ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทาน - บุญ
แม้ที่สุดไม่เห็นการฆ่า ไม่ได้ยินตอนเขาฆ่า และไม่รู้เรื่อง
ด้วยว่าเขาฆ่ามาเฉพาะเพื่อท่าน แต่สงสัยว่าเขาฆ่าเฉพาะเพื่อท่าน แม้
อย่างนั้นในพระวินัย ก็กำหนดว่าฉันไม่ได้
เช่น สมมุติว่าพระธุดงค์เดินธุดงค์ไปในป่าเจอบ้านโยมหลังหนึ่ง
ก็เข้าไปปักกลดอยู่ห่างๆ พอเช้าขึ้นมาโยมแกงไก่มาถวาย รู้โดย
อัตโนมัติเลยว่าเขาฆ่าไก่มาเพื่อท่าน พอสงสัยหรือแหนงใจ อย่างนี้ก็
ฉันไม่ได้แล้ว
ถ้ากลัวว่าโยมจะเสียใจจะรับประเคน ก็รับไว้ แต่ฉันไม่ได้
เพราะผิดพระวินัย เป็นอาบัติของพระ
หลวงพ่อเองเคยเดินธุดงค์เข้าไปในป่า พอเช้าขึ้นมาเขาแกง
ไก่มาถวาย รู้อยู่ว่าในป่านั้นไม่มีตลาดขายเนื้อสัตว์ เพราะฉะนั้นก็รู้
โดยสามัญสำนึกว่าไก่นี้ถูกฆ่าเฉพาะเจาะจงมาเพื่อเรา ก็เลยฉันไม่ได้
หลวงพ่อรับประเคนเหมือนกัน เพื่อรักษาน้ำใจ แต่ว่าไม่ฉัน
คราวนี้เรื่องของนิทานที่ว่า ลูกไก่โดดเข้ากองไฟ ตายตามแม่ไก่
แล้วไปเกิดเป็นดาว โยมสงสัยว่าไก่ได้บุญ แต่ทำไมตากับยายไม่ได้บุญ
โถ....นั่นมันนิทานกล่อมเด็กหรอกคุณโยม มันจะเป็นไปอย่างนั้นได้
อย่างไร ไม่มีเหตุผลเลยนะ
ยังมีเรื่องที่อยากจะบอกให้ทราบทั่วๆ กันไว้อย่างหนึ่ง เพราะ
หลวงพ่อเคยพบปัญหาทำนองนี้หลายครั้ง คือมีญาติโยมบางคนเอากุ้งดิบ
ปลาดิบมาถวายให้ฉัน แล้วก็บอกว่ามันสุกแล้ว สุกด้วยน้ำส้ม สุกด้วย
น้ำมะนาว อะไรทำนองนั้น ก็ต้องบอกเขาไปว่าสุกอย่างนี้พระภิกษุฉัน
ไม่ได้
พระวินัยกำหนดไว้เลยว่า พระภิกษุจะฉันอาหารประเภทเนื้อ
ประเภทปลา ต้องให้สุกด้วยไฟ ไม่ใช่สุกด้วยอย่างอื่น
ห ล ว ง พ่ อ
39 ต อ บ ปั ญ ห า