เทศกาลเข้าพรรษา

เป็นช่วงเวลา 3 เดือน ที่พระภิกษุสงฆ์จะพักอยู่ประจำ ณ ที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น เรียกว่า "จำพรรษา" ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 https://dmc.tv/a18403

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
[ 15 ก.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18277 ]
เทศกาลเข้าพรรษา
 
แสดงธรรมโดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ
จากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา 12 ก.ค. 2557
 

    เทศกาลเข้าพรรษา เป็นช่วงเวลา 3 เดือน ที่พระภิกษุสงฆ์จะพักอยู่ประจำ ณ ที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น เรียกว่า "จำพรรษา" ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

ทำไมต้องมีวันเข้าพรรษา

     - เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเหยียบย่ำแมลงสัตว์เล็กสัตว์น้อย หรือธัญพืชที่ชาวบ้านปลูกในฤดูฝน

     - เป็นโอกาสในการศึกษาพระธรรมวินัยและการปฏิบัติธรรมเต็มที่ เพราะมีพระภิกษุสงฆ์ที่มีพรรษาสูง ทรงภูมิรู้ ภูมิธรรมอยู่จำพรรษาด้วยกัน สมัยก่อนไม่มีหนังสือ พระใหม่จะต้องมาต่อหนังสือกับพระเถระ โดยพระใหม่จะต้องฟังและต้องทบทวนพระธรรมวินัยจนกระทั่งจำได้

     - เป็นธรรมเนียมชายไทยจะบวชจำพรรษา 3 เดือน ทำให้ผู้เรียนเป็นกลุ่มก้อน บวชพร้อมกัน สอนง่าย
 
       ธรรมเนียมบวชเข้าพรรษา จริงๆ เริ่มจากประเทศไทยแล้วขยายออกไปในต่างประเทศ โดยมีพระมหากษัติรย์ทำเป็นแบบอย่างตั้งแต่สมัยอยุธยา ตอนนี้ในหลายประเทศแม้แต่นิกายมหายานก็ยังเห็นว่าธรรมเนียมบวชเข้าพรรษานี้ดี ทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง จึงเอาธรรมเนียมนี้ไปใช้ ของมหายานนั่นเมื่อบวชทีก็เอาธูปจี้ที่ศรีษะเพื่อแสดงความตั้งใจจริงในการบวช

      - ญาติโยมมาทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน และเข้าวัดถือศีล นั่งสมาธิ ฟังธรรมเป็นพิเศษ เพราะทราบว่ามีพระมาก หลายท่านญาติมาบวชอยู่ เข้าพรรษาจึงเป็นเทศกาลแห่งการทำความดีครั้งใหญ่ทั้งพระและโยม

ประเภทของการเข้าพรรษา

     1. การเข้าพรรษาแรกหรือพรรษาปกติ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

     2. การเข้าพรรษาหลัง กรณีพระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัยจำพรรษาแรกไม่ทันก็เข้าพรรษาหลังแทน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือช้าไป 1 เดือน ได้อานิสงส์พรรษาแต่ไม่ได้อานิสงส์กฐิน

ข้อยกเว้นการจำพรรษา

    ถ้าพระภิกษุมีเหตุจำเป็นเนื่องด้วยงานพระศาสนาส่วนรวม

ตัวอย่างเช่น

     - ไปดูแลการสร้างหรือซ่อมกุฏิวิหาร
     - ไปดูแลพระภิกษุสามเณรที่อาพาธ
     - ไปกิจนิมนต์ให้ญาติโยมได้ให้ทาน รับศีล ฟังธรรม
     - ไปดูแลโยมพ่อ โยมแม่ที่เจ็บป่วย เป็นต้น

     โดยรวม คือ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรืองานพระศาสนา จึงจะ "สัตตาหกรณียะ" ไปค้างแรมนอกสถานที่ได้ไม่เกินครั้งละ 7 ราตรี จะไปตามความพอใจของตน เช่น ไปพักผ่อนไม่ได้

ประเพณีการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลเข้าพรรษา

     ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ด้านที่ 2 ) ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  มีเนื้อหา ดังนี้

     "คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้น ท้งหลายทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทางศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจิ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัติกฐินเถืงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียง กันแต่อญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงดํกลองด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน  เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ มีดั่งจักแตก"

