ธรรมกายมีลักษณะอย่างไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร

ธรรมกายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษครบครั้น ใสเป็นแก้วอยู่ในศูนย์กลางกาย มีลักษณะกายเนื้อของเจ้าชายสิทธัตถะทุกประการ แต่เป็นกายละเอียด https://dmc.tv/a12300

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 3 ต.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18269 ]
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 

คำถาม: ธรรมกายมีลักษณะอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

 
คำตอบ:  ธรรมกายมีลักษณะอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ขอยกตัวอย่างให้ดูง่ายๆ เพื่อจะได้เป็นข้อคิดที่ดีสำหรับพวกเราที่รักการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมของเรา ของชาวโลกหรือพระภิกษุก็ตามเมื่อปฏิบัติไปแล้ว มีสิ่งหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นตัวเรา แต่คนทั่วไปมักไม่ทราบ แม้ผู้ที่มีความรู้ทางธรรมกันมามากๆ จบบาลี จบนักธรรมกันมาสูงๆ แต่ว่าถ้าไม่ลงมือปฏิบัติ บางทีความเข้าใจก็ยังคลุมเครืออยู่ ก็ขอโอกาสชี้แจงเสียเลย คือธรรมะทุกอย่างที่เราปฏิบัติมีอานิสงส์ว่า เมื่อปฏิบัติแล้ว ก่อให้เกิดเป็นกายภายในขึ้นมาได้คือธรรมะก่อให้เกิดเป็นกายได้
 
        ยกตัวอย่าง นาย ก. เมื่อแรกเกิด ทันทีที่นาย ก. คลอดออกจากท้องแม่ ถามว่า นาย ก. เป็นคนดีหรือคนเลว ก็ต้องบอกว่าตอบไม่ได้ เพราะเกิดมายังนอนแบเบาะอยู่ ยังไม่ได้ทำความดีและยังไม่ได้ทำความเลว นาย ก. ยังเป็นกลางๆ อยู่ ยังไม่ดียังไม่เลว ต่อ เมื่อไรนาย ก. ไปทำความดี จึงเป็นคนดี
 
        คราวนี้ถ้า นาย ก. ตั้งใจรักษาศีล ๕ เมื่อตั้งใจรักษาศีล ๕ แล้ว ความร้ายกาจต่างๆ ที่อาจจะพึงมีพึงเป็น ก็ไม่เกิดขึ้นกับนาย ก. ขณะนั้นเขาจึงเป็นคน ไม่มีอันตราย เราเข้าใกล้ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกคร่าชีวิต ไม่ต้องกลัวจะต้องถูกแย่งทรัพย์สิน ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกแย่งเมีย แย่งคู่รัก ไม่ต้องกลัวว่านาย ก. จะโกหกหลอกลวง ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะกินเหล้าจนเผลอสติแล้วทำอะไรไม่ดีไม่งามกับเรา
 
        นาย ก. เมื่อตั้งใจรักษาศีล ๕ แล้ว ก็เป็นคนที่น่าเข้าใกล้ มีศักดิ์ศรีสมกับที่เป็นคนเต็มตัว นี่ภายนอกนะเป็นคนสมคน ถ้าภาษาพระก็บอกว่าเป็น “มนุสสนะมนุสโส” แต่ถ้าว่าในเชิงปฏิบัติพอฝึกสมาธิ(Meditation)มากเข้าๆ เราจะพบว่ามีกายของนาย ก. ซึ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายของนาย ก. อีกกายหนึ่งเป็นกายที่เกิดด้วยอำนาจศีล ๕ ที่ตั้งใจปฏิบัติ
 
        หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านเรียกกายนี้ว่า กายมนุษย์ละเอียด บางแห่งท่านก็เรียกว่ากายฝัน กายนี้ได้เกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายของ นาย ก. ซึ่งถ้าไม่ได้ปฏิบัติธรรมมามากๆ เราก็จะมองไม่เห็น พอปฏิบัติธรรมมากเข้า เจริญสมณธรรมมากๆ เราจะเห็นชัดเลยว่า กายมนุษย์ละเอียดของ นาย ก. ซ้อนอยู่ในนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นาย ก. ก็สามารถเห็นกายมนุษย์ละเอียดของตัวเองด้วย
 
