การบูชาข้าวพระและความสำคัญในการปฏิบัติธรรม คุณค่าอาหาร-การให้พร หน้า 3
หน้าที่ 3 / 9

สรุปเนื้อหา

การบูชาข้าวพระเป็นการแสดงความเคารพและเพิ่มพูนบุญบารมี โดยการเตรียมใจให้ผ่องใสก่อนที่จะรับประทานอาหาร โดยการนึกน้อมข้าวปลาอาหารและตั้งใจบูชาพร้อมกับการตั้งอธิษฐานเพื่อสร้างบุญทั้งในปัจจุบันและในอดีต การรักษาศรัทธาของญาติโยมและการรับประทานข้าวในภาวะจิตใจที่สงบจะช่วยให้การสร้างบุญเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า เพื่อการสร้างบารมีในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-บูชาข้าวพระ
-ความสำคัญของจิตใจในการกินข้าว
-การสร้างบุญและบารมี
-วิธีการปฏิบัติธรรมเบื้องต้น
-ความสัมพันธ์ระหว่างญาติโยมและผู้ปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. เราจะก๋าจัดความหิวไปเสีย 2. ให้มีแรงขึ้นมาจะได้ปฏิบัติธรรม 3. แล้วต้องไม่ทำให้ศรัทธาของญาติโยมเสียไปด้วย ต้องรักษาศรัทธาเขาเอาไว้ 4. ยิ่งเราเอาเรี่ยวแรงไปฏิบัติธรรม จนเข้าถึงธรรมะของพระพุทธเจ้าได้ เราก็ได้บุญเยอะ ญาติโยมก็ได้บุญเยอะตาม ไปด้วย มองอย่างนี้ละก็ไม่เสียทีที่มาอบรมกัน บูชาข้าวพระทำให้มีข้าวทิพย์ เป็นการกินอย่างมีคุณค่าของคน โบราณ เรื่องการบูชาข้าวพระนี่อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่วันแรกแล้ว การบูชาข้าวพระ เป็นความฉลาดของบรรพบุรุษของเรา ที่ทำใจให้ผ่องใสก่อนกินข้าว เมื่อใจผ่องใสก่อนกินข้าว ข้าวที่เรากินเข้าไปเมื่อเกิดเป็นเรี่ยวแรงแล้วก็สามารถที่จะ ทำความดีด้เต็มที่ ข้าวนั้นเลยกลายเป็นข้าวทิพย์ กลายเป็นข้าวบุญไป เป็นข้าวแห่งความดี ส่วนกินเมื่อตอนใจขุ่นมัว กินแล้วไปทำความชั่ว หรือแม้ถ้าไม่ได้ทำความชั่ว กินแล้วก็เฉย ๆ ไปนอน อย่างนี้ข้าวนั้นก็เป็นแค่ข้าวขี้เกียจ ข้าวบาป ไม่ เกิดประโยชน์ทั้งตัวเอง ญาติโยมที่ทำบุญมา เขาก็ไม่ได้บุญ เราจะทำข้าวทิพย์กินกัน เพื่อประโยชน์ของเราด้วย เพื่อประโยชน์ของเจ้าภาพที่ได้เสียสละมาด้วย เรามองข้าวปลาอาหารของเราให้จำได้ มองนิ่ง ๆ ให้จำได้ พอจำได้เราก็ทำใจของเราว่าง ๆ โล่ง ๆ โปร่ง ๆ เบา ๆ เมื่อใจว่าง โล่ง โปร่งเบาดี ใจจะขยายกว้างออกไป แล้วเราก็นึกน้อมเอาข้าวปลาอาหารของเราทั้งจานนั่นแหละ เอามาตั้ง ไว้กลางท้อง เวลานึกน้อมเอาอาหารไว้กลางท้องไม่มีน้ำหนักใด ๆ เกิดขึ้นเลยนะ แล้วก็ไม่ต้องใช้ความพยายามอะไร เหมือน ภาพที่ปรากฏในกระจกเงานะ ภาพที่ไปอยู่ในกระจกเงา ไม่ต้องมีกำลังอะไรบังคับ เกิดของมันเอง เบา ๆ นิมิตข้าวทั้งจาน เอาไปตั้งไว้กลางท้องให้เบาเหมือนภาพที่ปรากฏในกระจกเงา จากนั้นเราก็รวมใจของเรา ทำความรู้สึกเหมือนอยู่ต่อหน้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์จริง แล้วตั้งใจนั่งพับเพียบพนมมือกล่าวคำบูชาข้าวพระพร้อม ๆ กันนะ (กล่าวคำบูชาข้าว พระ) นะโม 3 จบ (อิติปิโส...โลกัตสา ติ) เราก็รวมใจนิ่งนึกอธิษฐานเรียกบุญของเรา ที่สร้างมาดีแล้วนับด้วยร้อยชาติพันชาติหมื่นชาติแสนชาติ ในปัจจุบัน ชาติก็ดี ให้บุญที่เราสะสมไว้ดีแล้ว ตั้งแต่เล็กแต่น้อยเรื่อยมา ข้ามภพข้ามชาติมาด้วย จนกระทั่งรวมกันเป็นบุญใหญ่ กลายเป็นบารมี ให้ทั้งบุญทั้งบารมีของเรา กลั่นข้าวปลาอาหาร ตลอดจนกายวาจาใจให้ใสบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งกว่าเพชร น้ำดีเสียอีก ข้าวทุกเม็ดกับทุกชิ้นอาหารทุกช้อนตลอดจนถ้วยจานชามทั้งหมดที่มีอยู่ให้ใสเป็นแก้ว แล้วนึกน้อมประเคน กับธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมกับกราบขอเติมบุญบารมีรัศมีกำลังฤทธิ์อำนาจวาสนา ว่าตัวของข้าพเจ้า ตั้งใจมาปฏิบัติธรรมมาบวชในการอบรมธรรมทายาทครั้งนี้ มาด้วยความเต็มใจ เพราะฉะนั้น ทุกข์โศกโรคภัยใด ๆ อย่าได้มารบกวนเลย ให้ข้าพเจ้ามีแต่ความสุขกาจสุขใจ สามารถบำเพ็ญบุญสร้างบารมีได้ตลอดรอดฝั่ง สมใจนึกทุก ประการ ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปได้โดยง่าย แล้วเราก็ลาข้าวพระพร้อม ๆ กัน ด้วยคำว่า เสสัง มังคะลัง ยาจามะ รับประทานขาวกัน 3
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More