คุณสมบัติของกัลยาณมิตรและการปฏิบัติธรรม วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ตุลาคม พ.ศ.2550 หน้า 44
หน้าที่ 44 / 84

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงคุณสมบัติสำคัญในการเป็นกัลยาณมิตรที่สามารถสอนผู้อื่นได้ เช่น ความเมตตากรุณา การอดทนต่อถ้อยคำ และความสามารถในการอธิบายเรื่องลึกล้ำให้เข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังพูดถึงความสำคัญในการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ซึ่งทำให้สามารถสอนผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการตรวจสอบตนเองหรือผู้อื่นผ่านมรรคมีองค์ 8 เพื่อไม่ให้หลุดจากเส้นทางธรรม.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของกัลยาณมิตร
-การปฏิบัติธรรม
-ความเมตตากรุณา
-การสอนผู้อื่น
-เส้นทางมรรคมีองค์ 8

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๔๒ ทั้งหมดนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผู้ฉลาดใน การพร่ำเตือนสั่งสอนได้ทุกคน แต่ผู้ที่มีคุณสมบัติ ประการนี้ คือผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนกระทั่งเห็นผลกับ ตัวเอง รู้ว่าอุปสรรคเวลาลงมือปฏิบัติจริงอยู่ตรงไหน เมื่อถึงคราวต้องสอนผู้อื่น ก็สามารถบอกได้เป็นขั้น เป็นตอนชัดเจน ยิ่งถ้ามีความชำนาญมากเท่าไร พูด แล้วแทงทะลุเข้าไปในใจเลยทีเดียว เพราะเส้นทางนี้ ท่านเหล่านั้นได้ผ่านมาแล้ว ผู้ฉลาดในการตักเตือนพร่ำสอนนี้ จะต้องเป็น ผู้มากด้วยความเมตตากรุณา ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ ยิ่งใหญ่ของกัลยาณมิตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของ เรา เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่นั้น ชาติใดที่เกิดเป็นคน พระองค์ก็ทรงสอนคน หาก ชาติใดวิบากกรรมมาตัดรอนให้ต้องไปเกิดเป็นสัตว์ พระองค์ก็ทรงสั่งสอนสัตว์ด้วยกัน บางครั้งแม้เป็น สัตว์ก็ยังสอนคนอีกด้วย นี่คือหัวใจกัลยาณมิตร ที่แท้จริง นอกจากฝึกตัวเองแล้วยังฝึกผู้อื่นให้ทำ ความดีตามไปด้วย ประการที่ ๕ วจนักขโม แปลว่า เป็นผู้ที่อดทน ต่อถ้อยคํา ผู้ที่จะเป็นกัลยาณมิตรได้นั้นต้องมีกรุณาธรรม อย่างยิ่งยวด อดทนทั้งถ้อยคำที่ยอกย้อน ยั่วยุ ยียวน ของลูกศิษย์ หรือของผู้ที่เราไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร เพราะการที่จะไปเปลี่ยนความเข้าใจของคนนั้นไม่ใช่ เรื่องง่าย ต้องทนเขาให้ได้ แล้วจึงจะสอนและ แนะนำเขาได้ อุปมาการอดทนต่อถ้อยคำนี้เหมือน ดังแผ่นดินที่ไม่สะเทือน ไม่หวั่นไหว ไม่ว่าใครจะเอา ของสกปรกหรือของหอมมาเทรด ประการที่ ๖ คัมภีรัญจกถัง กัตตา แปลว่า เป็นผู้ที่สามารถแถลงเรื่องลึกล้ำ การแถลงเรื่องลึกล้ำ คือ สามารถอธิบายเรื่อง ที่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น นรก สวรรค์ นิพพาน เป็นต้น ก็สามารถหาอุปมาอุปไมยมาขยายความจนกระทั่ง เข้าใจได้ง่าย สามารถเปลี่ยนเรื่องที่เป็นนามธรรม มาเป็นรูปธรรมให้เห็นเป็นภาพชัดเจนขึ้นมา ขอให้เรามีความเพียรที่จะปฏิบัติธรรมให้เข้าถึง พระธรรมกายให้ได้ เมื่อเราเข้าถึงได้แล้วจะสามารถ ชี้แจงเรื่องลึกล้ำได้โดยอัตโนมัติ อุปมาเหมือนหงาย ภาชนะที่คว่ำ หรือเหมือนจุดคบเพลิงในที่มืด ให้คน ตาดีได้มองเห็นแจ่มแจ้ง ส่วนใครที่ปฏิบัติธรรมยังไม่เข้าถึงพระธรรมกาย งานในหน้าที่กัลยาณมิตรเราก็ทำกันไป ในขณะ เดียวกันก็ต้องแบ่งเวลามานั่งภาวนาให้มากขึ้นด้วย เพื่อเราจะได้ฝึกความสามารถในการชี้แจงอธิบายนี้ ให้ได้และใช้คุณสมบัตินี้เพื่อทำหน้าที่กัลยาณมิตร ให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป ประการที่ ๒ ใน จัฏฐาเน นิโยชเย แปลว่า เป็นผู้ไม่ชักนำในทางผิด คุณสมบัติประการสุดท้ายนี้ถือว่าสำคัญที่สุดใน คุณสมบัติทุกประการที่กล่าวมา การที่จะตรวจสอบ ว่า ตัวเราเองหรือผู้ที่มาเป็นกัลยาณมิตรให้เรานั้นมี คุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ ให้เราใช้มรรคมีองค์ เป็นหลักธรรมในการตรวจสอบ หากพบว่าใครมาดึง เราให้หลุดไปจากเส้นทางมรรคมีองค์ ๘ นี้ ให้เรา รู้ว่า บุคคลผู้นั้นไม่ใช่กัลยาณมิตร มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฐิ คือ มีความเห็นถูกต้องตามความ เป็นจริง มีความเข้าใจถูกว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ มีความคิดที่ถูกต้อง ๓. สัมมาวาจา คือ พูดในสิ่งที่ควรพูด พูดใน สิ่งที่ถูกต้อง ได้แก่ ไม่โกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูด คำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๔. สัมมากัมมันตะ คือ มีการงานชอบ ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่เจ้าชู้ ๕. สัมมาอาชีวะ คือ มีอาชีพที่ชอบ ถ้าอยู่ ทางโลกก็ไม่ไปค้าขายในสิ่งที่ผิดศีลธรรม แม้ไม่ผิด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More