การเสียสละเพื่อหน้าที่ในฐานะพ่อและนักรบ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ทาน-บุญ หน้า 36
หน้าที่ 36 / 63

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการเสียสละในฐานะพ่อและนักรบ โดยยกตัวอย่างพระเวสสันดรที่มีปัญญาเห็นว่าการตัดใจจากลูกและเมียเพื่อทำงานที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น สำคัญต่อการช่วยเหลือผู้คนในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการปกป้องครอบครัวในชาตินี้ แต่ยังส่งผลให้ไม่มีความเดือดร้อนในชาติหน้า ทหารมีหน้าที่ที่ต้องเสียสละต่างจากประชาชนทั่วไป และไม่ควรถูกตำหนิในเรื่องนี้

หัวข้อประเด็น

-การเสียสละในหน้าที่
-บทบาทของพระเวสสันดร
-การตัดสินใจที่ยากลำบาก
-แตกต่างระหว่างทหารและประชาชน
-ความสำคัญของการมองการณ์ไกล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทาน – บุญ เป็นพ่อเป็นลูกกัน ถ้าเอาแค่ฐานะนี้มาพิจารณาละก็ คนที่ทิ้งลูกทิ้งเมีย ออกไปรบ ก็จะถูกตำหนิว่าผิด เพราะมีหน้าที่จะต้องดูแลครอบครัว ใครไม่ดูแลนี่ถือว่าผิด แต่ถ้าคิดให้กว้างออกไปว่านอกจากเขาจะเป็น คนมีลูกมีเมีย มีหน้าที่ดูแลครอบครัวแล้ว เขายังเป็นทหาร มีหน้าที่ที่ ยิ่งใหญ่กว่าการเป็นพ่อคน หรือการเป็นสามีคน เพราะฉะนั้นเขาจึง ต้องไปรบ ใครๆ ก็ตำหนิเขาไม่ได้เช่นกัน พระเวสสันดรเมื่อท่านบำเพ็ญบารมีมากเข้าๆ พอถึงจุด หนึ่ง จุดที่ท่านมองกว้าง มองไปทั้งโลก คนที่จะมีจิตใจงาม จิตใจ ใสสะอาด มีปัญญามากพอที่จะไปถึงจุดที่คิดจะไปเอาความรู้ที่ถูกต้อง ความรู้ที่บริสุทธิ์มาให้ชาวโลกได้ เดี๋ยวนี้มีที่ไหน ถ้าตอนนั้นท่าน ยังห่วงพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี ก็คงอีกหลายชาติกว่าจะไป ถึงจุดที่จะช่วยชาวโลกได้ คงต้องเสียเวลาอีกมากเลย ทหารทางโลก ตัดใจทิ้งลูกทิ้งเมียไปรบกับศัตรูที่เป็นตัวบุคคล ส่วนพระเวสสันดรมีปัญญามาก พระองค์ทรงเป็นทหารทางธรรม จึงเห็นชัดเลยว่าจำเป็นจะต้องตัดใจทิ้งลูกทิ้งเมีย เพื่อไปรบกับกิเลส ชนะกิเลสครั้งนี้ ลูกเมียจะเดือดร้อนอย่างมากก็แค่ชาตินี้ ชาติต่อไป จะไม่มีคำว่าเดือดร้อนอีกแล้ว ทรงมองเห็นอย่างนี้ จึงทำอย่างนั้น พวก เราเวลาพิจารณาอะไร อย่าเอาภาวะฐานะที่ตัวเองเป็นอยู่ไปตัดสิน ใครเขานะ เดี๋ยวจะพลาดไป คนเรามีฐานะไม่เหมือนกัน แม้เป็นคนด้วยกัน ทหารกับ ประชาชน ก็มีความรู้สึกนึกคิดต่างกันมาก ทหารต้องเสียสละทุกสิ่ง ทุกอย่าง อย่าว่าแต่ลูกเมียเลย แม้ชีวิตตนเองก็ต้องยอมสละ เพื่อ ปกป้องรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไว้ ให้ยืนยงคงอยู่คู่แผ่นดิน ไทยตลอดไป เราจะไปตำหนิว่าเขาเป็นคนใจร้ายใจดำได้อย่างไร พระ พระภาวนาวิริยคุณ 36 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More