรรมาสน์นั้นสำเร็จด้วยทองคำสีสุก เป็นทองแท่งสุก ปลั่ง สว่างไสวกว่าทุกที่ในบริเวณวิหารคดแห่งนั้น แม้แคร่ ๔ อันก็เป็นพื้นทองคำทั้งหมด จากนั้นให้แกะสลักแพะทองคำ ๔ ตัว ตั้งไว้ใต้เท้าทั้ง ๔ ของอาสนะ
 


     นอกจากนี้ยังให้แกะสลักแพะทองคำอีก ๒ ตัว ตั้งไว้ใต้ตั่งสำหรับรองเท้าแกะสลักแพะทองคำ ๖ ตัว ตั้งแวดล้อมมณฑปให้ถักธรรมาสน์ด้วยเชือกเส้นเล็กสำเร็จด้วยด้ายก่อน แล้วจึงให้เอาทองคำถักทอเป็นเชือกเส้นเล็กๆแทนเส้นด้าย ด้านบนให้เอามุกดามาร้อยเป็นเชือก ตรงพนักพิงของธรรมาสน์ให้ทำด้วยไม้จันทน์หอม ครั้นสร้างวิหารคดสำเร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้กราบนิมนต์พระสงฆ์ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป มีพระบรมศาสดานั่งเป็นประธาน ณ บริเวณวิหารคด แล้วน้อมถวายภัตตาหารจากนั้นได้กล่าวถวายวิหารคดด้วยจิตที่เลื่อมใสในมหาทาน ท่านทำ การถวายสังฆทานไม่ใช่เพียง ๗ วัน แต่ใช้เวลาถวายติดต่อกันนานถึง ๔ เดือนและก็มีผู้ใจบุญมาร่วมบุญกับท่านมากมาย ด้วยบุญนั้น ทำให้ท่านได้สวรรค์สมบัติ และมนุษย์สมบัติเรื่อยมา ไม่เคยพลัดไปเกิดในอบายภูมิเลย
 
 
 


แพะกายสิทธิ์ เคียงคู่ผู้มีบุญ

     อวโรชะ ผู้เป็นหลาน พอมาเกิดในภพชาตินี้ ได้เป็นมหาเศรษฐีแห่งกรุงราชคฤห์ เมื่อแต่งงานมีครอบครัวและย้ายไปปลูกบ้านหลังใหม่แพะทองคำ ประมาณเท่าช้าง ม้า และโคอุสภะได้ชำแรกแผ่นดิน เอาหลังดุนกันผุดขึ้นมาในพื้นที่ประมาณ๘ กรีสหรือเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐๐ เมตร อยู่ด้านหลัง บ้านของท่านเศรษฐีเอง แพะเหล่านี้เกิดขึ้นมาด้วย กำลังบุญของท่านเศรษฐี เป็นแพะกายสิทธิ์ที่สามารถนำความสมปรารถนามาให้กับเจ้าของ และผู้ที่มาขอ สมบัติต่างๆ ได้
 

     ในปากแพะจะมีกลุ่มด้ายอยู่ ๕ สีด้วยกัน เมื่อ ใครต้องการสิ่งของชนิดไหนให้ดึงด้ายสีนั้น พอดึงด้ายเส้นนั้นออกมาสิ่งที่ตัวเองปรารถนาจะออกมาด้วย กลุ่มด้าย ๕ สีที่ถักทอเป็นกลุ่มๆ คือ เส้นด้าย สีเขียว สีเหลืองทอง สีแดง สีขาวเงิน และสีส้มแต่ละสีถักเป็นเชือกเป็นกลุ่มๆ อยู่ในปากแพะ ไม่ได้ ห้อยออกมาข้างนอกระเกะระกะเลยแม้เพียงนิดเดียว พอตั้งจิตอธิษฐานปรารถนาในสิ่งใด แพะจะอ้าปากให้ สมมุติว่าอยากได้ของกิน ต้องดึงด้ายสีเขียว ของกิน จะออกมาทันที อาหารแต่ละชนิดจะออกมาเป็นห่อและมีภาชนะใส่อย่างดีอีกด้วย

