ข้อความต้นฉบับในหน้า
ไปอย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อย ๆ น้อมนึก
ดวงแก้วกลมใสให้ค่อย ๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่ม
ต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็น ๆ ไปพร้อม ๆ
กับค่าภาวนา
อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงแก้วกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วาง
อารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของ
อารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วาง
อารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไป
ปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็น
ค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วาง
สติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็ก ๆ
อีกดวงหนึ่งซ่อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็ก ๆ
ตรงกลางนั้นไปเรื่อย ๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน เกิดการตกศูนย์ และ
เกิดดวงสว่างขึ้นมาแทนที่ ดวงนี้เรียกว่า “ดวงธรรม” หรือ “ดวงปฐมมรรค
อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน
การระลึกนึกถึงนิมิต สามารถทำได้ในทุกแห่ง ทุกที่ทุกอิริยาบถ ไม่ว่า
จะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือขณะท่าภารกิจใด ๆ
ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อย ๆ ทำอย่าง
สบายๆ ไม่เร่งไม่บังคับทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น ซึ่งจะเป็นการป้องกัน
มิให้เกิดความอยาก จนเกินไปจนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง
และเมื่อการฝึกสมาธิบังเกิดผลจนได้ “ดวงปฐมมรรค” ที่ใสเกินใส สวยเกิน
สวยติดสนิทมั่นคงอยู่ที่ศูนย์กลางกาย แล้วให้หมั่นตรีกระลึกนึกถึงอยู่เสมอ
อย่างนี้แล้วผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข
ความสําเร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียด
ลุมลึกไปตามลำาดับอีกด้วย
พระคุณแม่ 74
ภาพแสดงที่ตั้งจิตทั้ง ๗ ฐาน
หญิงบางชาย
ฐานที่ ๑) ปากช่องจมูก ชายข้างขวา
ฐานที่ ๒) เพลาตา
ฐานที่ (๓) จอมประสาท
ฐานที่ @) ช่องเพดาน
ฐานที่ 4 ปากช่องลำคอ
หญิงบางชาย
L ชายบางขวา
ฐานที่ ๗) ศูนย์กลางกายที่ตั้งจิตถาวร
ฐานที่ 5) ศูนย์กลางกายระดับสะดือ
75 พระคุณแม่
ป