        ครั้นพอถึงเวลา นาย ก. ตาย กายเนื้อเขาก็เอาไปเผาที่ป่าช้าเหมือนคนอื่น แต่ว่าบุญที่ นาย ก. ทำไว้ตลอดชีวิตจากการรักษาศีล ๕ ได้กลั่นติดเข้าไปอยู่กับกายมนุษย์ละเอียดแล้ว จากนั้นนาย ก. ก็เป็นกายสัมภเวสี คือภายในระหว่างเวลาไปหาที่เกิด รอจนกระทั่งว่าไปเจอพ่อแม่คนไหน เขาหลับนอนร่วมกัน ไข่ของแม่ผสมกับเชื้อของพ่อ พอผสมปุ๊ป กายมนุษย์ละเอียดของ นาย ก. ที่กำลังร่อนเร่หาที่เกิดอยู่ ก็เข้าไปอยู่ในไข่ที่ผสมแล้วนั่น เข้าไปในครรภ์มารดา แล้วก็โตวันโตคืนขึ้นมากลายเป็น นาย ก. คนใหม่ ลักษณะทั่วไปก็เป็นอย่างนี้
 
        คราวนี้สมมติว่า นาย ก. นี่แหละนอกจากรักษาศีล ๕ แล้ว ยังฝึกเป็นคนมีหิริโอตัปปะด้วย หิริ คือความละอายบาป โอตัปปะ คือ ความกลัวบาป เพราะมีหิริโอตตัปปะ นาย ก.จึงไม่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วเลย แกอายบาป แกกลัวบาป ความชั่วไม่มีในตัวแกเลย เมื่อก่อนแกถือศีล ๕ แกไม่พูดชั่ว แต่บางทีแกอาจจะคิดชั่วๆ ก็ได้ แต่พอแกมีหิริโอตตัปปะ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเป็นเทวธรรม ก็เลยทำให้นาย ก. คนนั้น แม้เป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่เหมือนเทวดา ซึ่งภาษาพระท่านเรียกว่า “มนุสสะเทโว” แต่ว่าในส่วนลึกเข้าไปอีก ถ้าเราได้ฝึกสมาธิมามากพอ เราจะพบอีกว่า ถ้ามองลึกเข้าไปในศูนย์กลางกายละเอียดของ นาย ก. จะเห็นมีสิ่งหนึ่งซึ่งนอกเหนือไปจากกายมนุษย์ละเอียดเกิดขึ้น คือเป็นกายที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นไปอีกท่านเรียกกายนี้ว่า “กายทิพย์” เกิดซ้อนขึ้นที่ศูนย์กลางกายละเอียดของ นาย ก.
 
        ถ้า นาย ก. ตายไปในขณะที่จิตใจยังมีหิริโอตตัปปะอยู่ กายเนื้อของ นาย ก. เขาก็เอาไปเผาเหมือนอย่างกับคนอื่นๆ ไปป่าช้าเดียว กับคนอื่นนั่นแหละ แต่ว่ากายทิพย์ของนาย ก. ซึ่งกลั่นจากบุญที่ทำไว้ตลอดชีวิต ถูกบุญพาเอาไปอยู่คนละที่ เอาไปที่ไหน? ไปสวรรค์ไปเป็นเทวดา นาย ก. เป็นเทวดาตามกำลังของหิริโอตัปปะ ซึ่งเป็นเทวธรรม
 
        ส่วนจะไปเป็นเทวดาได้นานเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับ ว่าถ้าได้ทำทานไว้น้อย อาหารทิพย์ก็มมีน้อย ก็เป็นเทวดาได้พักเดียว พอหมดกำลังบุญส่วนนั้นแล้ว ก็จะต้องกลับมาเกิดเป็นคนอีก และเนื่องจากกิเลสของเขายังไม่หมด ยังไม่บริสุทธิ์พอที่จะเข้านิพพาน จะไปเป็นพระอรหันต์เขายังไม่หมด ยังไม่บริสุทธิ์พอที่จะเข้านิพพาน จะไปเป็นพระอรหันต์เพราะฉะนั้น นาย ก. จึงยังต้องกลับมาเกิดอีก เวลากลับมาเกิดก็ต้องมาหาพ่อแม่ชนิดที่รักบุญกลัวบาป คือมีหิริโอตตัปปะ ทันทีที่เชื้อของพ่อผสมกับไข่ของแม่ กายทิพย์ของ นาย ก.  ก็เข้าไปในไข่ที่ผสมแล้วนั่นเลย แล้วก็โตวันโตคืนอยู่ในครรภ์มารดา พอครบ ๙ เดือน ๑๐ เดือนก็คลอดออกมาอีก
 
