ข้อความต้นฉบับในหน้า
๓๖
อกุศลกรรมบถทางมโนกรรม
เช่น การมีความเห็นผิด
5. คำหยาบโลน คือ คำพูดที่สังคมรังเกียจ
๓. คำอาฆาต คือ คำพูดที่ทำให้ผู้ฟังหวาด
กลัวจะถูกทำร้าย
การพูดคำหยาบนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน
๔ ลักษณะ คือ
0.
๒.
๓.
C.
พูดคำหยาบด้วยตนเอง
ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
พอใจในการพูดคำหยาบ
กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ
การพูดเพ้อเจ้อ
การพูดเพ้อเจ้อ หมายถึง การที่บุคคลใดพูด
เหลวไหล พล่อยๆ พูดไม่ถูกกาล พูดไม่จริง พูดไม่
อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย พูดไม่มีหลักฐาน
อ้างอิง พูดเรื่อยเปื่อยไม่ยอมหยุด ไม่เป็นประโยชน์
ในเวลาอันไม่ควร
การพูดเพ้อเจ้อนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำ
ใน ๔ ลักษณะ คือ
6).
๒.
๓.
พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง
ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ
กล่าวสรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ
การอยากได้ของผู้อื่น
การอยากได้ของผู้อื่น หมายถึง การที่บุคคล
ใดเพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นในทางมิชอบ
การอยากได้ของผู้อื่นนี้ ครอบคลุมถึงการ
กระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
๑.
๒.
อยากได้ของของผู้อื่นด้วยตนเอง
ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของของผู้อื่น
๓. พอใจในการอยากได้ของของผู้อื่น
.
กล่าวสรรเสริญการอยากได้ของของผู้อื่น
การมีจิตคิดปองร้าย
การมีจิตคิดปองร้าย หมายถึง การที่บุคคลใด
มีความชั่วร้ายในใจ คิดให้ผู้อื่นถูกฆ่า ถูกทำลาย
ขาดสูญ พินาศ หรืออย่ามีชีวิตอยู่เลย
การมีจิตคิดปองร้ายนี้ ครอบคลุมถึงการ
กระทําใน ๔ ลักษณะ คือ
๑. มีจิตคิดปองร้ายด้วยตนเอง
๒.
ชักชวนผู้อื่นให้คิดปองร้าย
๓. พอใจในการคิดปองร้าย
C.
กล่าวสรรเสริญผู้มีจิตคิดปองร้าย
การมีความเห็นผิด
เป็นผู้มีความเห็นผิด หมายถึง การที่บุคคลใด
มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การ
เซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลของกรรมดี
กรรมชั่วไม่มี โลกนี้โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มีคุณ
นรกสวรรค์ไม่มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้
ได้เองโดยชอบไม่มี
การเป็นผู้มีความเห็นผิดนี้ ครอบคลุมถึงการ
กระทำใน ๔ ลักษณะ คือ
Q.
๒.
๓.
เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง
ชักชวนผู้อื่นให้เป็นผู้มีความเห็นผิดตาม
พอใจในการเป็นผู้มีความเห็นผิด
C. กล่าวสรรเสริญผู้มีความเห็นผิด
อ่านต่อฉบับหน้า