ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย

หลายคนมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย บางคนที่เคยมาวัดแล้วก็ยังมีคำถามอยู่บ้าง แต่บางคนที่ไม่เคยมาเลย อาจจะเคยได้ยินได้ฟังจากการบอกเล่าของคนอื่นหรือจากสื่อต่างๆ บางครั้งก็อาจสื่อความหมายให้เข้าใจผิดกันได้ง่ายๆ https://dmc.tv/a14138

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข้อคิดรอบตัว
[ 23 ส.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18292 ]
ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย
 
 
โดย พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ
เรียบเรียงจากรายการข้อคิดรอบตัว ทาง DMC
 
 
ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย
 
        หลายคนมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย บางคนที่เคยมาวัดแล้วก็ยังมีคำถามอยู่บ้าง แต่บางคนที่ไม่เคยมาเลย อาจจะเคยได้ยินได้ฟังจากการบอกเล่าของคนอื่นหรือจากสื่อต่างๆ บางครั้งก็อาจสื่อความหมายให้เข้าใจผิดกันได้ง่ายๆ
 

ทำไมวัดพระธรรมกายมีสิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่โตและได้เงินทุนมาจากไหน?

 
        วัดพระธรรมกายเริ่มต้นจากเล็กๆ ตั้งแต่หลวงพ่อธัมมชโยท่านบวชเมื่อปี พ.ศ. 2512 ในพรรษานั้นเอง คุณหญิงแพทย์พงศา วิสุทธาธิบดี ท่านเห็นความตั้งใจ ท่านเลยถวายที่ดินมา 196 ไร่ เป็นจุดเริ่มต้นวัดพระธรรมกาย เป็นท้องนาเราก็สร้างศาลาเล็กๆ และหลวงพ่อก็นั่งเทศน์บนรองฟางด้วยซ้ำไป ก็มีโยมมา 20-30 ท่าน แล้วก็ค่อยๆ ทยอยเพิ่มขึ้นๆ พอเริ่มเข้าที่เข้าทางนิดหน่อยก็เริ่มงานสอนทันที หลวงพ่อว่าหัวใจสำคัญของวัดคือ ต้องสอนประชาชน วัดมีหน้าที่ 2 อย่าง คือ 1.) เป็นที่พักอาศัยและปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ 2.) เป็นที่สอนธรรมะให้ประชาชน นี่คือหน้าที่ของวัด ฉะนั้นทันทีที่เริ่มพัฒนาสิ่งก่อสร้างไปเล็กน้อยก็เท่ากับเริ่มการสอนทันที เรียกว่าทำไปใช้ไป สิ่งปลูกสร้างทั้งหลายเป็นแค่ส่วนเสริม เป็นเพียงเพื่อมารองรับการสอนธรรมะให้ประชาชนเท่านั้น ผ่านไปประมาณ 6 ปี ก็เริ่มสร้างศาลาการเปรียญ ศาลาปฏิบัติธรรมหลังแรกที่เรียกว่า ศาลาจาตุมหาราชิกา จุได้ประมาณ 400 กว่าท่าน โยมก็มาวัดกลายเป็นพัน 2-3 พัน
 
