การครองเรือน: การจัดการกับคนที่ไม่เกรงใจในบ้าน หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองเรือน หน้า 9
หน้าที่ 9 / 68

สรุปเนื้อหา

การครองเรือนมักนำมาซึ่งความท้าทาย โดยเฉพาะเมื่อมีคนอาศัยอยู่ในบ้านแต่ไม่เกรงใจเจ้าของบ้าน บทความนี้เตือนให้ระมัดระวังในการเลือกคนที่จะเข้ามาอยู่ในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรับคนต่างๆ เข้ามาในชีวิต ความสำคัญของนิสัยใจคอและการประเมินขก่อนการให้ใครเข้ามาอยู่ร่วมกัน และข้อคิดจากโบราณ ‘เข้าง่ายออกยาก’ ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจที่ต้องรอบคอบในการเลือกบุคคล สุดท้ายเสนอวิธีการในการจัดการให้เขากลับไปอยู่บ้านของตนเองหากเขาไม่เกรงใจ.

หัวข้อประเด็น

-การเลือกรับคนเข้าบ้าน
-การใช้คำสอนโบราณ ‘เข้าง่ายออกยาก’
-การประเมินนิสัยคน
-การจัดการความสัมพันธ์ในครอบครัว
-การสร้างข้อตกลงและความเคารพระหว่างกัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองเรือน Q. เข้าจ่ายออกยาก จะทำใจอย่างไรคะ เมื่อไม่พอใจคนในบ้าน เขาเป็นคนอาศัยเรา อยู่ แต่กลับไม่เกรงใจเราเลย ? ก่อนจะรับใครเข้ามาอยู่ในบ้าน จะมาอยู่ในฐานะลูกจ้าง ใน ฐานะเพื่อน ในฐานะสามี ในฐานะภรรยา หรือในฐานะอะไรก็ตาม โบราณท่านพูดไว้ประโยคหนึ่งว่า “เข้าง่าย ออกยาก” การรับใครมาเป็นคนใช้ในบ้าน ถ้ารับง่ายๆ ระวังเถอะ วันที่ จะให้เขาออกจากบ้าน ออกจากงานมันจะยุ่ง วันออกอาจจะมีการเผา บ้าน มีการปล้นเจ้าของบ้าน ขนาดเชือดคอลูกเจ้าของบ้านก็มีมาแล้ว แม้ที่สุดรับเขามาเป็นสามี รับเขามาเป็นภรรยา วันเลิกร้างจะให้เขาออก จากบ้าน ที่เกิดเรื่องตบตีเตะกันซี่โครงหักก็มีมาแล้ว ก็อยากจะเตือนสำหรับผู้ที่ยังคิดที่จะให้ใครมาอยู่ด้วยละก็ ดู นิสัยใจคอกันก่อนนานๆ นะ อย่าลืมคำโบราณ “เข้าง่าย ออกยาก” สำหรับในกรณีของคุณโยม รับเขามาอาศัย แต่เขาก็ไม่เกรงใจ จริงอยู่คุณนั้นมีความดีตรงที่มีเมตตา แต่ความประพฤติส่วนตัวของ คุณอย่างอื่นบกพร่องไหม ถ้าบกพร่อง ก็น่าหรอกที่เขาจะไม่เกรงใจ แต่ ถ้าเราไม่บกพร่องแล้ว เขายังไม่เกรงใจเรา บ้านของเราแท้ๆ เขายังไม่ เกรงใจ ก็ให้เขากลับไปอยู่บ้านของเขาเอง ก็จบ แต่อย่าลืมนะว่า เข้า ง่าย ออกยาก เรื่องไม่จบง่ายๆ หรอก หากุศโลบายให้เขาออกดีๆ ก็ แล้วกัน ห ล ว ง พ่ อ ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More