ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทันโลก ทันธรรม
สัตว์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณ หรือมีญาณ
หยั่งรู้ทำให้กิเลสหมดสิ้นไปที่เรียกว่า อาสวักขยญาณ
สิ่งเหล่านี้ คือ ความรู้ในขั้นที่ ๓ หรือที่เรียกว่า
ภาวนามยปัญญา
ส่วนแผนที่ความคิดนั้น คือ อุปกรณ์ที่ช่วย
เพิ่มพูนปัญญาในขั้นที่ ๒ ที่เรียกว่ารู้คิด แต่จะรู้คิด
ได้ดีใจต้องเป็นสมาธิด้วย ถ้าใจยุ่งเหยิงไม่เป็นสมาธิ
ก็จะคิดอะไรไม่ค่อยออก วนไปวนมา คนจะคิดได้
ลึกซึ้ง กระจ่าง ความคิดต้องเป็นระเบียบ เป็นสมาธิ
การใช้แผนที่ความคิดจะช่วยได้มาก สมมติ
ว่าเราจะหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราก็ตั้งประเด็น
ขึ้นมาว่าเรื่องนั้นมีกี่ประเด็น ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ แล้ว
ก็โยงออกไป แต่ละประเด็นใหญ่มีกี่ประเด็นย่อย เรา
ก็แตกแขนงไปอีก ประเด็นย่อยเหล่านั้น มีประเด็น
ย่อยอีกเท่าไร เราก็แตกออกไป ดังนั้น เวลาจะคิด
เรื่องอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับประเด็นใหญ่ ๆ เราจะไม่
คิดวนไปวนมาอย่างที่คนทั่ว ๆ ไปมักจะเป็นกัน การ
ใช้แผนที่ความคิดจึงมีส่วนช่วยให้จินตมยปัญญา
หรือความรู้คิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้พอสมควร
แผนที่ความคิด
คืออุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มพูนปัญญา
ในขั้นที่ ๒ ที่เรียกว่า “รู้คิด
แต่จะรู้คิดได้ดี
ใจต้องเป็นสมาธิด้วย
ถ้าใจยุ่งเหยิงไม่เป็นสมาธิ
ก็จะคิดอะไรไม่ค่อยออก วนไปวนมา
คนจะคิดได้ลึกซึ้ง กระจ่าง
ความคิดต้องเป็นระเบียบ
เป็นสมาธิ
ทีเดียว
แต่ว่าอยากจะฝากข้อคิดไว้ ๒ ประเด็น
ประเด็นแรก อย่าลืมว่าแผนที่ความคิดเป็น
เพียงอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราจัดระเบียบความคิด แต่
ยังไม่ได้บอกว่าในเรื่องหนึ่ง ๆ ที่เราต้องคิดมี
ประเด็นอะไรบ้าง โดยส่วนใหญ่เขาใช้วิธีการระดม
สมองที่เรียกว่า Brainstorm (เบรนสตอร์ม) ระดม