ทาน – บุญ: ความหมายและการกรวดน้ำ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ทาน-บุญ หน้า 24
หน้าที่ 24 / 63

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงเรื่องการกรวดน้ำหลังทำบุญ ว่ามีความสำคัญต่อการอุทิศบุญให้แก่ผู้ล่วงลับอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอย่างจากพระเจ้าพิมพิสาร ที่ไม่ได้กรวดน้ำและส่งผลต่อญาติในอดีตที่กลายเป็นเปรต รวมถึงสถานการณ์ที่ทำให้พวกเขาไม่ได้รับบุญจากการทำบุญของพระองค์ ในที่สุดพระเจ้าพิมพิสารได้ทำบุญอีกครั้ง แต่ยังไม่กรวดน้ำ จนเกิดเหตุการณ์ที่เปรตพวกนั้นมาประท้วงเพื่อเรียกร้องส่วนบุญที่พวกเขารอคอยอยู่

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการกรวดน้ำ
-บทเรียนจากพระเจ้าพิมพิสาร
-การทำบุญและอุทิศส่วนกุศล
-เปรตและความเชื่อในพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทาน – บุญ ๑๑. ท่าบุญแล้วไม่ได้กรวดน้ำ จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่า เมื่อทำบุญเสร็จแล้ว ถ้าไม่ได้กรวดน้ำ ให้กับผู้ตาย แม้ผู้ตายจะเป็นญาติสนิท เขาก็ไม่ได้รับ บุญที่เราอยากให้เขาได้ ? เรื่องนี้ก็มีส่วนจริงนะ การกรวดน้ำ คือการอุทิศส่วนบุญส่วน กุศลที่เราทำให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เราระบุถึง ถ้าเราไม่ให้ เขา ก็ไม่ได้รับนะซิ ในสมัยพุทธกาล มีอยู่คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารท่านทำบุญ แล้วไม่ได้อุทิศส่วนกุศลให้กับใคร ทีนี้พวกญาติในอดีตชาติของท่าน ซึ่งชอบยักยอกของที่เขาเตรียมไว้จะถวายพระ พวกนี้ตายแล้ว ไปเกิดเป็นเปรตนานจนนับเวลาไม่ถ้วน ตลอดเวลานั้นก็รออยู่ว่า เมื่อไหร่หนอพระเจ้าพิมพิสารจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้บ้าง แต่ ทำบุญกี่ครั้งๆ พระองค์ก็ไม่กรวดน้ำให้สักที เขาไม่ได้บุญ ก็เลยไม่พ้น จากสภาพการเป็นเปรต วันหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารทำบุญถวายวัดเวฬุวันให้แก่สงฆ์ แล้วก็ไม่ได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ใครอีกเช่นเคย เพราะไม่เคยทำสักที แต่เนื่องจากบุญครั้งนี้มากเป็นพิเศษ เป็นที่รู้กันทั่วไปหลายภพหลายภูมิ พวกเปรตที่เป็นญาติเก่าก็รู้ด้วย และรอรับส่วนบุญอยู่ พอไม่ได้อย่าง ที่หวังตั้งตารอ ก็นัดกันประท้วง เจ้าเปรตพวกนี้พอนัดแนะกันอย่างดีแล้ว ตกกลางคืนก็ไป ร้องกรี๊ดๆ ทำเสียงโหยหวนอยู่รอบพระราชวัง บ้างก็แสดงกายให้พระ เจ้าพิมพิสารเห็น พระภาวนาวิริยคุณ 24 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More