ประเพณีวันสงกรานต์

สงกรานต์เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทย และรวมไปถึงบางประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้สงกรานต์คือการนับปีของประเทศไทยกลุ่มดาวบนท้องฟ้าที่เกิดการหมุนเวียนจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง เกิดจากช่วงวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี https://dmc.tv/a15541

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 24 เม.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18256 ]

ประเพณีสงกรานต์ที่แท้จริง


 

ประเพณีสงกรานต์ที่แท้จริง

เรียบเรียงมาจากรายการ ทันโลก ทันธรรม

 

 

ประเพณีสงกรานต์มีความเป็นมาและวัตถุประสงค์เพื่ออะไร?
 


 

     สงกรานต์เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่าเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทย และรวมไปถึงบางประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ลาว สมัยก่อนเมื่อพูดถึงสงกรานต์ก็จะคิดถึงวันปีใหม่ ความผูกพันกัน บางปีประกาศเป็นวันครอบครัว เพราะวันสงกรานต์เป็นช่วงที่หยุดยาวที่สุด เป็นช่วงที่คนที่ทำงานต่างถิ่น ต่างบ้านต่างเมือง ภูมิลำเนาที่อยู่ต่างจังหวัดได้มีเวลากลับบ้านพบกับครอบครัว
 

มุมมองของวันสงกรานต์ได้เปลี่ยนไปหรือไม่
 
 
 
 

     สังเกตจากคำขวัญวันสงกรานต์ ยุคสมัย 3 รัฐบาลที่ผ่านมา ในคำขวัญวันสงกรานต์จะมีข้อความ เช่น ตายเท่ากับศูนย์ ลดอุบัติเหตุ เมื่อพูดถึงสงกรานต์ก็จะนึกถึงเรื่องอุบัติเหตุ เมาสุรา บาดเจ็บ เสียชีวิต เมาไม่ได้สติ ออกมาเต้นโชว์ เปิดเพลงเสียงดัง การแต่งกายล่อแหลม เป็นต้น เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม 
 
 
ประเพณีสงกรานต์เกิดขึ้นเพื่ออะไร
 

     สงกรานต์คือการนับปีของประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่นที่ใกล้เคียงโดยใน 1 ปี จะมี 12 นักษัตรคือกลุ่มดาวราศีต่างๆ เป็นเรื่องของกลุ่มดาวบนท้องฟ้าที่เกิดการหมุนเวียนโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงเป็นช่วงรอยต่อจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง เกิดจากช่วงวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับโลกดวงดาวจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิม คนสมัยก่อนจึงนับช่วงเวลานี้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่


 
 
 
     สงกรานต์แต่เดิมคือไปทำบุญกับครอบครัว รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ถือเป็นการสร้างความอบอุ่นสามัคคีในครอบครัว รวมไปถึงการเข้าวัดทำบุญ สร้างความสามัคคีกันในชุมชนและวัด เพราะสงกรานต์เป็นหน้าร้อนจึงใช้น้ำเป็นสื่อกลางไม่ว่าจะเป็นการ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่หรือการสาดน้ำเล่นกันก็ตาม ช่วยดับร้อน และทำให้ชุ่มชื่น     แต่การเล่นน้ำสมัยก่อนต่างจากสมัยนี้ เพราะสมัยก่อนเน้นเรื่องการทำบุญโดยแบ่งเป็นวันที่ตั้งแต่วันที่ 13-15 วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 15 เมษายนของทุกปี  การเรียกของแต่ละวันจะเรียกชื่อต่างกันออกไป
 
 
ทางภาคกลางถือตามที่รัฐบาลกำหนด
   
- 13 วันมหาสงกรานต์และวันผู้สูงอายุแห่งชาติ     
- 14 วันครอบครัว
- 15 วันเถลิงศกหรือวันเริ่มศักราชใหม่
 
    
     ประเพณีแต่เดิมจะเป็นการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ สรงน้ำพระหรือการก่อเจดีย์ทรายให้พระท่านนำไปใช้ประโยชน์ตามความเชื่อว่าของวัดเราไม่สามารถเอาไปใช้ได้  เมื่อเราเดินทรายติดเท้าออกจากวัดก็ขนทรายเข้าวัด มีการปล่อยสัตว์ ปล่อยปลา ส่วนการเล่นน้ำเป็นการใช้ขันเล็กๆตักน้ำมารดกันโดยใช้น้ำที่มีกลิ่นหอมดอกมะลลิหรือน้ำอบ  เพราะการสาดน้ำสมัยก่อนเป็นการไม่สุภาพซึ่งต่างจากในปัจจุบัน จึงกลายเป็นการละเล่นที่เปลี่ยนแปลงไป 
 
 
 
 
 