        มาในปี พ.ศ. 2538 คนมาวัดทีหลายๆ หมื่น มาจากทั่วประเทศเลย ก็ต้องใช้วิธีกางเต้นท์รองรับไปก่อน เริ่มต้นคนก็มากันไม่มาก แต่พอมาแล้วรู้สึกว่าได้ประโยชน์ คนก็พูดกันปากต่อปาก หลวงพ่อสอนให้นั่งสมาธิ(Meditation)ฟังธรรม เขารู้สึกว่าฟังเทศน์แล้วเอาไปใช้ประโยชน์ได้ นั่งสมาธิแล้วดีจังเลยทำให้ชีวิตมีความสุข รู้สึกว่าครอบครัวดีขึ้น การงานดีขึ้น ทุกอย่างดีขึ้นหมด คนก็มาเพิ่มขึ้นๆ เริ่มต้นหลวงพ่อท่านตั้งใจจะให้มีพระอยู่ที่วัดแค่ 20 รูปเท่านั้นเอง สิ่งที่เป็นประจักษ์พยานนั่นคือการออกแบบกุฏิแต่ละหลังนั้นจะอยู่ห่างๆ กัน จะได้สะดวกต่อการปฏิบัติอย่างสงบ กันเขตสังฆาวาสอย่างชัดเจนเลย ทั้งวัดออกแบบไว้ให้มีกุฏิแค่ 20 หลัง เพราะเตรียมรับพระแค่ 20 รูป ในวันจันทร์ถึงวันเสาร์ก็สอนตัวเอง วันอาทิตย์ก็สอนญาติโยมประชาชน แต่พอคนมามากขึ้นๆ เสียงเรียกร้องของประชาชนก็ตามมา เราจะไปห้ามไม่ให้คนเข้าวัดก็ไม่ได้ ก็เลยต้องขยายพื้นที่สร้างศาลาหลังคาใบจาก พื้นเป็นหินเกร็ด เสาปูน โครงเหล็ก ใช้เวลาสร้าง 3 เดือนก็ใช้งานได้เลยเพราะประหยัดที่สุด นโยบายของหลวงพ่อท่านต้องการให้สิ่งปลูกสร้างทั้งหลายมีไว้เพื่อรองรับการสอนธรรมะเท่านั้น หลังนี้มีพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร จุคนได้ประมาณหมื่นกว่าคน ก็พอใช้ต่อมาได้อีกประมาณ 10 ปี คนก็มาเกินกว่านั้นแล้ว ก็กางเต้นท์รอบๆ นั้นอีกแต่เป็นหลังใหญ่หน่อย
 
ทำไมวัดพระธรรมกายจึงมีสิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่โต
ทำไมวัดพระธรรมกายจึงมีสิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่โต
 
        ในปี พ.ศ. 2537 มีงานหล่อรูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่สด จันทสโร ด้วยทองคำ มีคนมาวัดเป็นแสนคน ไม่มีทางเลยที่สภาหลังคาจากที่รองรับคนได้แค่ 15,000 คน และเต้นท์โดยรอบๆ จะรองรับคนจำนวนเป็นแสนได้ เพราะพื้นที่มีจำกัด จึงจำเป็นต้องขยายพื้นที่ด้านหลังออกไปอีก 2,000 ไร่ และที่ปฏิบัติธรรมก็เป็นกลางแจ้ง เป็นพื้นดินที่เอาทรายมาโรยจะได้ไม่เปื้อน เสาก็ใช้เสาไม้สนมุงด้วยสาแลงที่เขาใช้ในเรือนเพาะชำขึงไว้ 2-3 ชั้นเพื่อกันแดดได้ นี่คือที่ปฏิบัติธรรมที่คนมากันเป็นแสนในยุคนั้น ใช้อย่างนี้อยู่ 2 ปี มันก็ใช้ได้ชั่วคราว พอโดนลมโดนฝนหน่อยมันก็พัง พอจะจัดงานใหม่ก็ทำกันอีกครั้ง
 
        พอมาถึงวันวิสาขบูชาในปี พ.ศ. 2539 ฝนมา 3-4 รอบเลย จนกระทั่งโยมไม่มีที่นั่ง พระเณรก็ช่วยกันทั้งคืนไม่มีใครได้จำวัดกันเลย ต้องหาผ้ามาคอยซับน้ำตามแอ่งต่างๆ ออกไปให้หมด เพื่อให้ทันในวันรุ่งขึ้นที่สาธุชนจะมากันเป็นเรือนแสนคน เช้ามาก็แจกแผ่นพลาสติกให้สาธุชนได้รองนั่ง ขนาดนั้นก็ยังมีสาธุชนอีกประมาณ 50,000 คนต้องไปนั่งรอบๆ เพราะที่ไม่พอนั่ง ทุกคนจึงเห็นแล้วว่าเราจะอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ได้แล้ว ต้องสร้างศาลาจึงได้เกิดศาลาที่จุคนได้หลายๆ แสนคน ทุกอย่างเกิดจากความจำเป็น ถ้าไม่สุดโต่งจริงๆ ก็ไม่ทำ สิ่งปลูกสร้างทั้งหลายที่เห็นเกิดจากความจำเป็นทั้งนั้นเลย นี่คือที่มา
 

พื้นที่ดินในวัดพระธรรมกายนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร?