     หากประสงค์อยากได้ทองคำเป็นแท่งๆ ต้องดึง เส้นด้ายสีเหลืองทอง พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานอยาก ได้ทองคำไปประกอบสัมมาอาชีพทองคำเป็นแท่งๆ จะไหลออกมาจากปากของแพะทันที เส้นด้ายสีแดง เป็นจำพวกเสื้อผ้าอาภรณ์ และเครื่องประดับอยาก ได้ชุดไหนอย่างไรได้ทั้งนั้น สีขาวเงินจะเป็นเงินแท่ง เป็นกหาปณะ สามารถเอาไปจับจ่ายใช้สอยได้ทันที สีส้มเป็นจำพวกยารักษาโรค รวมทั้งเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

     แพะทองคำทำให้ชาวเมืองทั้งเมืองนั้นอยู่เป็นสุขได้ทั่วหน้า เพราะอานุภาพบุญของท่านเศรษฐีแพะเพียงตัวเดียวสามารถเลี้ยงคนได้ทั้งเมือง เลี้ยง คนได้ทั้งชมพูทวีป ใครอยากได้อะไรไปอธิษฐานเอาตามกำลังบุญของตัวไม่ต้องเข้าคิวรอให้เสียเวลาเพราะแพะกายสิทธิ์ของท่านเศรษฐีมีเป็นฝูงๆ และมีขนาดต่างๆ กัน ทำให้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเศรษฐี จึงมีนามว่า เมณฑกเศรษฐีเพราะมีแพะกายสิทธิ์ทองคำ
 

    นักสร้างบารมีทั้งหลาย... ผู้มีบุญมีปัญญาจะสอนตัวเองได้ คือสอนตัวเองว่าทำอย่างไรจึงจะมีโอกาสได้ทำบุญจะแสวงหาบุญเพราะรู้ว่าบุญจะส่งผลเป็นความสุข และความสำเร็จไปทุกภพทุกชาติและไม่มัวเสวยสุขเพียงภพชาติเดียวเท่านั้นเมื่อรู้ว่าจะได้บุญใหญ่ด้วยวิธีการใด ก็ทุ่มเทใจทำอย่างเต็มที่ โดยไม่มีความรู้สึกเสียดายทรัพย์เลย ยิ่งมีทรัพย์และมีศรัทธามากเท่าไรยิ่งทุ่มเทใจมากเท่านั้น เมื่อผลบุญบังเกิดขึ้น ก็ส่งผลเป็นอัศจรรย์ทันใจกันเลยทีเดียว

     การทำบุญปรารภหมู่สงฆ์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล อันเลิศนั้น เป็นการทำที่ถูกหลักวิชชา โดยเฉพาะบุญพิเศษจากการสร้างมหารัตนวิหารคด ที่จะรองรับ พุทธบุตรหลายแสนรูปจากทั่วโลกนั้น ในโลกยุคนี้ มีเพียงที่นี่ที่เดียวที่จะได้สั่งสมบุญเพื่อให้ได้เป็น เจ้าของแพะกายสิทธิ์ดั่งท่านเมณฑกเศรษฐีบ้าง นักสร้างบารมีในอดีตได้ทำเป็นต้นแบบให้เราเอาไว้แล้วพวกเราก็ต้องทำได้ขออย่าได้รอช้า ชีวิตนี้เรา ลิขิตเอง เราปรารถนาความเป็นผู้มีสมบัติจักรพรรดิ ตักไม่พร่องก็ต้องกล้าทำในสิ่งที่คนทั่วไปไม่กล้าที่กล้าสละความตระหนี่ แล้วมารวมพลังทุ่มให้เต็มที่ เพื่อบุญบารมีของตัวเราเองเมื่อบุญของเราเต็มเปี่ยม เป็นผู้พรั่งพร้อมไปด้วยที่สุดแห่งรูปสมบัติ ทรัพย์ สมบัติ และคุณสมบัติแล้ว จะได้เป็นที่พึ่งให้กับมวลมนุษยชาติทั้งหลายไปทุกภพทุกชาติจนกว่าจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทาง คือ ที่สุดแห่งธรรม





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related