        มีสิ่งหนึ่งที่พวกเราควรจะรู้ คือคำว่า “กรรมพันธุ์” คำว่ากรรมพันธุ์ ในที่นี้ถ้าใครเรียนวิทยาศาสตร์มามักจะไขว้เขว เพราะกรรมพันธุ์เขาพูดถึงสารบางชนิด ที่อยู่ในเซลล์ของพ่อแม่ที่เขาเรียกว่ายีนส์บ้าง โครโมโซมบ้าง หรือสารโปรตีนประเภท DNA หรือ RNA บ้าง ท่านที่ไม่ได้เรียนมาทางนี้ ก็อย่าไปกังวลสนใจ รับรู้ไว้ว่าอย่างนี้แล้วกัน
 
        กรรมพันธุ์ในพระพุทธศาสนา หมายถึงว่า มีบุญมีบาป หรือมีความประพฤติใกล้เคียงกัน มีกรรมชนิดเดียวกัน เรียกว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์กันนั่นเอง
 
        เพราะฉะนั้น นาย ก. เวลามาเกิดใหม่ ต้องไปหาพ่อแม่ ที่มีบุญบาปใกล้เคียงกัน ถ้าไม่อย่างนั้นเกิดด้วยกันไม่ได้ มันคนละพันธุ์ เช่น ไปเจอหญิงชายขี้เมา ถึงจะมีไข่มีเชื้อผสมกันเรียบร้อยแล้ว กายทิพย์ของ นาย ก. ก็ไม่เข้า เพราะมันคนละกรรมคนละพันธุ์กัน นี่คือกรรมพันธุ์พ่อแม่ขี้เมาคู่นี้ต้องรอคนที่มีกรรมเสมอกัน ชนิดที่ชาติในอดีตทั้งชาติขี้เมาหยำเปมาเชียวแหละ จึงจะมาเป็นลูกของคนคู่นี้ได้
 
        ตกลงเป็นอันว่า ความดีที่เกิดขึ้นจากหิริโอตัปปะก่อให้เกิดกายทิพย์ เวลามีชีวิตอยู่ก็เหมือนเทวดาเดินดิน ละโลกไปแล้วก็ไปเป็นเทวดาจริง ๆ กลับมาเกิดใหม่อีกทีหนึ่งก็สามารถเลือกพ่อแม่ที่มีบุญใกล้เคียงกับตัวได้
 
        การเกิดประเภทนี้เขาเรียกว่า “เชิญมาเกิด” ไม่ใช่ “ชิงมาเกิด” คือบางคนเวลาจะเกิด เขาเชิญมาเกิด มีบุญมาเต็มที่ เลือกเกิดได้อย่างใจนึก เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยที่เป็นพระโพธิสัตว์เราเรียนพุทธประวัติมาแล้ว เวลาพระองค์จะมาบังเกิดในโลกมนุษย์นี้เทวดาเขาไปเชิญท่านมา แล้วท่านก็เลือกด้วย จำได้ไหมมหาวิโลกนะ ๕ ประการ คือ
 
        ๑. เลือกกาล ดูว่าช่วงนี้ใช่กาลไหม คือมนุษย์มีอายุขัยระหว่าง ๑๐๐ ปี – ๑๐๐,๐๐๐ ปี
        ๒. เลือกทวีป
        ๓. เลือกประเทศ
        ๔. เลือกตระกูล
        ๕. เลือกพุทธมารดา
 
        ผู้ที่ได้รับเชิญมาเกิดและมีบุญมากพอ จะเลือกเกิดได้อย่างนี้ แต่พวกที่ไม่มีบุญ มีบาปตกนรกมา พอพ้นเวรจากนรก มันชิงกันมาเกิด ถ้าเข้าท้องคนได้ก็เข้าพรวดไปเลย เข้าท้องคนไม่ทัน ก็ต้องเข้าท้องหมูท้องหมาส่งไปเลย เขาจึงเรียกว่า พวกชิงมาเกิด
 
        คราวนี้เรามาว่ากันถึงธรรมะที่เปลี่ยนเป็นกายต่ออีกนิด ผู้ที่ฝึกพรหมวิหาร ๔ มาดี คือมีเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขาครบบริบูรณ์ ขณะมีชีวิตอยู่ก็เหมือนพระพรหมเดินดิน คือนอกจากชอบช่วยเหลือคนให้พ้นทุกข์แล้ว ยังอิจฉาใครไม่เป็น มีอุเบกขา รักความยุติธรรมเป็นเยี่ยม จิตใจไม่หวั่นไหวคลอนแคลนในโลกธรรมทั้งหลายเพราะมีพรหมวิหาร ๔ ครบครัน มีชีวิตอยู่ก็เหมือนพระพรหมเดินดิน แต่ถ้ามองเข้าไปในศูนย์กลางกายของท่าน จะพบว่า “กายพรหม” ได้เกิดขึ้นในตัวของท่านแล้ว
 
