บทวิเคราะห์ความสำคัญของวันเพ็ญในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กันยายน พ.ศ.2548 หน้า 41
หน้าที่ 41 / 92

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงความสำคัญของวันเพ็ญในพระพุทธศาสนา ซึ่งตรงกับเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยพระองค์ทรงเลือกวันเพ็ญและวันเดือนดับในการสวดปาฏิโมกข์ เพื่อเป็นการควบคุมจิตใจให้สัมผัสถึงความสว่าง นับเป็นวันที่เหมาะสำหรับการทำบุญร่วมกันและเข้าใจธรรมะมากยิ่งขึ้น การปฏิบัติธรรมในวันที่มีพระจันทร์เต็มดวงนั้น ช่วยให้จิตใจสว่างไสว ในขณะที่ความมืดจากวันที่เดือนดับจะทำให้ผู้เข้าร่วมได้สำรวจและตรวจสอบภายในตัวเอง เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการปฏิบัติธรรม

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของวันเพ็ญ
-การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การปฏิบัติธรรมในวันสำคัญ
-การควบคุมจิตใจภายในและภายนอก
-วัดปากน้ำและการสืบทอดธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในเวลาต่อมาหลวงพ่อ สังเกตพบว่า สำหรับผู้ที่มี บารมีแก่กล้า พังสำเร็จ ของท่านพิเศษๆ ทั้งนั้นเลย คือมักจะตรงกับวันเพ็ญ “พี่เด็จทำไมเมื่อเช้าไม่มาล่ะ วันสำคัญๆ อย่างนี้ อย่าให้ขาด เพราะเป็นวันรวมบุญใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นวันเกิด หรือว่าเป็นวันเข้าถึงธรรมของ ท่านผู้มีบุญก็ตาม ไม่ใช่ธรรมดาหรอกนะ เพราะ เป็นผังสำเร็จจากพระนิพพานทีเดียว โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ท่านยังแข็งแรง ยังมีชีวิตอยู่อย่างนี้ ถ้าใคร ได้ทำบุญร่วมกับท่านละก็ เหมือนได้เข้าไปอยู่ฝั่ง สำเร็จเดียวกับท่าน วันหลังพี่เด็จอย่าขาดอีกนะ” ในเวลาต่อมาหลวงพ่อสังเกตพบว่า สำหรับ ผู้ที่มีบารมีแก่กล้า ตั้งสำเร็จของท่านพิเศษๆ ทั้งนั้นเลย คือมักจะตรงกับวันเพ็ญ ยกตัวอย่าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราก็ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันเพ็ญ วันที่ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่ง เป็นปฐมเทศนา ก็เป็นวันเพ็ญ ถึงคราวที่จะปักหลักพระพุทธศาสนา ต้องให้ หลักการ ให้อุดมการณ์ ให้วิธีการ ที่สมบูรณ์ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่พระสาวก พระพุทธองค์ก็ทรงเลือกเอาวันมาฆบูชา ซึ่งเป็น ยิ่งกว่านั้น หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพุทธธรรม ให้แพร่ขยายคลุมไปทั่ว ชมพูทวีปแล้ว ก็ทรงบัญญัติให้เอาวันเพ็ญที่มี พระจันทร์เต็มดวง และวันเดือนดับ เป็นวันสวด ปาฏิโมกข์อีกด้วย เพราะว่าในวันเพ็ญที่มีพระจันทร์เต็มดวงนั้น บรรยากาศช่างเหมาะเสียเหลือเกิน คือเอาความ สว่างไสวภายนอกมาเป็นสื่อให้ตรึก ให้ระลึก ถึงธรรมะภายใน ความสว่างภายในจะได้สว่างยิ่งๆ ขึ้นไป ครั้นในวันเดือนดับ แม้บรรยากาศภายนอก จะมืดมิด แต่ก็มาร่วมประชุมกัน เพื่อให้ใจตรึก ระลึกถึงธรรม และสำรวจตรวจสอบตัวเองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ความมืดจากภายนอกจะได้ไม่รั่วไหลเข้ามา รดใจ ให้มีความมืดมิดไปด้วย ส่วนความมืดที่มีค้างอยู่ในใจมาบ้างแล้ว ตั้งแต่เกิด ก็จะถูกเตือนด้วยพระปาฏิโมกข์ เลย ไม่กล้ากำเริบ ไม่กล้าแผ่ขยาย จึงเป็นการควบคุม ความมืด ทั้งภายนอก ทั้งภายใน ไม่ให้รุกคืบเข้า มาในจิตใจได้ พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ ท่านตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมเ รรมเรื่อยมา วันเพ็ญเช่นกัน อยู่ ป ๓๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More