การฝึกฝนตนเองเพื่อเข้าถึงธรรมะ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2550 หน้า 47
หน้าที่ 47 / 84

สรุปเนื้อหา

การฝึกฝนตนเองเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าถึงสัจธรรมภายใน โดยต้องปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการละเว้นความชั่ว ทำความดี และฝึกใจให้หยุดนิ่ง ผู้ที่ไม่สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติจะไม่เข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ความสำคัญของการฝึกนิสัยควบคุมกาย วาจา ใจจะทำให้เกิดปัญญาและศีลธรรมที่แข็งแกร่ง เมื่อเราเป็นนักสร้างบารมีแล้ว ควรตั้งเป้าหมายในการเข้าถึงธรรมภายในและดำรงชีวิตไม่ทำกรรมต่อผู้อื่นเพื่อไปสู่สวรรค์ชั้นดุสิตตามความมุ่งหวังของพระโพธิสัตว์.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกฝนตนเอง
-ธรรมะและสัจธรรม
-ศีลธรรมและจริยธรรม
-การสร้างบารมี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๔๕ ทั้งปวง มีไว้ให้พวกเรานำไปทุ่มชีวิตฝึกฝนอบรม ตนเองตามนั้น เมื่อฝึกฝนอบรมตนเองได้ดีแล้ว ย่อมต้องสามารถเข้าถึงสัจธรรมภายในได้อย่าง แน่นอน G ประการที่ ๓ ธรรมะ คือ นิสัยดีๆ ที่เกิดจาก การตั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อย่างจริงจัง ด้วยการ ละเว้นความชั่ว ทำความดี กลั่นใจให้ผ่องใส เพื่อ เข้าถึงธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในตน ทำให้เกิดปัญญา ความบริสุทธิ์ และความกรุณาในสันดานของตน เพิ่มมากขึ้น นักบาลีบางท่าน แม้จะสามารถแปลธรรมะ ในพระไตรปิฎกได้แล้ว แต่เพราะไม่ได้นำสิ่งที่แปล ได้นั้น มาฝึกฝนอบรมตนเองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เขาจึง ได้แต่คำแปล แต่ไม่รู้จักตัวจริงของธรรมะเหมือน อย่างกับที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านรู้ คนที่จะเห็นธรรมะได้นั้น อย่างน้อยที่สุด ต้องฝึกนิสัยควบคุมกาย วาจา ใจให้มีพฤติกรรม ที่ดีๆ จนกระทั่งมีนิสัยใฝ่รู้และใฝ่ดีเกิดขึ้นในตน ผู้ที่ฝึกควบคุม “พฤติกรรม” ตนเองได้แต่ใน ระดับ “กาย” กับ “วาจา” แต่ยังไม่ค่อยเป็นนิสัยฝัง เข้าไปในตัว ก็จะได้เพียงแค่ “จริยธรรมขั้นต้น” ตนเองใหยงๆ ผู้ที่ฝึก “จริยธรรมขั้นต้น” ของตนเอง ขึ้นไปได้ในระดับ “ใจ” จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยฝัง อยู่ข้างในตัว ก็จะได้ “ศีลธรรมประจำใจ” ผู้ที่เคี่ยวเข็ญฝึกฝนอบรม “ศีลธรรมประจำใจ” ของตนเองให้เป็นนิสัยดีงามที่มั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยปริยัติธรรมที่เรียนมารอบแล้วรอบเล่า ในที่สุด “ใจต้องหยุดนิ่ง” ใจหยุดนิ่งได้เมื่อไร “ธรรมกาย” ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนั้น เมื่อพวกเราเป็นนักสร้างบารมีแล้ว ก็ต้อง เคี่ยวเข็ญฝึกฝนอบรมตนเองอย่างเคร่งครัด วาง เป้าหมายชีวิตมุ่งไปที่การฝึกฝนอบรมตนเองให้ เข้าถึงธรรมภายในเป็นสำคัญ เราศึกษาธรรมะมาก เท่าไร ก็ต้องทุ่มเทเคี่ยวเข็ญฝึกฝนอบรมตนเองให้ได้ ตามนั้น ชีวิตนักสร้างบารมีเป็นชีวิตที่ไม่คิดก่อกรรม ทำเวรแก่ใคร ไม่คิดเบียดเบียนใคร แค่ประคอง ตัวเองไปอย่างนี้ แล้วไม่มีความชั่วตลอดชีวิต เมื่อ ถึงคราวละจากโลกนี้ไป ก็ต้องได้ไปเกิดในสวรรค์ ชั้นดุสิต วงบุญพิเศษ เขตพระบรมโพธิสัตว์ ผู้มุ่ง ปราบมารประหารกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ อย่างแน่นอน คนที่จะเห็นธรรมะได้นั้น อย่างน้อยที่สุดต้องฝึกนิสัย ควบคุมกาย วาจา ใจ ให้มีพฤติกรรมที่ดีๆ จนกระทั่งมีนิสัยใฝ่รู้ และใฝ่ดีเกิดขึ้นในตน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More