     สงกรานต์จึงกลายเป็นเทศกาลท่องเที่ยวหรือ Water Festival ทำให้มีรายได้เข้าประเทศ แต่ทำให้ภาพลักษณ์ของประเพณีสงกรานต์ถูกเปลี่ยนมุมมองจากเดิมไป แต่ละที่จึงต้องมีการจัดสงกรานต์ที่แท้จริงเพื่อสืบสานประเพณีดั้งเดิมไว้  เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายและทุกคนต้องช่วยกันสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้  เพราะเทศกาลสงกรานต์ไม่ใช่แค่การเล่นสาดน้ำ สนุกสนาน แต่เป็นการสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัวและสามัคคีภายในชุมชนพร้อมทั้งยึดถือประเพณีสงกรานต์ในด้านที่ดีงามไว้


ผลสำรวจ ของเครือข่ายเยาวชน
ความคิดเห็นของวัยรุ่นที่มีต่อเทศกาลสงกรานต์
             
เรื่องการสาดน้ำ,ปะแป้ง      54%
การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่         20%
สามารถแตะต้องตัวกันได้      9%
เสพหรือดื่มสุรา                    7%
 
     จึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนจะต้องช่วยกันรณรงค์กันต่อไป แต่จะช่วยกันแก้ไขอย่างไร มาเรียนรู้ข้อคิดเห็นและธรรมมะจากพระอาจารย์ เพราะนี่คือส่วนของทันโลก



 

" ส่วนของทันธรรม "
 
โดย พระมหาสมชาย ฐานวุโฒ

      ประเพณีวันสงกรานต์เป็นเทศกาลที่เราทุกคนต่างรู้จักเป็นอย่างดีเพราะทุกคนต่างมีส่วนร่วม แต่มีใครทราบบ้างว่าสงกรานต์มีที่มาอย่างไร
 
 
สงกรานต์มีที่มาอย่างไร
 
 

     คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์จากราศีหนึ่งไปสูอีกราศีหนึ่ง ดังนั้นความจริงแล้วสงกรานต์ก็คือทุกเดือนปีหนึ่ง 12 ครั้ง เพียงแต่ถ้าเป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีน(มีนาคม) - เข้าสู่ราศีเมษ(เมษายน) สมัยก่อนถือว่าเป็นการเปลี่ยนปีขึ้นศักราชใหม่จึงเรียกให้พิเศษกว่าเดือนอื่นว่า "มหสงกรานต์" แต่คนไทยเรียกโดยย่อว่า "สงกรานต์"
 
 

 
 
     ประเพณีนี้มาจากอินเดียก็กระจายไปทั่งทั้งสุวรรณภูมิทั้งไทย พม่า มอญ ลาว กัมพูชา กระจายไปทั่วถึงสิบสองปันนา  ตั้งแต่โบราณไทยเราจึงถือว่าวันสงกรานต์คือกลางเดือนเมษายนเป็นการเปลี่ยนศักราชจากพุทธศักราชหนึ่งไปอีกปีหนึ่ง ปัจจุบันเราใช้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นการต้นปีใหม่ จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ปีพุทธศักราช 2432 จึงปรับเปลี่ยนให้ง่ายขึ้นคือ ยึดถือวันที่ 1 เมษายนเป็นการเริ่มศักราชเปลี่ยนจากกลางเดือนเป็นวันแรกของเดือนแทน
 
 
     เมื่อประเทศไทยมีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศมากขึ้น ในยุคสมัยของจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีมีการเปลี่ยนอีกครั้งแต่เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเริ่มต้นศักราชใหม่เมื่อปี 2484 เพราะฉะนั้นการนับปีเกิดของคนรุ่นก่อนพบว่าปี 2483 เป็นปีพิเศษมีแค่ 9 เดือน เพราะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมแทน
 

วันสงกรานต์
 
   
    ช่วงวันสงกรานต์เป็นช่วงที่อากาศร้อนเราจึงมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ เพื่อปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกไป และรับแต่สิ่งดีๆเข้ามา เนื่องจากเป็นประเพณีที่คนไทยให้ความสำคัญกันมาก  รัฐบาลเอื้อเฟื้อโดยให้วันสงกรานต์มีวันหยุดยาวเป็นพิเศษถือเป็นเทศกาลที่คนกลับไปเยียมบ้านกันมาก  ตามวัดต่างๆก็จัดงานเพื่อเป็นการต้อนรับการกลับคืนสู่เหย้าของแต่ละคนสู่บ้านเกิด เราจึงถือกันว่าสงกรานต์เป็นเสมือนวันครอบครัว วันที่ได้มาพบปะกันทั้งครอบครัว
 
 
 

