ข้อความต้นฉบับในหน้า
หากเราศึกษาหลักธรรม
ในพระพุทธศาสนา
เราจะได้เปรียบมาก
เพราะธรรมะ
แต่ละหมวด แต่ละหมู่
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ให้ภาพรวมไว้แล้วว่า
ในเรื่องหนึ่ง ๆ
มีประเด็นสำคัญ
ที่เกี่ยวข้องกี่อย่าง
สมองช่วยกันคิดว่า เรื่องนี้มีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง ถ้า
ผู้ที่ร่วมกันคิดเป็นคนที่มีสติปัญญา ก็พอใช้งานได้
ในระดับหนึ่ง แต่หากเราเคยศึกษาหลักธรรมใน
พระพุทธศาสนา เราจะได้เปรียบมาก เพราะธรรมะ
แต่ละหมวดแต่ละหมู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้
ภาพรวมไว้แล้วว่า ในเรื่องหนึ่ง ๆ มีประเด็นสำคัญ
ที่เกี่ยวข้องอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าหากต้องการสร้างมนุษยสัมพันธ์ พระองค์
ทรงให้ใช้หมวดสังคหวัตถุ ๔ ก็คือ ๑. ทาน คือ
รู้จักการให้ มีน้ำใจให้แก่กัน ถึงจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี
๒. ปิยวาจา คือ พูดให้เป็น ๓. อัตถจริยา คือ
ทำตัวให้มีประโยชน์ รู้จักใช้ความสามารถไปทำ
ประโยชน์ให้กับคนอื่น ๔. สมานัตตตา คือ วางตัว
ให้สม่ำเสมอ ถูกต้องเหมาะสมกับสถานภาพของ
ตัวเอง ถ้าครบ ๔ อย่างนี้ มนุษยสัมพันธ์ดีแน่นอน
หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีภาพรวมครบอยู่แล้ว
ขึ้นอยู่กับว่าเราจะไปแจกแจงต่อได้ขนาดไหน ถึงจะ
ไม่ตกไม่หล่นอะไรไป
แต่ถ้าจะมาเบรนสตอร์มเรื่องมนุษยสัมพันธ์
เราจะตั้งหัวข้อได้มากมาย แล้วอาจจะหลุดบางเรื่อง
ไป ในขณะเดียวกันบางเรื่องที่ควรจะอยู่หมวดเดียว
กัน ก็อาจจะแยกประเด็นออกไป เรื่องนี้มีตัวอย่าง
เช่น หนังสือประเภทโนฮาว ในเรื่องของ
ฮาวทู
มนุษยสัมพันธ์ที่มีขายในท้องตลาด เขาก็เขียนไว้
น่าอ่านทีเดียว มีตัวอย่างมากมาย วิธีชนะมิตรและ
จูงใจคน ชนะทุกข์ สร้างสุข แต่อ่านแล้วจะวน ๆ
รวมแล้วมีแค่ประเด็นสองประเด็นเท่านั้น คือ เรื่อง
ทานและปิยวาจา บางครั้งเขาก็ลืมเรื่องอัตถจริยา
หรือสมานัตตตาไปบ้าง หรือบางครั้งก็พูดถึงแต่ไม่