การจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ กับการเลี้ยงดูเด็ก หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองเรือน หน้า 20
หน้าที่ 20 / 68

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ โดยเปรียบเทียบกับการจัดการปัญหาของชาติอื่น ซึ่งอธิบายถึงวิธีการเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทยว่ามักจะมีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องมากเกินไป ขณะที่ในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จะปล่อยให้เด็กหาวิธีแก้ไขปัญหากันเอง ซึ่งสร้างนิสัยที่แตกต่างในการแก้ปัญหาในสังคม โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งหรือความไม่ลงรอยกันในหมู่คนไทยเอง ในบทความยังได้กล่าวถึงความรักอิสระของคนไทย ที่มักไม่สามารถรวมตัวกันได้ในต่างประเทศเมื่อมีปัญหา

หัวข้อประเด็น

-ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ
-การเลี้ยงดูเด็กในไทย
-วัฒนธรรมการแก้ปัญหา
-การรวมกลุ่มของคนไทยในต่างประเทศ
-การใช้บุคคลที่สามในการไกล่เกลี่ย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองเรือน ๗. ทำไมรถติดนัก การจราจรติดขัดมากในกรุงเทพฯ ประเทศอื่นรถยนต์เขาก็มีกัน ตั้งมาก ทำไมเขาไม่มีปัญหารถติดมากๆ อย่างเรา ? การจราจรติดขัด เกิดจากการไม่ยอมลดราวาศอกให้กัน และกัน และการไม่ยอมกัน ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดในเรื่องที่ คนไทยส่วนใหญ่เลี้ยงลูกไม่เป็น วิธีเลี้ยงลูกไม่ค่อยถูกต้อง เอาง่ายๆ ถ้าลูกทะเลาะกันหรือลูกไม่ลงรอยกัน ถามว่าแม่จะ ห้ามไหม มีไม่กี่คนที่ไม่ห้าม ส่วนมากจะเข้าห้าม แล้วตัดสินลงโทษ ซึ่ง บางทีก็ตัดสินพลาดไป ในทัศนะนี้ญี่ปุ่นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เขาบอกว่า ยังไงเสียเด็กก็ไม่ตีกันจนถึงตายหรอก เพราะฉะนั้นถ้าลูกทะเลาะกัน เขาจะไม่ห้าม เขาปล่อยให้เด็กหาวิธียุติปัญหากันเอง คนโตอาจจะเกรี้ยว กราดกับน้องมากไปหน่อย แต่คนเล็กก็ต้องมีวิธีการพูดเสียงอ่อยๆ ทำ ให้น่าเห็นใจ จนพี่ต้องยอม เรื่องมันก็จบ หรือถ้าพี่รังแกน้องมากเข้า น้องก็ไม่เล่นด้วย พี่ก็ต้องมาตามง้อน้อง ก็เป็นเรื่องที่เขาจะแก้ปัญหา กันเอง ไม่ใช่พ่อแม่ลงมาเล่นบทบู๊เสียเอง คนไทยไม่เป็นอย่างนั้น เรื่องก็เลยกลายเป็นว่าทุกครั้งที่คน ไทยมีเรื่องก็ทะเลาะกันต้องมีบุคคลที่สามมาห้าม ถ้าถึงขั้นจราจล ในหลวงต้องทรงลงมาไกล่เกลี่ยให้เสมอ แล้วถ้าครั้งนั้นในหลวงทรง ห้ามไม่ทันจะทำอย่างไรกัน ? นิสัยอีกอย่างของคนไทย คือความรักอิสระ คนไทยแม้ไปอยู่ ต่างประเทศก็รวมตัวกันไม่ได้ เมื่อมีเรื่องขึ้นมาก็ไม่รู้จะไปหาผู้ใหญ่ที่ ไหนมาไกล่เกลี่ย ไม่มีตัวประสาน ขณะที่ชนชาติอื่นบางชาติ แม้ไปอยู่ ต่างประเทศ เขาก็สามารถรวมตัวกันได้แน่นแฟ้น เขาไม่ต้องการให้ใคร พระภาวนาวิริยคุณ 20 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More