     ทุกคนต่างอยากกลับไปเยียมบ้านในช่วงเทศกาลนี้เพราะได้พบเพื่อน พี่ น้อง ที่หายหน้ากันไปนานก็ได้กลับมาเจอกัน พบหน้าคนรู้จักที่ไม่ได้พบกันรู้สึกชื่นใจทุกคนจึงอยากกลับไปเยี่ยมบ้านในวันสงกรานต์  สัญชาตญาณของมนุษย์ว่าเรามาจากที่ไหนเราก็ต้องกลับไปที่นั่น  แต่ข้อเสียคือเมื่อกลับไปหลายวันไม่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ทุกวันจึงเริ่มนำอบายมุขเข้ามาแทน บ้างก็เล่นไพ่ ไฮโลกลายเป็นกิจกรรมของครอบครัวสาเหตุเกิดจากไม่รู้จะไปไหนและทำอะไร  ถือว่าผิดหลักเสียประโยชน์เพราะบางคนเก็บเงินกลับบ้านทั้งปีแต่ใช้เงินไม่เกิดประโยชน์และยังเกิดโทษที่สำคัญทำให้เงินหมดอย่างไร้ประโยชน์
 
 
     เพราะฉะนั้นเทศกาลสงกรานต์กลับไปเยี่ยมบ้านแล้ว เราต้องเอาใจผูกกับพระรัตนตรัย ทุกชุมชนช่วยกันจัดกิจกรรมที่สร้างบุญ กุศลในทางสร้างสรรค์ ทำให้เป็นเทศกาลวันครอบครัวที่ทุกคนพร้อมหน้ามาพบผู้ใหญ่ เด็ก ปู่ย่า ตายาย มารดน้ำดำหัวขอพรจากท่าน ที่สำคัญตั้งใจทำความดีร่วมกันเพื่อนำชื่อเสียง เกียรติยศมาสู่ครอบครัว 
 
 
เทศกาลน้ำ หรือ Water Festival
 
   
     สำหรับคนในเมืองกรุงก็รวมตัวในสถานที่ชื่อดังเล่นน้ำสงกรานต์แต่ไม่ได้มีเฉพาะคนไทยเท่านั้นยังมีชาวต่างชาติ เกิดเป็นเทศกาลการท่องเที่ยวใหญ่เมื่อพูดถึงเทศกาลน้ำหรือ Water Festival ทั่วโลกต่างรู้จัก ถ้าในประเทศญี่ปุ่นคือเทศกาลรดน้ำเมื่อพูดถึงทุกคนจะนึกถึงประเทศไทยเพราะเราโปรโมทไปทั่วโลกมากกว่าประเทศอื่นๆ
 
 
 
 
 
     อย่างเช่นในปี 2534 เมื่อ 22 ปีที่แล้ว สมาคมนักเรียนไทยในญี่ปุ่นไปจัดงานสงกรานต์ใหญ่ครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นช่วงเดียวกับที่พระอาจารย์ไปที่ญี่ปุ่น ซึ่งมีพระไทยแค่ 2 รูปจากวัดพระธรรมกาย ทางสมาคมนักเรียนไทยจึงมาอาราธนาท่านไปเป็นประธานสงฆ์ให้ ซึ่งมีชาวไทยกับชาวญี่ปุ่นที่รักความเป็นไทยกว่า 3,000 คนมากันเนืองแน่น การละเล่นเหมือนย้อนยุควัฒนธรรมในประเทศไทย เป็นการรดน้ำโดยให้ผู้ใหญ่นั่งเรียงกันและให้เด็กนักเรียนไทยและญี่ปุ่นไปรดน้ำขอพร
 
 
     ทำให้เห็นว่าถึงแม้เราจะอยู่ต่างประเทศแต่เราก็สามารถรักษาประเพณีเก่า ทั้งยังทำให้คนต่างประเทศได้ปลื้มใจ  เพราะฉะนั้นไม่ว่าอย่างไรเราทุกคนไม่ควรทิ้งรากฐานวัฒนธรรมอันดีงามเพราะมีสิ่งที่น่าประทับใจมาก  ความสนุกสนานทำได้ง่ายแต่มิติลึกของวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก วันสงกรานต์ วันครอบครัวให้ทุกคนได้สืบสานประเพณีอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เว้นจากอบายมุข สุรา การพนัน การใช้ความรุนแรง การสาดน้ำ ล่วงละเมิดเพศตรงข้ามเราจึงควรหลีกเลี่ยง แต่ให้เป็นสงกรานต์อันดีงามสร้างความประทับใจให้ทั้งชาวไทยและชาวโลก
                                          

รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอประเพณีสงกรานต์ที่แท้จริง
ชมวิดีโอประเพณีสงกรานต์ที่แท้จริง   Download ธรรมะประเพณีสงกรานต์ที่แท้จริง


http://goo.gl/S6NTD


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2567 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related