การอธิษฐานเมื่อทำบุญ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ทาน-บุญ หน้า 52
หน้าที่ 52 / 63

สรุปเนื้อหา

การใส่บาตรสามารถทำได้ทั้งที่อธิษฐานและไม่อธิษฐาน แต่การอธิษฐานช่วยตั้งเจตนาและเตือนสติไม่ให้ไปในทางที่ผิด การทำบุญควรอธิษฐานเพื่อให้บุญส่งผลตามที่ต้องการ และช่วยไม่ให้เกิดโทสะ อธิษฐานเป็นบารมีที่สำคัญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นตัวอย่างของการมาด้วยแรงอธิษฐานเพื่อบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หัวข้อประเด็น

-การทำบุญ
-การอธิษฐาน
-เจตนาในการทำบุญ
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-อธิษฐานบารมี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทาน – บุญ ๒๕. อธิษฐานเมื่อทําบุญ การใส่บาตร ถ้าไม่ได้อธิษฐาน เพราะถือว่าใส่บาตรไม่ได้หวัง ผล จะได้บุญหรือไม่คะ ? ความจริงเวลาใส่บาตรแล้วจะอธิษฐาน หรือไม่อธิษฐานก็ได้ บุญอยู่แล้ว แต่ที่โบราณท่านสอนให้เราอธิษฐานกันนั้น เป็นการตั้ง เจตนาแน่วแน่ลงไป คนที่ทำอย่างนี้เมื่อถึงคราวบุญส่งผล จะได้ผล ตรงตามที่เราปรารถนา เช่น สมมุติเราเป็นคนที่ให้ทาน ถึงคราวบุญ ส่งผลก็จะทำให้เราเป็นคนร่ำรวย แต่ว่าถ้าเราเป็นคนที่มีความเห็นผิด เป็นคนเจ้าโทสะ ถึงคราวบุญส่งผล เราก็รวย แต่เราก็ยังเจ้าโทสะอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีโอกาสที่จะเอาความรวยไปใช้ในทางที่ผิด คือใครขวางทางก็เล่นงานเขาถึงเป็นถึงตายเลยทีเดียว ท่านจึงสอนให้ อธิษฐานด้วยเมื่อทำบุญ เพื่อเป็นการเตือนสติตัวเองไว้ จะได้ไม่ ถลำไปในทางที่ไม่ดีไม่งาม เช่น อธิษฐานว่าด้วยอำนาจทาน ที่ข้าพเจ้า ทำดีแล้วนี้ ขอให้บุญกุศลนี้ส่งให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ไม่มีโทสะ ถ้าทำอย่างนี้ถึงคราวบุญส่งผล บุญก็จะคอยเตือนเราให้ไม่ เป็นคนเจ้าโทสะได้ แม้แต่ปัจจุบันนี้ ถ้าเราหมั่นอธิษฐานอย่างนี้บ่อยๆ ก็เป็นการเตือนตัวเอง ไม่ให้มีโทสะเข้าครอบงำ หรือเวลาเกิดโทสะก็ สามารถยับยั้งตัวเองมีสติได้เร็วขึ้น การอธิษฐานมีส่วนดีอย่างนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงจัด ให้การอธิษฐานเป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมี ๑๐ ทัศ เรียกว่า อธิษฐานบารมี แม้การที่พระองค์มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ พระองค์มาด้วยอำนาจแรงอธิษฐาน คือทรงตั้งจิตมั่น แล้วพยายามทำ ตามเส้นทางที่หวังไว้ พระภาวนาวิริยคุณ 52 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More