การให้พรและความประเสริฐแห่งมนุษย์ คุณค่าอาหาร-การให้พร หน้า 4
หน้าที่ 4 / 9

สรุปเนื้อหา

การให้พรหมายถึงการให้ความประเสริฐ ซึ่งเป็นการแจกจ่ายคุณค่าที่ดีในตัวมนุษย์ โดยทุกคนมีความไม่ดีอยู่ในตัวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ โลภ โกรธ และหลง เมื่อบวชและปฏิบัติตามพระธรรมวิชชา ทำให้สามารถทำลายกิเลสและเพิ่มความประเสริฐในตนเอง รวมทั้งยังมีกรณีที่สัตว์ก็มีความโง่อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ การทำลายความไม่ดีในใจจะส่งผลให้มีความดีคนที่ปฏิบัติตามสามารถปรับปรุงตนเองให้เป็นคนที่มีความประเสริฐมากขึ้นได้.

หัวข้อประเด็น

-การให้พร
-ความประเสริฐ
-หลักธรรม
-กิเลส
-การบวช
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4 การให้พร การให้พร คือให้ความประเสริฐ คำว่า "วะระ" ในภาษาบาลีแปลว่า ประเสริฐ ประเสริฐคือ ดีเลิศ ดีอย่างยิ่ง ที่เป็นเยี่ยมเลย ประเสริฐ การให้พรคือ การให้ความประเสริฐ ก็เลยต้องมาย้อนถามกันต่อไปว่า เอ๊ะ! พระมีความประเสริฐอะไรหนอ พอฉันเสร็จแล้วจึงต้องมาให้ ความประเสริฐ มาแจกความประเสริฐกับญาติโยม ทุกคนต่างก็มีความไม่ดีอยู่ในตัว โดยหลักธรรมมีอยู่ว่า ทุกคนในโลกนี้มีกิเลสคือ ความไม่ดีอยู่ในใจเยอะแยะ เช่น ความโลภ อยากได้ของเขาในทาง ที่ไม่ชอบ มีความโลภ บางทีก็เลยไปถึง พยาบาทอาฆาตมาดร้ายด้วย แล้วก็มีความหลง หลงตัวเองว่าวิเศษกว่าเขา หลงตัวเองว่าแย่กว่าเขา แล้วตัวเองแย่จริง ๆ นะ แต่หลงตัวเองว่าเท่ากับเขา ก็มี หลงว่าหล่อ หลงว่าสวย รวมกระทั่งมี ความโง่อยู่หลายรูปหลายแบบเหมือนกัน ทุกคนเมื่อเกิดมาก็มีความไม่ดีอยู่ในตัวอย่างนี้แหละ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ในความไม่ดีเรานั้น ประเภทที่หนึ่งคือ โลภ อยากได้ในทางที่ไม่ชอบ ประเภทที่สอง โกรธ คือมีนิสัยชอบทำลาย โลภนะจะกอบโกยเข้าตัว โกรธนะ จะทำลายเมื่อไม่ได้อย่างใจ ประเภทที่สาม หลง คือโง่นั่นเอง ไม่รู้จะเอาอย่างไงดี เลยทำอะไรตามอำเภอใจในรูปแบบต่าง ๆ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน แม้แต่เทวดาก็ยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงอยู่ แต่ว่าเบาบางกว่าคน สัตว์ทั้งหลายไม่ว่าช้างม้าวัวควาย หมูหมากาไก่ อะไรก็ตามที มันก็ยังมีกิเลสคือ ความโง่ในรูปแบบ ต่าง ๆ อยู่อีกเยอะแยะ บวชแล้วตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เป็นความประเสริฐของมนุษย์ คราวนี้ เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งมาบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เลยทำให้ฉลาดขึ้นมาในอีกระดับหนึ่ง หรือพูดอีกที่หนึ่งก็ทำลายความโลภ ความโกรธ ความหลงไปได้ ถึงแม้ยังไม่หมด ยังไม่หมดระดับเป็นพระอรหันต์ แต่ก็ได้ทำลายความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งรวมด้วยว่ากิเลส หรือความไม่ดี ออกไป ได้ส่วนหนึ่ง ใครทำลายความโลภ ความโกรธ ความหลงไปได้มากเท่าไร ก็จะมีความประเสริฐ มีความดีเกิดขึ้นในตัวเอง มากเท่านั้น คือสามารถที่จะทำให้ตัวเองนั้นพ้นจากความเลวร้ายไปได้ สามารถใช้ร่างกายที่ประกอบด้วยเลือดเนื้อและ จิตใจนี้ ไปทำความดีเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง สิ่งเหล่านี้เป็นความประเสริฐของมนุษย์เราคือ กิเลสหมดไปเท่าไร ความประเสริฐ ก็เกิดขึ้นกับตัวเองมากขึ้นเท่านั้น พระภิกษุเมื่อมาบวชตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามก็สามารถสละกำจัดกิเลสไปได้ตามลำดับ ๆ กำจัดกิเลสไปได้มากเท่าไร ก็มีความประเสริฐเกิดขึ้นในตัวมากขึ้นเท่านั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More