        เมื่อละโลกหรือตายไปเมื่อไร กายเนื้อก็เอาไปเผาที่ป่าช้าเดียวกับคนอื่น แต่กายพรหมของท่านไปเกิดเป็นพรหม จะไปเป็นพรหมนานแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับกำลังพรหมวิหาร ๔ ที่ท่านปฏิบัติมาได้ส่วนจะเป็นพรหมประเภทไหน ก็ขึ้นอยู่กับการเจริญสมาธิของท่านถ้าท่านฝึกจนกระทั่งได้รูปฌาน ท่านก็เป็นพวกรูปพรหม ถ้าท่านฝึกได้ถึงอรูปฌาน ท่านก็เป็นอรูปพรหม
 
        คราวนี้ถ้าท่านฝึกมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นถูก มีสัมมาสังกัปโป คือความดำริชอบ มีสัมมาวาจา คือคำพูดที่ถูกต้องร่องรอย มีสัมมากัมมันตา คือการกระทำที่ถูกที่ควร มีสัมมาอาชีโว คือเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ มีสัมมาวายาโม คือมีความเพียรที่จะละความชั่วให้หมดไป มีความเพียรที่จะทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป ๆ ให้สมบูรณ์ขึ้น เรียกว่าความเพียรชอบ มีสัมมาสติ คือสติความระลึกได้ดีเยี่ยม มีสัมมาสมาธิ คือใจไปตั้งมั่นอยู่ที่ศูนย์กลางกายไม่คลอนแคลน ครบ ๘ ประการเมื่อไร มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ แม้ไม่ได้บวชก็เหมือนพระ ที่เขาเรียกพ่อพระ แม่พระ ถ้าบวชแล้วก็บอกว่าเป็นพระที่สมพระ นี่ดูจากภายนอก
 
        ถ้าดูจากภายในจะพบว่า ในศูนย์กลางกายของท่านจะมีกายชนิดหนึ่งเกิดซ้อนขึ้นมา เรียกว่า ธรรมกาย
 
ลักษณะของธรรมกาย
ลักษณะของธรรมกาย
 
        ธรรมกายมีลักษณะเป็นอย่างไร ? ก็มีลักษณะมหาบุรุษครบครั้นทีเดียว ใสเป็นแก้วอยู่ในศูนย์กลางกายนั่นแหละ  ลักษณะของธรรมกายนั้นเหมือนลักษณะกายเนื้อของเจ้าชายสิทธัตถะทุกประการ แต่ว่าเป็นกายละเอียด ที่เกิดด้วยอำนาจของการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ปรากฎอยู่ในศูนย์กลางกายของผู้นั้น จะมีส่วนที่ต่างไปจากกายเนื้อของเจ้าชายสิทธัตถะ ก็คือเกตุเป็นรูปดอกบัวตูม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้ที่ปฏิบัติได้แล้วจะเห็นเอง ค่อยๆ ฝึกกันไปเถอะ
 
        เป็นอันว่าธรรมกายนั้นที่จริงเกิดด้วยอำนาจมรรคมีองค์ ๘ นี่เอง ซึ่งก็ขึ้นอยู่ว่าเราปฏิบัติได้ดีแค่ไหน ถ้าปฏิบัติได้ดีพอสมควรธรรมกายเบื้องต้นก็เกิดขึ้นมา เรียกว่าธรรมกายโคตรภู ถ้าดีขึ้นไปกว่านั้นอีกก็ถึงธรรมกายพระโสดาบัน ถ้าดีขึ้นกว่านั้นอีกก็ถึง ธรรมกายพระสกิทาคามี เยี่ยมขึ้นไปกว่านั้นอีกก็เป็นธรรมกายพระอนาคามี ถ้าดีเยี่ยม ๑๐๐% มรรคมีองค์ ๘ ทุกอย่างครบบริบูรณ์ ก็เข้าถึงธรรมกายอรหัต เป็นพระอรหันต์ไป
 
        ทั้งหมดที่ว่ามานั้นก็อยากจะบอกว่า ฝึกสมาธิแล้วดูเองนั่นชัดที่สุด จะให้ใครอธิบายมันก็ไม่เห็นภาพ ต้องฝึกเอาเอง ฝึกอย่างไร? ก็อย่างที่ได้แนะนำมาแล้วตั้งแต่ต้น จะมาฝึกด้วยกันที่วัดพระธรรมกายก็ได้ ยินดีต้อนรับทุกคน
 

http://goo.gl/pfMwO


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related