 
        เริ่มต้นก็คือที่ข้างวัด มีคนเขามาเสนอขายทางวัดก็บอกไม่เอา มีแค่ 196 ไร่นั้นก็พอแล้ว เริ่มต้นเราก็คิดกันอย่างนั้น แต่พอคนมามากขึ้นๆ โยมเองมาบอกหลวงพ่อว่าไม่ไหวแล้วต้องขยายพื้นที่กันแล้ว แต่ด้านข้างวัดเขาก็ทำเป็นที่จัดสรรเป็นบ้านจัดสรรไปแล้ว ผลคือต้องไปซื้อที่ทีละแปลงๆ เป็น 100 แปลงกว่าจะหมด แปลหนึ่งก็ 100 ตารางวาบ้าง ด้านข้าง 100 กว่าไร่ ด้านหลังนั้นง่ายหน่อย เป็นกองมรดกของตระกูลสนิทวงศ์ หม่อมราชวงศ์ สุวพรรณ สนิทวงศ์ ซื้อจากกองมรดกเจ้าเดียวนั้นง่าย แต่ปัญหาคือไม่มีเงินซื้อ จึงใช้เวลาผ่อนตั้งหลายปีกว่าจะซื้อได้เป็นพันๆ ไร่อย่างนั้น
 
พื้นที่ดินโดยรอบวัดพระธรรมกาย
พื้นที่ดินโดยรอบวัดพระธรรมกาย
 
        ถามว่าปัจจัยทั้งหลายทั้งซื้อที่ และสร้างศาลาศาสนสถานทั้งหลายมาจากไหน ปัจจัยก็มาจากญาติโยมนั่นแหละ เพราะเราใช้วิธีการสอนประชาชนให้เขาเห็นประโยชน์ ว่าธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ไปกว้างขวางอย่างนี้นั้นดี เมื่อเป็นความเห็นร่วมของญาติโยมทั้งหมดที่เห็นพ้องต้องกัน เขาก็มาช่วยกันคนละไม้คนละมือ บางคนมีเงินไม่มาก ทำบุญ 10 บาท ทำมาแล้วตั้ง 20 กว่าปี ก็ยังมาเล่าให้ฟังด้วยความปลื้มปีติใจไม่รู้ลืม ใบอนุโมทนาบัตรยังเก็บไว้เลย ตอนนั้นมีเงิน 10 บาทก็ทำได้แค่นั้น พอหลังๆ มามีเงินทำเป็นล้านก็ยังไม่ปลื้มเท่าตอนทำแค่ 10 บาทเลย เพราะ 10 บาทตอนนั้นมันหมดกระเป๋าจริงๆ โยมเขาก็มาช่วยกันอย่างนี้แหละ พระก็มีหน้าที่สอนญาติโยม ทำไปใช้ไปอย่างนั้นเอง เกิดตามความจำเป็น แล้วก็ไม่ต้องไปกังวลว่าสร้างใหญ่โตขนาดนี้แล้วจะมีใครมาใช้หรือ อย่างพื้นที่ลานมหาธรรมกายเจดีย์นั้น โดยรวมแล้วจุได้ประมาณ 1 ล้านคน ปรากฎว่าขนาดสร้างยังไม่ทันเสร็จคนก็ล้นอีกแล้ว ก็ทำไปใช้ไปอีกนั่นแหละ เชื่อว่าธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นดีจริง ขอให้พระตั้งใจปฏิบัติดีจริงๆ ตั้งใจอบรมประชาชนจริงๆ แล้วเขาจะเห็นประโยชน์แล้วมาสนับสนุนงานพระพุทธศาสนา ช่วยกันสร้างช่วยกันใช้ เพราะวัดเป็นของชาวพุทธทุกคนไม่ใช่ของเจ้าอาวาสหรือของพระ และหน้าที่ของพระคือเป็นผู้ดูแลอำนวยความสะดวก และสอนธรรมะให้ญาติโยมเท่านั้นเอง
 
ทำไมรูปแบบสิ่งปลูกสร้างของวัดพระธรรมกาย ดูแปลกแตกต่างไปจากวัดอื่น?
 
        พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านยึดหลักอย่างนี้ว่า ประโยชน์สูงประหยัดสุด ดังนั้นการก่อสร้างคือทำให้เรียบง่ายแต่คงทนถาวร ให้มีการซ่อมบำรุงน้อยที่สุด ดังนั้นแบบโบสถ์จะเห็นว่าไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ จริงๆ ถ้ามีแบบนั้นก็สวยมากนะแต่ต้องซ่อมบ่อยมาก เราก็เลยยึดหลักที่ว่าเมื่องบประมาณมีน้อยก็ให้ประหยัดที่สุด ดังนั้นรูปแบบโครงสร้างก็เป็นตัวสันหลังคาโบสถ์ไปด้วย เราเอาตัวโครงสร้างเองที่เป็นตัวรองรับน้ำหนักเป็นหลังคาไปในตัวเลย เป็นรูปแบบที่ประหยัดที่สุด โบสถ์ทั้งหลังใช้งบประมาณ 10 ล้านบาทเท่านั้น ตอนนี้ไม่มีทางสร้างได้เลยถ้าใช้เงินแค่ 10 ล้าน
 
ลักษณะโบสถ์วัดพระธรรมกาย
ลักษณะโบสถ์วัดพระธรรมกาย
 
        ศาลาอย่างอื่นก็ทำในทำนองเดียวกัน เน้นให้ซ่อมบำรุงน้อยที่สุด แต่ขณะเดียวกันเมื่องานขยายกว้างมากไป สิ่งใดที่เป็นศูนย์รวมใจก็เน้นว่าทำให้ดีเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ชาวโลกทั้งหลายจะได้เห็นว่าชาวพุทธนั้นมีความศรัทธา และมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างไร
 
        สมัยเริ่มสร้างโบสถ์ใหม่ๆ ก็มีคนถามว่าทำไมไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ แต่เดี๋ยวนี้คำถามไม่ค่อยมีแล้ว เพราะโบสถ์รูปทรงแบบพิเศษมีมากมาย อย่างเช่นที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ที่สมัย ร.5 ท่านสร้างไว้ที่อยุธยา ก็ไปจำลองโบสถ์คริสต์มา แบบนี้ก็มี บางที่ก็เป็นแบบโบสถ์ลานหินโค้งที่สวนโมกข์ฯ ไชยา ท่านพุทธทาส ก็มีรูปแบบหลากหลายตามสภาพพื้นที่ ไม่ได้ผิดพระวินัยอะไรเลย
 
ทำไมคนที่มาวัดพระธรรมกายแล้วต้องติดใจ อยากมาอีกเป็นประจำให้สม่ำเสมอ?
 
        ถ้ามาวัดแล้วติดวัดนั้น อาตมาว่าดีนะ แต่ถ้าไปติดบาร์ ติดผับ ติดการพนันแล้วท่าทางจะแย่ แต่จริงๆ แล้วต้องบอกว่าที่วัดนั้นเราถือธรรมเป็นใหญ่ มาถึงให้นั่งสมาธิกันเลยเป็นชั่วโมงไม่ใช่แค่ 5-10 นาที แรกๆ อาจจะเมื่อยบ้างพอนั่งต่อไปเรื่อยๆ ใจก็เริ่มสงบ เริ่มนั่งได้ เสร็จแล้วก็ให้ฟังเทศน์ บางคนบอกว่าที่มานี้อยากจะมาดูหมอก็ต้องบอกว่าไม่มี บางที่เขาก็อยากเอาใจญาติโยมก็เอาเซียมซีมาตั้ง เอาเจ้าพ่อเจ้าแม่อะไรต่างๆ มาให้เขากราบไหว้หน่อย เพื่อจะได้ดึงคนเข้าวัด แต่หลวงพ่อเจ้าอาวาสท่านไม่เลย ทั้งหมดให้ถือธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ เซียมซี ดูหมอ ใบ้หวย เจ้าพ่อเจ้าแม่ อะไรต่างๆ เหล่านี้ไม่เอาเลย ให้มีแต่ธรรมะของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่วัดพระธรรมกายจะมีแต่พระรัตนตรัยเท่านั้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างอื่นที่ไม่ใช่พระรัตนตรัยนั้นไม่เอาหมดเลย และสอนให้ประชาชนที่มาวัดรู้จักการให้ทาน รักษาศีล และทำสมาธิเจริญภาวนา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทุกชนิด พอเป็นอย่างนี้แล้วคนที่จะติดก็คือคนที่มีเชื้อดีอยู่ในใจ แต่ก็ใช่ว่ามาแล้วจะติดทุกคนนะ บางคนมาครั้งเดียวแล้วไม่มาอีกก็มีเหมือนกัน แต่คนที่มาแล้วรู้สึกว่าดีมาแล้วสบายใจ มาปฏิบัติธรรมศึกษาธรรมะแล้วดีเขาก็มาอีก จริงๆ ที่เขาติดนั้นไม่ได้ติดอะไร แต่ติดในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง ว่าถ้าเราถือธรรมเป็นใหญ่แล้วเราเชื่อพระพุทธเจ้า และเดินตามที่พระองค์ทรงสอนเอาไว้ ผลก็คืออย่างที่เห็น นอกจากคนจะไม่ลดแล้วแต่กลับเพิ่มขึ้นๆ และเป็นคนที่มีคุณภาพด้วย คือมาวัดด้วยศรัทธาไม่ใช่มาเพราะจะมาเสี่ยงเซียมซี ขอหวย แต่มาเพื่อที่ต้องการศึกษาธรรมะ มาอย่างนี้เป็นการมาอย่างมีคุณภาพ วัดก็ได้ทำหน้าที่วัดจริงๆ พระก็ได้ทำหน้าที่ของพระจริงๆ ญาติโยมก็ได้ทำในกิจที่เขาควรทำจริงๆ ทุกคนก็มีความสุขความเจริญ
 
