การกรวดน้ำอุทิศบุญในพิธี หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ทาน-บุญ หน้า 13
หน้าที่ 13 / 63

สรุปเนื้อหา

การกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญในงานพิธีที่มีสาธุชนมากนั้นสามารถใช้ตัวแทนกรวดน้ำได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคำกล่าวเสียงดัง เพราะขัดจังหวะพระสงฆ์ ขณะที่พระสงฆ์กำลังให้พร ควรน้อมจิตส่งบุญไปยังผู้ที่ต้องการส่งบุญให้ และบทกรวดน้ำ ควรใช้เมื่อพระสงฆ์ให้พรจบ.

หัวข้อประเด็น

-การกรวดน้ำ
-วิธีการอุทิศส่วนบุญ
-ความสำคัญของใจในการทำบุญ
-บทกรวดน้ำที่ถูกต้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทาน – บุญ ต. กรวดนํ้าแทนกัน การกรวดน้ำอุทิศแผ่ส่วนบุญ ในงานพิธีบุญที่มีสาธุชนมาก ถ้า หากจะให้ตัวแทนเป็นผู้กล่าวนำคำอุทิศ แล้วเรา กล่าวตาม และให้ตัวแทนเป็นผู้กรวดน้ำแทนด้วย จะ ได้ผลเหมือนทำเองไหมครับ ? การกรวดน้ำในงานพิธีโดยทั่วไป กำหนดให้มีตัวแทนทำหน้าที่ กรวดน้ำอยู่แล้ว และขณะกรวดน้ำก็ไม่จำเป็นจะต้องมีคำกล่าวอะไร เพราะว่าขณะที่กำลังกรวดน้ำนั้นเป็นเวลาเดียวกับที่พระสงฆ์กำลังให้พร ถ้าเรากล่าวอะไรเสียงดังออกไป เท่ากับไปขัดจังหวะ ไปส่งเสียงแข่ง กับพระภิกษุ เพราะฉะนั้นใครๆ ก็ไม่จำเป็นต้องไปกล่าวอะไรทั้งนั้น ใคร ทำหน้าที่กรวดน้ำ ก็หลั่งน้ำทันทีที่พระสงฆ์ผู้เป็นประธานกล่าวขึ้นต้น คาถาว่า ยถา วาริวหา ปรา... และให้หยุดหลั่งน้ำ เมื่อพระภิกษุรูปที่ สองรับขึ้นว่า สัพพีติโย... คนอื่นนอกนั้นก็นึกน้อมอธิษฐานจิตนึกถึงบุญและแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศลไปยังผู้ที่เราต้องการส่งบุญไปให้ ทำแค่นี้ก็เหมือนกับเราลง มือกรวดน้ำด้วยตนเองนั่นแหละ มันสำคัญอยู่ที่ใจนะลูกนะ บทกรวดน้ำ ที่ขึ้นต้นว่า อิทังเม ญาตินัง โหตุฯ นั้นใช้ท่อง ตามลำพังของเรา หลังจากที่พระให้พรจบแล้ว ห ล ว ง พ่ อ ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More