การครองเรือนและการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองเรือน หน้า 27
หน้าที่ 27 / 68

สรุปเนื้อหา

การอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านนั้นอาจนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ เช่น การทิ้งขยะ โดยควรเริ่มจากการทำตัวให้น่ารักและสร้างความสัมพันธ์ เมื่อผูกมิตรไว้ดี เพื่อนบ้านจะเป็นเสมือนญาติที่คอยเอื้ออาทรและปกป้องภัยให้เรา การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีดีกว่าการสร้างความกลัวและศัตรู ความอดทนและคุณธรรมในการอยู่ร่วมกันจะนำไปสู่ความรักและการดูแลซึ่งกันและกันในชุมชน

หัวข้อประเด็น

- การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน
- วิธีแก้ปัญหาความไม่ลงตัว
- ความสำคัญของการมีขันติ
- การทำให้เพื่อนบ้านเป็นเพื่อน
- การขจัดความรู้สึกเป็นศัตรู

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองเรือน ๑๑. บ้านใกล้เรือนเคียง เพื่อนบ้านบางคนชอบเอาเปรียบ เช่น กวาดขยะมาทิ้งหน้าบ้าน เราทุกวัน จะทำอย่างไรดีคะ ? ที่เขากวาดขยะมาใส่บ้านเราทุกวัน เพราะเราเคยไปทำแบบ นั้นกับเขาก่อนหรือเปล่า ถ้าเราไม่ได้ทำอย่างนั้น แต่เขายังมาทำกับเรา เราก็หาถังหาอะไรมาวางตรงที่ทิ้งขยะของเขาและของเรา อย่าเพิ่งไป ทำอะไร หรืออย่าเพิ่งพูดอะไรมาก เริ่มทำตัวให้เขาทั้งรักทั้งเกรงเสียก่อน แล้วจึงค่อยไปพูดขอร้องกัน ถ้าเราไปทำ จะให้เขาเกรงโดยไม่ต้องรัก เราก็เป็นอันธพาล ประจำซอย เดี๋ยวก็ได้เรื่อง เขาอาจไม่กล้าเอาขยะมาทิ้งอีก แต่อย่าเลย ลูก..อย่าเป็นพาลเสียเอง เพราะมันแค่ทำให้เขาเกรงกลัว จะเป็นการ เพาะศัตรูเพาะเวรภัยในภายหลัง ทำให้เขารัก ดีกว่าทำให้เขาเกลียดกลัว การทำตัวให้น่ารัก อาจจะเสียเวลาบ้าง แต่อดทนเถอะ ทนไปสักพัก พอชนะได้ครั้งหนึ่ง แล้ว จะชนะได้ตลอด แล้วจากที่ชาวบ้านเรียกเราว่า “นายนั่น นายนี่” นักเลงโตประจำซอย ก็อาจเปลี่ยนเป็น “คุณพ่อ คุณแม่” ประจำซอย ไปก็ได้ ซึ่งก็เป็นด้วยความที่เรามีคุณธรรม โดยเฉพาะมีขันติ อดทน ต่อความไม่เข้าท่าเข้าทางของเพื่อนบ้านได้ เพื่อนบ้านนั้นหากผูกมิตรไว้ดีแล้ว เขาจะเป็นเสมือนญาติ สนิทที่คอยเอื้ออาทร คอยปกป้องภัยอันตรายให้เรา รั้วน้ำใจนั้นดี กว่ารั้วเหล็กหลายเท่า เราควรทำให้บุคคลที่อยู่รอบบ้านเป็นเพื่อนของ เรา อย่าให้เขาเป็น “คนอื่น” สำหรับเรา เพราะมิฉะนั้นเราก็จะเป็น “คนอื่น” สำหรับเขาเหมือนกัน ห ล ว ง พ่ อ 27 ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More