เสาแห่งพระเจ้าอโศก: สัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2549 หน้า 32
หน้าที่ 32 / 88

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของ 'เสาแห่งพระเจ้าอโศก' ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณที่กษัตริย์อโศกมหาราชทรงสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เสานี้ไม่เพียงแต่เป็นชิ้นงานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นหลักฐานแห่งความเชื่อมโยงจิตใจของผู้คนที่มักจะรู้สึกถึงพลังที่สงบและมั่นคงเมื่อได้ใกล้กับเสานี้ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงพิธีตอกเสาเข็มมงคลสำหรับมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่ประดิษฐานบนแผ่นดินดอกบัว ที่แสดงถึงการเริ่มต้นใหม่และการสร้างความสงบสุขให้แก่จิตใจ

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสตร์ของเสาแห่งพระเจ้าอโศก
-ความหมายทางจิตวิญญาณ
-ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
-พิธีการสำคัญในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓๐ เรื่อง : อัญชลี เรื่องจิต ochrym นับตั้งแต่โบราณ ก่อนการสร้างมหาวิหารให้ เป็นปูชนียสถานอันมีค่าให้เป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราว อันน่าศึกษาทั้งหมดไว้ มักจะมีการก่อสร้างสิ่งหนึ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์ ที่แฝงความหมายแห่งปริศนาธรรม อันลึกซึ้ง ดังเช่น พระเจ้าอโศกมหาราช วีรกษัตริย์ แห่งราชวงศ์เมารยะ ประเทศอินเดีย ได้ทรงสร้าง รูปสลักขึ้นมาชิ้นหนึ่ง ซึ่งคุณค่าทางสถาปัตยกรรม แม้ไม่โดดเด่น เป็นเพียงเสาที่ทรงสร้างอย่างสวยงาม เท่านั้น แต่สำหรับกษัตริย์มหาราช ผู้มีศรัทธาตั้งมั่น ในพระรัตนตรัย และสำหรับความสถิตสถาพร แห่งบวรพุทธศาสนา เสาที่มีนามว่า “เสาแห่งพระเจ้า อโศก” หรือ Asoka Pillar นั้น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด เสาต้นนี้ยังคง ตั้งตระหง่าน เด่นสง่า ท้าลมฝนบนความเปลี่ยน แปลงของผืนโลก ราวกับมีชีวิต และจิตวิญญาณ เพราะแท้จริงแล้ว คือ พยานแห่งวัตถุธรรม ที่หลอม รวมคำอธิษฐานจิตอันบริสุทธิ์ของคนหมู่มากเอาไว้ ไม่ว่าใครก็ตาม หากมีโอกาสได้เข้าใกล้ ต่างสัมผัส และรับรู้ได้ถึงกระแสแห่งพลังบางอย่าง ที่ทำให้ ต้องหยุดยืน นิ่งมอง ราวกับถูกมนต์สะกด พิธีตอกเสาเข็มมงคลต้นแรก มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ประดิษฐานบนแผ่นดินดอกบัว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More