จริงหรือไม่ที่มีคนบอกว่า ผู้ที่จะเข้าวัดมาทำบุญที่วัดพระธรรมกายมีแต่คนรวยๆ ทั้งนั้น?
 
        คนที่บอกว่าวัดพระธรรมกายมีแต่คนรวยเข้า จริงๆ แล้วเขาข้ามไปนิดเดียว คนมาวัดมีทั้งคนรวยและคนไม่รวย แต่ว่าคนที่เข้าวัดมานานๆ แล้วมักจะรวย คือเริ่มต้นไม่รวย แต่พอเข้าวัดนานเข้าๆ นำหลักธรรมไปใช้ ชีวิตมีความสุข การงานเจริญก้าวหน้า ก็เลยรวยขึ้นๆ มีแบบนี้นั้นเยอะเลย บางคนเริ่มต้นมาทำบุญแค่ 10 บาท แต่ตอนหลังทำทีเป็นล้าน เพราะฐานะเขาดีขึ้นเขาก็ทำได้มาก และเขาก็เห็นคุณว่าเป็นเพราะธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่เขาไปเรียนรู้และปฏิบัติเขาถึงได้มีความสุขความเจริญ เขาก็มาบำรุงวัดเพื่อที่ว่าคนอื่นๆ จะได้มีโอกาสมาศึกษาอย่างนี้บ้าง
 
        อาตมาเองมีประสบการณ์ตรงอันหนึ่ง คือ ตอนไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น พอการศึกษาเริ่มอยู่ตัวก็เลยสร้างวัด เพราะมีญาติโยมเรียกร้องเยอะมาก เริ่มต้นคนมาวัดนั้นมีหลากหลาย เขามาเพราะว่าอยู่เมืองนอกมานานก็เหงา ได้เห็นผ้าเหลืองก็ดีใจแม้จะไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว พอรู้ว่ามีพระมีวัดเขาก็มากัน มาถึงก็ตามธรรมเนียมไทย ให้พระอาจารย์ช่วยดูลายมือให้หน่อย ก็บอกไปว่าที่นี่ไม่มีอย่างนั้น และโยมคนไหนมาถึงบอกว่า ไม่ค่อยสบายใจอยากจะให้ช่วยสะเดาะเคราะห์ให้หน่อย ก็ให้สวดมนต์ นั่งสมาธิ รักษาศีลให้ดี เมื่อบุญเกิดแล้วบุญนั้นก็จะไปแก้ไขเคราะห์นั้นเอง ก็เอาหลักของที่วัดไปใช้ให้นั่งสมาธิชั่วโมงกว่า บ่ายฟังเทศน์ มีเหมือนกันบางคนที่มาครั้งเดียวแล้วหายไปเลย แต่ปรากฏว่าคนที่อยู่ต่อๆ มานั้นชีวิตดีขึ้น แล้วกลับมาทำบุญบำรุงวัดนั้นไม่น้อยเลย น่าสรรเสริญน้ำใจอย่างยิ่ง สิ่งที่เขาบำรุงวัดที่นั่นมหาเศรษฐีเมืองไทยยังสู้ไม่ได้เลย น้ำใจคนไทยในต่างแดนที่ฐานะไม่ได้ร่ำรวยอะไร แต่พอเห็นศรัทธาและรู้ว่าธรรมะพระพุทธเจ้าดีอย่างไรแล้ว มาสนับสนุนบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างนี้ ก็ปรากฏว่าเมื่อทำบุญกับวัดมากขนาดนี้ฐานะทางบ้านก็ดีขึ้น ในขณะที่คนอื่นที่มาด้วยกันแล้วไม่ได้เข้าวัด ปรากฏว่าไม่มีอะไรเหลือเลย เพราะไม่ได้ทำบุญแต่มีความเครียดก็ไปเล่นการพนัน กินเหล้า ไปหาอบายมุขต่างๆ สุดท้ายหมดไม่มีเหลือเลย แต่คนเข้าวัดนั้นกลับเหลือ คือได้ทั้งบุญ และอาชีพการงานครอบครัวตัวเองก็มั่นคงขึ้นด้วย นี้คือเครื่องพิสูจน์ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นของจริง ขอให้เราเองยึดมั่น เชื่อมั่นในธรรมะของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ อย่าไปออกนอกลู่นอกทาง แล้วเราก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง
 
