บัณฑิตกับการตอบแทนคุณ คุณค่าอาหาร-การให้พร หน้า 5
หน้าที่ 5 / 9

สรุปเนื้อหา

บัณฑิตมีนิสัยในการตอบแทนคุณเมื่อได้รับความเมตตาจากผู้อื่น โดยมีสาเหตุที่ทำให้เกิดความประเสริฐในตัวเองคือการศึกษาและการสนับสนุนจากญาติโยม ทั้งนี้การตอบแทนคุณสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การให้ความรู้ธรรมะหรือส่งเสริมญาติโยมในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการให้พรที่แบ่งออกเป็นการให้ความรู้และการแผ่เมตตาให้แก่ญาติโยม การที่บัณฑิตประพฤติตนเช่นนี้จะทำให้เกิดความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง.

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของบัณฑิต
-การตอบแทนพระคุณ
-ความประเสริฐในตัว
-การสนับสนุนจากญาติโยม
-การให้พรและแผ่เมตตา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5 บัณฑิตรู้จักตอบแทนคุณ ที่นี้เมื่อความประเสริฐเกิดขึ้นในตัว ถ้าจะว่าไปก็มีความเป็นบัณฑิตเพิ่มขึ้น วิสัยของบัณฑิต นอกจากระแวงภัยที่น่า ระแวงแล้ว ระวังป้องกันภัยนั้นก่อนที่มันจะมาถึงแล้ว บัณฑิตยังมีนิสัยอยู่อีกว่า เมื่อได้รับความเมตตากรุณาจากใคร ก็คิดที่จะทดแทนพระคุณ ถ้าพูดกันแบบภาษาชาวบ้านก็ "กินข้าวใครก็ไม่กินฟรีหรอก" ต้องหาทางตอบแทนคุณให้จงได้ อยู่ในรูปแบบไหน ทำได้มากน้อยเท่าไรก็อีกเรื่องหนึ่งแต่จะต้องขวนขวายที่จะตอบแทนพระคุณเขา ความประเสริฐเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ พระภิกษุรวมกระทั่งนักบวชที่เป็นสัมมาทิฐิทั้งหลาย เมื่อบวชแล้วตั้งใจประพฤติตามพระธรรมวินัยของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าแล้ว พบว่าตัวเองมีความประเสริฐมาตามลำดับ จึงพิจารณาต่อไปว่าความประเสริฐที่เกิดขึ้นในตัวเองนั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ก็พบว่าเกิดขึ้นมาได้จากสาเหตุใหญ่ ๆ 2 ประการ คือ หนึ่ง ตัวเองก็ได้เพียรศึกษาเล่าเรียนอบรมแก้ไขตัวเองมาตามลำดับ จึงได้มีความประเสริฐ สอง แล้วที่มีเวลาแก้นิสัยอบรมอย่างนี้ได้ เพราะอะไร ก็เพราะว่าญาติโยมได้ให้การสนับสนุนเป็นกองเสบียงให้ ส่งให้ทั้งข้าวปลาอาหาร ไม่ต้องไปหุงต้มแกงกินละ ส่งให้ทั้งสบงจีวร เครื่องนุ่งห่ม ไม่ต้องไปตัดไปเย็บเอง ส่งให้ทั้งที่อยู่ อาศัยคือ สร้างกุฏิ สร้างศาลา สร้างอาคาร ให้พักให้อาศัย ให้ประพฤติปฏิบัติธรรมได้เต็มที่ ป้องกันแดดลมฝนร้อนหนาว ได้ไปในตัวเสร็จ ให้กระทั่งหยูกยารักษาโรค เมื่อคราวเจ็บไข้ได้ป่วย หากต้องการสิ่งหนึ่งประการใด ไม่ขัดต่อวินัยของ สมณะ ของนักบวช ญาติโยมก็ให้มาด้วยความเต็มใจ อยากได้แสงสว่างมีทั้งตะเกียง เทียน ไฟฟ้า มีทั้งผงซักฟอก สบู่ ส่งมาให้ นี่ยกตัวอย่าง อยากจะเดินทางไปศึกษาหาความรู้ เอารถมารับ ได้รับความสะดวกอย่างนี้จากญาติโยม จึงทำให้มีโอกาสประพฤติปฏิบัติธรรมเต็มที่ แล้วมีความประเสริฐเกิดขึ้นในตัว เมื่อมาพิจารณาแล้วพบว่า ความประเสริฐ เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุ 2 ประการนี้ ก็บังเกิดทั้งความกตัญญูกตเวที บังเกิดทั้งความปรารถนาดีแก่ญาติโยมที่มาบำรุง เลยตั้งใจให้ความประเสริฐกับญาติโยมบ้าง บทให้พรในหนังสือสวดมนต์ คือให้ความรู้ธรรมะและแผ่เมตตาให้ญาติโยม ในบทให้พรนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นการให้ความรู้ธรรมะแก่ญาติโยม แล้วก็ 2 เป็นการตั้งความ ปรารถนาดี แผ่เมตตาให้แก่ญาติโยม แบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ แล้วก็ให้พรเป็นคำสวด แต่เนื่องจากโบราณ พระพุทธศาสนา นั้นเกิดในประเทศอินเดีย เวลาให้พร หรือให้ความประเสริฐนั้น เขาก็ให้เป็นภาษาอินเดีย แล้วเมื่อสมัยพุทธกาลจริง ๆ นี่ เวลาให้พร ญาติโยมที่เขามาเลี้ยงพระ เขาจะกำหนดเลยว่า หลวงพ่อองค์นี้หรือหลวงพี่องค์นั้นให้พรที ที่เหลือนอกนั้น จะมาด้วยกัน 20-30 รูป กลับได้ ขอองค์นี้ให้พรที คือทั้งให้เทศน์ให้ฟังด้วย แล้วก็ถ้าไม่มีเวลา เอาสั้น ๆ ให้ความรู้ในเรื่อง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More