ความยากจนในโลกและทางธรรม วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2549 หน้า 49
หน้าที่ 49 / 88

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงทุกข์ของความยากจนในโลกและทางธรรม โดยเสนอมุมมองของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับความไม่สรรเสริญของความยากจนและการร่ำรวย ทั้งทางโลกและทางธรรม พร้อมทั้งแนะนำแนวทางในการรวยทางธรรมโดยการสร้างบุญและกุศลอย่างรอบคอบ โดยมีการชี้แนะแบบแผนการสร้างบุญในชีวิตประจำวันและการมีความเพียรในกุศลกรรมเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในความยากจนทางธรรม และยังมีการระบุถึงบุคคลที่ยากจนทางธรรมประเภทต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นการสร้างสติและการแก้ไขปัญหาแม้ในสภาพแวดล้อมที่ยากจน

หัวข้อประเด็น

- ความยากจนในโลก
- ความยากจนทางธรรม
- แนวทางการร่ำรวยในทางธรรม
- การสร้างบุญและกุศล
- ประเภทของผู้ยากจนทางธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตามทวงเขา แม้การถูกตามทวงหนี้ก็ เป็นทุกข์ในโลก คนจนเข็ญใจยากได้เมื่อถูกเจ้าหนี้ ทวง แล้วยังไม่มีให้ พวกเจ้าหนี้ก็เลย ติดตาม แม้การถูกติดตามก็เป็นทุกข์ใน โลก คนจนเข็ญใจยากไร้ถูกเจ้าหนี้ ติดตามทัน ยังไม่ทันจะให้คืน พวก เจ้าหน้าที่ก็จับเขามาจองจำเสียแล้ว แม้ การถูกจองจำก็เป็นทุกข์ในโลก สรุปว่า พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ ความยากจนอย่างแน่นอน แล้วยังชี้โทษของความ ยากจนอีกด้วย เพราะตราบใดที่ยังครองเรือนอยู่ ความยากจนเป็นทุกข์ในโลกแน่นอน เพราะฉะนั้น เวลาพระภิกษุจะอวยพรให้ญาติโยมร่ำรวย จึง ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเพราะพระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามไม่ให้รวย มีแต่ทรงสอนให้รวยทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่ กันไปตลอดเวลา รวยทางโลกแล้ว ต้องรวยทางธรรม พระพุทธองค์นอกจากไม่ห้ามรวยแล้ว ยัง ทรงสอนให้รวยอย่างถูกหลักวิชชาอีกด้วย คือเมื่อ คิดจะสร้างฐานะให้ร่ำรวยขึ้นมาแล้ว ก็มีเรื่องที่ต้อง มองต่อให้ออกอยู่ ๓ ประเด็น คือ รวยแล้วจะทำ อะไร จะรวยด้วยวิธีการอย่างไร และรวยแล้วจะ ทำอย่างไรต่อไป นั่นเป็นสิ่งที่ต้องคิดให้รอบคอบ และ รัดกุม เพราะต้องไม่ลืมว่า ในยุคที่มนุษยโลกไม่รู้ จักความยากจน ก็ยังเคยสร้างความเดือดร้อนจน เศรษฐกิจพังลงไปมาแล้ว เราพูดว่า ความยากจนในทางโลกเป็นสิ่ง ย่ำแย่ แล้วความยากจนในทางธรรมมีบ้างไหม พระพุทธองค์ก็ตอบไว้ชัดเจนว่า บุคคลผู้ยากจนใน ทางธรรม มี ๕ ประเภท ดังนี้ 6). บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม คือ ผู้ที่ ไม่ศรัทธาเรื่องบุญบาป ไม่ศรัทธาในคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาป ๒. บุคลผู้ไม่มีหิริ คือ ไม่ละอายบาป บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ คือ ไม่เกรงกลัว ๓. ๔. บุคคลผู้ไม่มีวิริยะ คือ ไม่มีความเพียรใน กุศลกรรม ๕. บุคคลผู้ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม คือ พร้อมจะทำความชั่วเมื่อไรก็ได้ คนเหล่านี้ถือว่าเป็นคนยากจนในพระธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้า เพราะฉะนั้นพวกเราที่มา ปฏิบัติธรรมกันก็เป็นเครื่องยืนยันว่า เราเป็นผู้มี ความเพียร เป็นผู้มีปัญญา จึงมานั่งพิจารณา ทบทวนตัวเองว่า จะวางแผนสร้างบุญสร้างกุศลต่อ ไปอย่างไรตลอดวัน ตลอดเดือน ตลอดปี ตลอดชาติ อย่างนี้เป็นความรวยในทางธรรมของเรา ส่วนลูกหลาน สามี หรือภรรยาที่ยังไม่มาวัด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More