ข้อความต้นฉบับในหน้า
6
ของการให้ทาน หรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมทั้งให้ท่านแผ่เมตตาจิตให้ด้วย นี้ก็เป็นเรื่องของการให้พร เป็นธรรมเนียม
อยางหนึงในพระพุทธศาสนา
การให้พรในสมัยพุทธกาล ยกเอาเรื่องในวาระนั้นมาชี้ช่องให้กำลังใจญาติโยม
การให้พรในยุคนั้น จริง ๆ แล้ว ไม่ได้อยู่ในลักษณะสวดอย่างในปัจจุบัน ให้พร ก็โดยภาษาของชาวอินเดียในยุคนั้น
ท้องถิ่นนั้น โดยทั่วไปก็คือ พูดถึงอานิสงฆ์หรือผลดีที่เกิดจากการทำสิ่งนั้น ๆ เพื่อเป็นการยกใจ ญาติโยมให้ฟูขึ้น
เพื่อจะได้มีกำลังใจที่จะทำความดีต่อไป นั่นก็อย่างหนึ่งหรือไม่งั้นในการให้พร ก็ให้พรในวาระไหน ก็เอาเรื่องในวาระนั้น
ขึ้นมาพูด ทำให้เกิดสติปัญญาชี้แนะทางให้เขา แล้วเขาก็จะได้มีแนวทางในการปฏิบัติในการทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
แล้วก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของผู้รับพรด้วย ว่าเขามีสติปัญญามากน้อยแค่ไหน พระภิกษุผู้รับหน้าที่ให้พรก็จะให้พร
หรือชี้ช่องทางหรือให้กำลังใจ ตามระดับสติปัญญา ที่เขาจะพึงรับได้
การให้พรในปัจจุบันคือการเอาบทยกใจที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์
กล่าวไว้มาเป็นบทสวด
แต่เมื่อวันเวลาผ่านมา เราก็ต้องยอมรับกันว่า พระภิกษุมีความสามารถในการยกใจอย่างนั้น ในการที่จะมีความ
ซาบซึ้งในธรรมะ มากจนกระทั่งยกใจคนอื่นได้ ชี้แจงอานิสงส์ได้อย่างนี้ นับวันร่อยหรอลง แล้วทำอย่างไร ก็เลยต้องอาศัย
คำเทศน์ คำสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทยกใจ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง พระอรหันต์ในยุคนั้น ๆ กล่าวเอาไว้บ้าง
เอามาเป็นบทสวด คือแทนที่จะพูดเอง ชักไม่ไหว ยกขึ้นมาเป็นบทท่องบทสวดแล้วก็แทนที่จะว่าคนเดียว ไม่เอาละ
มาด้วยกันหลายคน ก็ช่วยกันว่า คือช่วยกันสวด ไม่กินแรงใครละ ว่างั้นเถอะ เรามันก็บวชใหม่ด้วยกัน ยังรู้ไม่ค่อยจริง
ด้วยกัน เอาอย่างนี้ดีกว่า หลวงพี่อย่าพึ่งไปไหน เดี๋ยวลมนะ ปล่อยผมลำพัง สวดพร้อม ๆ กันเหอะ แล้วก็เลยกลายเป็น
ง ๆ
การให้พรอย่างที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน
คําแปลของบทสวดให้พร
เราลองเปิดไปดู ที่หนังสือสวดมนต์หน้า 29 นะ
บทแรกหรือท่อนแรก พระภิกษุที่เป็นผู้นำการให้พรจะเป็นผู้นำองค์เดียวรวดเลย เป็นลักษณะเหมือนการร่ายยาว
ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนติ สาครั้ง เอวเมว อิโต ทินนัง เปตานัง อุปกัปปติ จนกระทั่งบรรทัดสุดท้ายในคอลัมน์นี้
มณี โชติรโส ยถา ขึ้นต้นด้วย ยถา ลงท้ายด้วย ยถา บทนี้ชาวบ้านเรียกบทนี้ว่า ยถา ต้นก็ขึ้นว่ายถา ท้ายก็ลงว่า ยถา
บทนี้แปลเอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว แปลว่าอย่างไร