แผนที่ความคิดและปัญญาในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2553  หน้า 80
หน้าที่ 80 / 112

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการใช้แผนที่ความคิดหรือ Mind Map เพื่อจัดระเบียบความคิด โดยแบ่งระดับความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้อธิบายไว้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ สุตตมยปัญญาที่ได้จากการฟังหรืออ่าน, จินตมยปัญญาที่เกิดจากการคิดตรึกตรองจากสิ่งที่ได้เรียนรู้, และภาวนามยปัญญาที่ได้จากการทำสมาธิ ซึ่งช่วยให้เกิดการเห็นในความจริงของโลกและชีวิต รวมถึงสามารถระลึกชาติได้ เสริมสร้างความเข้าใจในธรรมและปัญญา

หัวข้อประเด็น

-แผนที่ความคิด
-ปัญญาในพระพุทธศาสนา
-การจัดระเบียบความคิด
-ระดับปัญญา
-การทำสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๗๘ ทันโลก ทันธรรม เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) จากรายการทันโลก ทันธรรม ออกอากาศทางช่อง DMC Learning Part Specific ochrym 1.0 Exporip strati Modellin Building Learning Power (LP) mentating Explaining แผนที่ Discuss ความคิด M ww HELLO :) THE Technique วันนี้ได้รับอาราธนาให้พูดเรื่อง “แผนที่ ความคิด” หรือ Mind Map (ไมนด์แมป) ซึ่งเป็นการ จัดระเบียบความคิดของเรา เรื่องนี้อยากให้มองภาพ กว้าง ๆ ว่า ทางมาแห่งความรู้หรือที่เรียกว่าปัญญา นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแบ่งไว้เป็น ๓ ประเภท คือ 1). สุตตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการฟัง หรือการอ่าน เป็นปัญญาขั้นต้น จะเรียกว่า “รู้” ก็ได้ ๒. จินตมยปัญญา เป็นปัญญาขั้นที่ ๒ คือ การเอาสิ่งที่เราศึกษาเรียนรู้จากคนอื่นมานึกคิด ตรึกตรองหาเหตุผล บางครั้งก็ได้ข้อสรุปใหม่ ๆ น่าสนใจ เป็นความรู้ระดับสูงขึ้นมา อาจจะเรียก ย่อ ๆ ว่า “รู้คิด” ก็ได้ on. ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดขึ้น จากการทำสมาธิภาวนา จะเกิดขึ้นได้จากใจที่เป็น มาธิตั้งมั่นเท่านั้นการจะหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ ได้ก็ต้องอาศัยปัญญาระดับนี้ ซึ่งเป็นปัญญาระดับ สูงสุด อาจจะเรียกย่อ ๆ ว่า “รู้แจ้ง” ก็ได้ ปัญญาระดับนี้ไม่ใช้คำว่า “คิด” แต่ใช้คำว่า “เห็น” เช่น มีธรรมจักษุ คือ มีดวงตาเห็นธรรม หรือ สัมมาทิฐิ ในมรรคมีองค์ ๘ ข้อแรกก็ใช้คำว่า มี ความเห็นถูก ไม่ใช่คิดถูก คือ เมื่อใจสงบ ความ สว่างบังเกิดขึ้นภายใน ก็จะมีความรู้จากการเห็น คือ ไปรู้ไปเห็นถึงความจริงของโลก ชีวิต และ สรรพกิเลสทั้งปวง เห็นถึงขนาดว่า ภพในอดีตเรา มาจากไหน สามารถระลึกชาติตัวเองได้ ที่เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เห็นการไปเกิดมาเกิดของ ที่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More