คนที่ทำบุญด้วยเงินจำนวนน้อย จะได้อานิสงส์เหมือนหรือต่างจากคนที่ทำมากหรือไม่?
 
        ต้องเริ่มต้นอย่างนี้ก่อนว่า มีคำๆ หนึ่งที่ว่า เมื่อมีจิตเลื่อมใสแล้ว ทักษิณาทานหาใช่ว่าเป็นของน้อยไม่ ขนาดจะไปบูชาเจดีย์ไม่มีทรัพย์เลย ได้แค่ดอกบวบขม 4 ดอกที่เก็บจากข้างทางเพื่อนำไปบูชา อานิสงส์ยังส่งให้ไปเกิดบนสวรรค์เลย ขอให้ใจมีความเลื่อมใส คราวนี้ถ้าใจเลื่อมใสเท่ากันแล้วจะเป็นอย่างไร ก็ต้องดูว่าเงื่อนไขที่จะให้ได้บุญมากนั้นพระพุทธเจ้าบอกว่าต้องมีครบองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ
 
        1. วัตถุทานบริสุทธิ์ ดอกบวบขมข้างทางนั้นก็ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ถ้าทำบุญมากแต่ไปโกงเขามาบุญที่เกิดขึ้นก็น้อย ทรัพย์ที่ทำบุญน้อยแต่ว่าได้มาด้วยความสุจริตบุญที่เกิดขึ้นก็มากกว่า ฉะนั้นของที่จะให้ คือวัตถุทานนั้นต้องบริสุทธิ์ก่อน
 
        2. เจตนาบริสุทธิ์ ทั้งก่อนให้ก็เลื่อมใส ขณะให้ก็ตั้งใจ หลังให้แล้วเมื่อระลึกถึงก็ปลื้มอกปลื้มใจ ยิ่งเลื่อมใสมากบุญก็ยิ่งมาก ทำบุญ 1 บาท แต่ทั้งเนื้อทั้งตัวมีอยู่แค่ 1 บาท เลื่อมใสจริงๆ ถวายไปหมดเลย บุญก็เกิดขึ้นมหาศาล เพราะมีความเลื่อมใส ถ้าเกิดทำบุญเป็นล้านแล้วรู้สึกเฉยๆ ทำไปเสียมิได้ ทำเพื่อเอาหน้า ก็ได้บุญนิดเดียว
 
        3. บุคคลบริสุทธิ์ ผู้รับถ้าเป็นพระภิกษุที่อยู่ในศีลในธรรม เป็นเนื้อนาบุญ ยิ่งมีคุณธรรมสูงเท่าไหร่ เราก็ยิ่งได้บุญมาก และตัวเราเองในฐานะเป็นผู้ให้ทานถ้าอยู่ในศีลในธรรมมากเท่าไหร่บุญก็ยิ่งมาก เพราะเป็นบุคคลบริสุทธิ์
 