ประเพณีถวายเทียนพรรษา

     เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้ในการศึกษาพระธรรมวินัย ตลอด 3 เดือน ปัจจุบันนิยมถวายอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้แสงสว่างแทน แต่มีการพัฒนาเป็นการ "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดสวยงามมาก
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา

     การที่ชาวไทยเราอยู่ในศีลในธรรมอยู่ในบุญ ทำให้ใจเราละเอียดปราณีต และสิ่งใดที่ทำเพื่อบูชาพระรัตนตรัย ทั้งการแกะสลักเทียน การสร้างโบสถ์วิหาร ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทุกอย่างทำอย่างสุดฝีมือ ตรงนี้ทำให้ชาวไทยเราเองเป็นผู้มีใจปราณีต งดงาม

ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

     ครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล พระศาสดาประทับที่เชตวันมหาวิหาร นางวิสาขาทูลอาราธนา พระศาสดาและหมู่สงฆ์ไปฉันที่บ้านวันรุ่งขึ้น พอดีมีฝนตกใหญ่ 4 ทวีป ซึ่งมีอานุภาพรักษาโรคได้
 
     พระศาสดาให้พระภิกษุสงฆ์สนานกาย พระภิกษุไม่มีผ้าอาบน้ำฝนจึงเปลือยกายสรงน้ำฝน

     นางวิสาขาให้นางทาสีไปนิมนต์พระมาฉัน พอไปถึงวัดเห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน นึกว่าเป็นพวกชีเปลือยจึงกลับไปบอกนางวิสาขา นางวิสาขาเป็นผู้ที่ฉลาดพอฟังก็รู้ว่าคงเป็นพระที่ท่านอาบน้ำฝน
 


นางวิสาขาเป็นผู้ฉลาดรู้เหตุจึงทูลขอพร 8 ประการจากพระพุทธเจ้า และพระศาสดาทรงอนุญาตพร 8 ประการ

     1. ขอถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่พระสงฆ์ เพื่อปกปิดความเปลือยกาย
 
     2. ขอถวายภัตแต่พระอาคันตุกะ เนื่องจากพระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง

     3. ขอถวายคมิกภัตแก่พระผู้เตรียมตัวเดินทาง เพื่อจะได้ไม่พลัดจากหมู่เกรียน คือ ภัตตาหารแก่พระผู้ที่เตรียมตัวจะเดินทาง

     4. ขอถวายคิลานภัตแก่พระอาพาธ เพื่อไม่ให้อาการอาพาธกำเริบ

     5. ขอถวายภัตแก่พระผู้พยาบาลพระอาพาธ เพื่อให้ท่านนำคิลานภัตไปถวายพระอาพาธ ได้ตามเวลาและพระผู้พยาบาลจะได้ไม่อดอาหาร

     6. ขอถวายคิลานเภสัชแก่พระอาพาธ เพื่อให้อาการอาพาธทุเลาลง

     7. ขอถวายยาคูเป็นประจำแก่สงฆ์

     8. ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์ เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยหยัน

ธรรมเนียมชาวพุทธไทยในเทศกาลเข้าพรรษา

     1. เลิกนิสัยไม่ดี 1 อย่าง เช่น งดเหล้าเข้าพรรษา

     2. ทำสิ่งที่ดี 1 อย่าง เช่น

          - ตักบาตรทุกวันตลอดพรรษา
          - นั่งสมาธิทุกวันตลอดพรรษา
          - รักษาศีล 8 ตลอดพรรษา
 
ทำไมต้องมีวันเข้าพรรษาวันเข้าพรรษา เรื่องเล่าเข้าพรรษาวันเข้าพรรษา เรื่องเล่าเข้าพรรษา
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษาเพลงวันเข้าพรรษาการ์ดวันเข้าพรรษา
รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง


http://goo.gl/snGytJ


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันวิสาขบูชา 2566 ประวัติวันวิสาขบูชา
      วันมหาปูชนียาจารย์ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี
      วันออกพรรษา 2566 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันสมาธิโลก 2566 World Meditation Day
      วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
      วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันอัฏฐมีบูชา ประวัติความสำคัญธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา
      วันคุ้มครองโลก EarthDay ประวัติและความเป็นมาของวันคุ้มครองโลก
      วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
      วันมหาปวารณา วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
      ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
      เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
      ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related