        ฉะนั้น 3 เงื่อนไขนี้เป็นตัววัดว่าจะได้บุญมากหรือน้อย ถ้าเงื่อนไขบุคคลคนเดียวกัน ความศรัทธาเท่ากัน วัตถุก็บริสุทธิ์เหมือนกัน ก็แน่นอนว่าถ้าทำมากก็ย่อมได้มากไปตามส่วน แต่ไม่ใช่ตัวชี้ขาด จะมาวัดจากตัวเงินอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูจากความเลื่อมใส ความตั้งใจ ทั้งหมดประกอบกันด้วย
 
        การทำบุญนั้นก็ควรทำตามกำลังของเรา คนไหนมีกำลังทรัพย์มากเขาก็ทำมากก็ไม่ผิด คนไหนมีน้อยก็ทำตามกำลังของตัวเอง อาตมาเคยเห็นคนที่มาวัดพระธรรมกาย ตัวเขาเองนั่งจบพนมมืออยู่หน้าตู้บริจาคตั้งนาน จริงๆ ในมือก็มีเหรียญบาทอยู่ 1 เหรียญ เหรียญ 5 บาท 1 เหรียญ มาวัดแล้วค่ารถนั้นวัดออกให้ อาหารที่วัดก็เลี้ยง ฉะนั้นคนจนที่สุดก็สามารถมาวัดพระธรรมกายได้ อยู่ใน กทม. ขึ้นรถมาก็มาฟรี
 
        ถามว่าทำไมต้องเลี้ยงข้าว ทำไมต้องมีรถให้มาวัดฟรี เพราะมีนโยบายตั้งแต่สร้างวัดแล้วว่า เราไม่ควรให้ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องกีดกั้น จำกัดการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อต้องการเปิดกว้างว่า คนทุกชั้นทุกวรรณะสามารถมาวัดได้ ถ้าวัดมีความคิดที่จะรับแต่คนรวยนั้น รับรองเลยว่าไม่ต้องหาข้าวให้เขากินหรอก เพราะเขาสามารถหากินกันเองได้ และไม่ต้องจัดรถมาให้เพราะเขามีรถขับมาเองได้ แต่เพราะมันไม่ใช่อย่างนั้น ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดจนถึงปัจจุบัน จัดรถมาวัดฟรี เลี้ยงข้าวฟรี คนจนที่สุดก็มาวัดได้ เมื่อเขามาถึงได้ศึกษาปฏิบัติ พอชีวิตดีขึ้นเขาก็กลับมาบำรุงวัด พอรวยแล้วก็มาบุญได้ทีละมากๆ เพราะการที่เราจัดรถมาวัดฟรี เลี้ยงข้าวฟรี ถามว่าเอาเงินมาจากไหน ก็เอาเงินมาจากคนที่เขามีทรัพย์มาก  เขาก็ทำมากตามกำลังของเขาเพราะเขาก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ทำแล้วทรัพย์ตรงนี้ก็กลายเป็นเสนาสนะบ้าง เครื่องอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติธรรมบ้าง เป็นค่าใช้จ่ายให้กับคนที่เขายังมีทรัพย์น้อยอยู่ นี้คือการเกื้อกูลกันระหว่างคนรวยและคนที่กำลังจะรวยในอนาคต มันเป็นความเอื้อเฟื้อกันของคนในสังคมโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางจุดร่วม ทำได้ตามกำลังเราเอง ไม่มีใครไปบังคับเราได้หรอก เพราะเป็นเงินในกระเป๋าเรา เราพอใจเท่าไหร่เราก็ทำเท่านั้น

http://goo.gl/eu4eN


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำไมจีวรพระต้องเป็นสีเหลือง
      ขอไม่นับถือพระสงฆ์
      ข้อคิดธรรมะของพระสุธรรมญาณวิเทศ (สุธรรม สุธมฺโม) จากหนังสือ "หน้าสุดท้าย"
      I can’t respect monks, can I?
      กราบไหว้ทำไม งมงาย !
      Why do people have to pay homage? Ignorant!
      โซเดียม อันตรายใกล้ตัว
      บวชให้สุก
      พลังหญิง
      ตักบาตรใส่บุญ(ตอนที่2)
      ตักบาตรใส่บุญ (ตอนที่1)
      ปัญหามรดก
      ยิ่งใหญ่ในรายละเอียด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related